ยงยุทธ วิชัยดิษฐ

อดีตรองนายกรัฐมนตรีไทย

ยงยุทธ วิชัยดิษฐ (เกิด 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2485) เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง ปลัดกระทรวงมหาดไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งเคยเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
ยงยุทธ ในปี พ.ศ. 2554
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุเทพ เทือกสุบรรณ
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ถัดไปสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ถัดไปจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555[1]
รักษาการแทนวิโรจน์ เปาอินทร์
ก่อนหน้าโดยนิตินัย: สุชาติ ธาดาธำรงเวช
โดยพฤตินัย: สมชาย วงศ์สวัสดิ์
(รักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชน)
ถัดไปจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 (81 ปี)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551–2561)

ประวัติ แก้

ยงยุทธ วิชัยดิษฐ เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนที่สองของสำรวม และพิณพาทย์ ในจำนวนพี่น้อง 7 คน ได้แก่[2]

  1. ธวัช วิชัยดิษฐ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ชวน หลีกภัย) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์หลายสมัย (ถึงแก่อนิจกรรมจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก เมื่อปลายปี พ.ศ. 2541)
  2. ยงยุทธ วิชัยดิษฐ
  3. โสภา รัตนางสุ
  4. เกื้อกูล วิชัยดิษฐ (ถึงแก่กรรม)
  5. พูนสุข นวลย่อง
  6. สมพล วิชัยดิษฐ
  7. พันตำรวจโท ไชยันต์ วิชัยดิษฐ (ถึงแก่กรรม)

ในปีพ.ศ. 2566 นายยงยุทธ ได้แจ้งความดำเนินคดี นางสาว ธัญวรินทร์ มาลัย[3]นายจิรวุฒิ (สามีนางสาวธัญวรินทร์) นายพงษ์อนันต์ (บิดานางสาวธัญวรินทร์) และนางธัญวัลย์ (มารดานางสาวธัญวรินทร์) ในข้อหาฉ้อโกงศาลพิจารณาฝังขังนางสาว ธัญวรินทร์ มาลัยในเวลาต่อมา[4]

การศึกษา แก้

ยงยุทธสำเร็จการศึกษา ชั้นอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนมานิตานุเคราะห์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช, มัธยมศึกษาปีที่ 2-6 โรงเรียนอินทรพิสัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี, มัธยมศึกษาปีที่ 7-8 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2507, ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (MPA) (เกียรตินิยม) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2513, ประกาศนียบัตรการปกครองระดับท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครอง ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2517, ประกาศนียบัตรหลักสูตรนักปกครองระดับสูง วิทยาลัยการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2522 และประกาศนียบัตรวางแผนและจัดรูปเมือง สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2528

การทำงาน แก้

รับราชการ แก้

ยงยุทธเริ่มรับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในตำแหน่งปลัดอำเภอชั้นตรี ที่อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาได้โอนไปรับตำแหน่ง ปลัดเทศบาลเมืองภูเก็ต เมื่อปี พ.ศ. 2510 จากนั้นย้ายไปดำรงตำแหน่ง ปลัดเทศบาลในหลายจังหวัด สูงสุดเป็นที่ปลัดเทศบาลชั้นพิเศษ จากนั้นในปี พ.ศ. 2533 ก็ขึ้นเป็นปลัดจังหวัดสงขลาเป็นแห่งแรก หลังจากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 ย