ยอร์ก (อังกฤษ: York) เป็นนครที่ยังมีกำแพงเมืองโบราณล้อมรอบที่ตั้งอยู่ในนอร์ธยอร์กเชอร์ในภูมิภาคยอร์กเชอร์และแม่น้ำฮ้มเบอร์ของอังกฤษ นครยอร์กตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำอูสและแม่น้ำฟอสส์

ยอร์ก
นครยอร์ก
York
ธงของยอร์ก
ธง
โลโกอย่างเป็นทางการของยอร์ก
โลโกของสภานครยอร์ก
สมญา: 
"นครช็อกโกแลต"[1]
คำขวัญ: 
"Let the Banner of York Fly High"[2]
ที่ตั้งภายในเทศมณฑลนอร์ทยอร์กเชอร์
ที่ตั้งภายในเทศมณฑลนอร์ทยอร์กเชอร์
ยอร์กตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ
ยอร์ก
ยอร์ก
ที่ตั้งภายในประเทศอังกฤษ
พิกัด: 53°57′30″N 1°4′49″W / 53.95833°N 1.08028°W / 53.95833; -1.08028พิกัดภูมิศาสตร์: 53°57′30″N 1°4′49″W / 53.95833°N 1.08028°W / 53.95833; -1.08028
รัฐเอกราชสหราชอาณาจักร
ประเทศอังกฤษ
ภูมิภาคยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์
เทศมณฑลพิธีการนอร์ทยอร์กเชอร์
เทศมณฑลประวัติศาสตร์ยอร์กเชอร์
การปกครอง
 • ประเภทองค์กรปกครองระดับเดียว
 • องค์กรสภานครยอร์ก
พื้นที่
 • ทั้งหมด271.94 ตร.กม. (105.00 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (กลางปี 2019)
 • ทั้งหมด210,618 คน
 • อันดับ(อันดับ87)
 • ความหนาแน่น687 คน/ตร.กม. (1,780 คน/ตร.ไมล์)
 • ชาติพันธุ์
(สำรวจปี ค.ศ. 2011)
คนผิวขาว 94.3%
เดมะนิมYorker • Yorkie[3]
เขตเวลาUTC+0 (เวลามาตรฐานกรีนิช)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (เวลาฤดูร้อนบริติช)
พื้นที่รหัสไปรษณีย์YO
รหัสโทรศัพท์01904
เว็บไซต์york.gov.uk

ยอร์กเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีบทบาทมาเกือบตลอด 2,000 ปีที่ก่อตั้งมา เมืองยอร์กก่อตั้งเป็นเมืองป้อมปราการเอบอราคุม (Eboracum) ในปี ค.ศ. 71 โดยโรมัน และได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของบริทาเนียน้อย (Britannia Inferior)[4] ระหว่างสมัยโรมันบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เช่นจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชมีส่วนเกี่ยวข้องกับเมือง จักรวรรดิโรมันทั้งหมดปกครองจากยอร์กเป็นเวลาสองปีโดยจักรพรรดิเซปตีมิอุส เซเวรุส (Septimius Severus)[5]

หลังจากชาวแองเกิลส์เข้ามาตั้งถิ่นฐานยอร์กก็ได้รับชื่อใหม่เป็น “Eoferwic” ของราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย[6] เมื่อชนไวกิงเข้ายึดเมืองในปี ค.ศ. 866 ก็เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจอร์วิกของราชอาณาจักรจอร์วิก (Jórvík) ที่มีอาณาบริเวณครอบคลุมทางบริเวณตอนเหนือของอังกฤษเกือบทั้งหมด จนกระทั่งราว ค.ศ. 1000 เมืองจึงมารู้จักกันในชื่อ “ยอร์ก”[6]

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 มีพระราชประสงค์ที่จะตั้งยอร์คเป็นเมืองหลวงของอังกฤษแต่ก่อนที่จะสำเร็จพระองค์ก็ทรงถูกถอดจากการเป็นพระมหากษัตริย์เสียก่อน[6] หลังจากสงครามดอกกุหลาบ ยอร์คก็กลายเป็นที่ตั้งของสภาแห่งภาคเหนือ (Council of the North) และมีฐานะที่ยอมรับกันว่าเป็นเมืองหลวงของภาคเหนือ จนกระทั่งหลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์เท่านั้นที่ความสำคัญทางการเมืองของยอร์คเริ่มลดถอยลง[6] ภาคยอร์กเป็นหนึ่งในภาคคริสตจักรในคริสตจักรแห่งอังกฤษเช่นเดียวกับภาคแคนเทอร์เบอรี

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 คำว่า “นครยอร์ก” หมายถึงบริเวณที่รวมทั้งบริเวณรอบนอกออกไปจากเขตตัวเมืองเก่า บริเวณปริมณฑลยอร์กมีประชากรด้วยกันราว 137,505 คน แต่เมื่อรวมทั้งรอบนอกแล้วก็มีด้วยกัน 193,300 คน

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "York - The Chocolate City". York's Chocolate Story. York's Chocolate Story. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-26. สืบค้นเมื่อ 26 July 2019.
  2. "Yorkshire City Facts". The Press. WordPress. สืบค้นเมื่อ 26 July 2019.
  3. "Demonyms of the United Kingdom". Peoplefrom.co.uk. Peoplefrom.co.uk. สืบค้นเมื่อ 26 July 2019.
  4. "Lower (Britannia Inferior) and Upper Britain (Britannia Superior)". Vanderbilt University. สืบค้นเมื่อ 2007-10-24.
  5. "Roman York - a brief introduction to York's Roman History". YorkRomanFestival.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-08. สืบค้นเมื่อ 2007-10-25.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Timeline". VisitYork.org. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-08. สืบค้นเมื่อ 2007-10-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยอร์ก