ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ เป็นแพทย์ชาวไทย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]

ยง ภู่วรวรรณ
ยง ในปี พ.ศ. 2550
เกิด5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 (73 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีชื่อเสียงจากที่ปรึกษาสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย
รางวัลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล–บี. บราวน์ (2546)
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (2540)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาวิทยาตับในกุมารเวชศาสตร์
วิทยาไวรัส
สถาบันที่ทำงานคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เขาได้รับการยอมรับในสาขาวิทยาตับเด็ก, ไวรัสตับอักเสบ และได้รับการเชื่อถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไข้หวัดนก H5N1 ในประเทศไทย[2] ต่อมาเป็นที่ปรึกษาสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ให้กับรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[3] ในระหว่างการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งถูกวิจารณ์อย่างหนักจากบทบาทในการสนับสนุนวัคซีนของซิโนแว็กซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นไปโดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการมารองรับ[4] และยังมีการแจ้งความต่อผู้วิจารณ์

ประวัติ แก้

ยงเกิดวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นแฝดผู้น้องของยืน ภู่วรวรรณ มีบุตรสาวชื่อพญ. ณัฏยาดา ภู่วรวรรณ จบจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจากนั้นได้ย้ายไปอยู่ภูมิลำเนาเดิมของแม่ ที่ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จบการศึกษามัธยมจากพระปฐมวิทยาลัย และ มัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หลังจากนั้น เข้าศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขากุมารเวชศาสตร์ (2518-2521) จากนั้นบรรจุเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และได้ไปฝึกอบรมเป็น research fellow ที่ King’s College Hospital Medical School กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

เขาเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์ โรคระบาดทางเดินอาหาร คลินิกศูนย์กุมารเวชเฉพาะทาง โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล[5] ที่เดียวกับบุตรสาว[6] เขาเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 ในสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก และหัวหน้าโครงการวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทบาททางการแพทย์และสาธารณสุข แก้

เมื่อครั้งที่มีการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย ยงเป็นที่ปรึกษาสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ให้กับรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[3] ใน พ.ศ. 2564 ขณะการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ในประเทศไทย เขาถูกวิจารณ์อย่างหนักจากบทบาททางด้านนโยบาย โดยเฉพาะการสนับสนุนวัคซีนของซิโนแว็กโดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการมารองรับ อาทิ สนับสนุนการตัดสินใจรอการสั่งซื้อวัคซีนไปจนถึงปี 2565 โดยอ้างว่าควรรอให้ตลาดเป็นของผู้ซื้อเพื่อให้ซื้อวัคซีนได้ในราคาถูก[7] ออกมาแสดงความคิดเห็นสนับสนุนวัคซีนซิโนแวกอย่างต่อเนื่อง[8][9] แนะนำให้ฉีดวัคซีนซิโนแวกหรือซิโนฟาร์มสามเข็มเพื่อป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าว่า "จะทำให้ภูมิต้านทานสูงเป็นน้อง ๆ ของไฟเซอร์" "เพียงพอในการป้องกันสายพันธุ์เดลตา"[10][11] แม้จะยังไม่มีผลการวิจัยรองรับในขณะนั้น[12] แต่ต่อมายงได้ออกมาปฏิเสธว่าตนไม่เคยพูดและข้อความดังกล่าวเป็นข่าวปลอม[13] สนับสนุนการขยายเวลาการฉีดวัคซีนของแอสตราเซเนกาเข็มที่สองออกไปเป็น 16 สัปดาห์ขัดกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกซึ่งระบุระยะการฉีดระหว่างโดสแรกและโดสที่สองไว้ที่ 8–12 สัปดาห์[14] หรือเปิดเผยผลงานวิจัยที่มีขนาดตัวอย่างเพียง 2 รายจนเป็นที่ถกเถียงถึงความน่าเชื่อถือของงานวิจัยดังกล่าว[15][16] เป็นผลให้ถูกเสนอให้ถอดถอนชื่อออกจากการเป็นหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก[4]

ความคิดเห็นส่วนตัวของเขาต่อโควิด-19 ตามที่ปรากฏในสื่อ เช่น โควิด-19 คงไม่รุนแรงไปกว่าไข้หวัดใหญ่ปี 2009,[17] วัคซีนแบบเชื้อตายเช่นซิโนแวค มีความปลอดภัยว่าวัคซีนแบบ mRNA[18][19] และอาจป้องกันไวรัสข้ามสายพันธุ์ได้ดีกว่า,[20] วัคซีนซิโนแวคและแอสตราเซเนก้า สามารถป้องกันการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้ 100%,[21][22] ฉีดวัคซีนยี่ห้อไหนก็ไม่ต่างกัน,[23] วัคซีนเชื้อตายเป็นวัคซีนปูพื้นที่ดีกว่าชนิด mRNA[24], หรือการให้วัคซีนเชื้อตายร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นอาจจะดีต่อไวรัสกลายพันธุ์[25]

บทความของเขาบนวิกิพีเดียภาษาไทยถูกก่อกวนเพิ่มข้อมูลอ้างว่าเขาเป็น "เซลล์ขายวัคซีน Sinovac" ซึ่งต่อมาผู้ก่อเหตุถูกตำรวจจับกุมตัวในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา[26] ในเดือนธันวาคม มีข่าวว่าเขาแจ้งความให้ดำเนินคดีต่อผู้วิจารณ์วัคซีนสูตรไขว้บนแอพติ๊กต็อก[27]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต,2558
  2. "ได้รับการยอมรับวิชาแพทย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-22. สืบค้นเมื่อ 2021-07-13.
  3. 3.0 3.1 "ถอดรหัส "ความรื่นรมย์แห่งชีวิต" ของ ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ มือปราบไวรัสเมืองไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-30. สืบค้นเมื่อ 2021-01-09.
  4. 4.0 4.1 "เดือด ผุดแคมเปญล่าชื่อปลด 'หมอยง' ปมหนุนวัคซีน "ซิโนแวค" เกินจริง". คมชัดลึก. 2021-06-19.
  5. "โนโรไวรัส ระบาดหนักในปีนี้". www.bangpakokhospital.com (ภาษาอังกฤษ).
  6. "พญ. ณัฏยา ภู่วรวรรณ". www.bangpakokhospital.com (ภาษาอังกฤษ).
  7. "9 ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดหา/จัดการ วัคซีนโควิด-19 ที่สังคมไทยควรรู้ โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-19.
  8. ""หมอยง" ชี้ วัคซีนโควิด-19 "ไฟเซอร์ อิงค์" เข้าถึงยาก". ThaiQuote. 2020-11-12.
  9. "'หมอยง'เปรียบวัคซีนเป็นอาวุธสำคัญต่อสู้กับโควิดไทยไม่ควรรอทางตะวันตกย่างเดียว". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  10. siree7. "หมอยง ชี้ฉีดซิโนแวค 2 เข็มยังไม่พอสู้สายพันธุ์อินเดีย เข็มที่ 3 ต้องมา!!". thebangkokinsight.com.
  11. “นพ.ยง” เผยซิโนแวค 3 เข็มอาจได้ผลดีเท่าไฟเซอร์ l คุยให้จบข่าว l 22 มิ.ย. 64, สืบค้นเมื่อ 2021-08-16
  12. 57 (2021-06-29). "หมอมานพ ชี้อีกมุม ซิโนแวค เข็ม 3 แรงน้องๆ ไฟเซอร์ ไร้ผลวิจัย-ข้อเท็จจริง รองรับ". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  13. matichon (2021-08-16). "หมอยง เผยไม่เคยพูดเรื่อง ฉีดซิโนแวค 3 เข็ม ป้องกันเดลต้า ชี้เป็นเฟคนิวส์". มติชนออนไลน์.
  14. "คำอธิบายและข้อโต้แย้งเมื่อไทยเว้นระยะฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 16 สัปดาห์". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-07-14.
  15. "หมอไม่ทน ซัดกลับ นพ.ยง หลังบอกฉีด ซิโนแวค 2 เข็ม บวกแอสตราเซเนกา 1 ภูมิเพิ่ม 30 เท่า". ทีนิวส์. 2021-07-10.
  16. "ขนาดตัวอย่างเท่ากับหนึ่งหรือสอง เชื่อไม่ได้หรือ? ข้อกังขาว่าด้วยการกระตุ้นวัคซีนโควิดสลับกันในเข็มที่สาม". mgronline.com. 2021-07-10.
  17. "แพทย์ชี้ 'ไวรัสโคโรน่า 2019' จะระบาดไม่ต่างไข้หวัดใหญ่ 2009". bangkokbiznews.com.
  18. "วัคซีนป้องกัน COVID-19 มีอะไรบ้าง? ชวนเข้าใจความแตกต่างของวัคซีนแต่ละชนิด". The MATTER (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-01-07.
  19. matichon (2021-06-28). "หมอยง เปิดข้อมูล 4 เทคโนโลยีวัคซีน ชี้ 'เชื้อตาย' ภูมิต้านทาน-ผลข้างเคียง น้อยกว่า mRNA". มติชนออนไลน์.
  20. "'หมอยง' ชี้ วัคซีน 'ซิโนแวค' วัคซีนเชื้อตาย ป้องกันได้ดีกว่า โดยเฉพาะการข้ามสายพันธุ์ไวรัส". สยามรัฐ. 2021-03-02.
  21. สำนักสารนิเทศ. "อ.ยง ชี้วัคซีนที่ฉีดในประเทศไทย มีประสิทธิภาพ ป้องกันเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์อังกฤษได้". pr.moph.go.th (ภาษาอังกฤษ).
  22. ""อ.ยง" ชี้วัคซีนที่ฉีดในประเทศไทย มีประสิทธิภาพ ป้องกันเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์อังกฤษได้". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-04-11.
  23. "หมอยง แจงปมสลับวัคซีนซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า ลั่นไวรัสไม่รู้หรอกเป็นยี่ห้อไหน". www.sanook.com/news.
  24. "'หมอยง' ชี้ เริ่มต้นฉีดด้วยวัคซีน mRNA จะกระตุ้นด้วยตัวอื่นยาก". สยามรัฐ. 2021-11-12.
  25. 39 (2021-11-30). "'หมอยง' เผยใช้ วัคซีนลูกผสม อาจสู้ไวรัส 'โควิดกลายพันธุ์ โอไมโครอน' ได้". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  26. "รวบหนุ่มวัย 24 แก้ข้อมูลวิกิพีเดีย 'หมอยง' เป็นเซลล์ขาย ซิโนแวค". ข่าวสด. 13 Jul 2021. สืบค้นเมื่อ 13 Jul 2021.
  27. "'หมอยง' แจ้งหมิ่นประมาทชาวปทุมฯวัย 27 คลิป TIKTOK วิจารณ์วัคซีนสูตรไขว้". มติชนออนไลน์. 16 December 2021. สืบค้นเมื่อ 18 December 2021.
  28. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์เกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  31. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๗, ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๑
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๒๗, ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น แก้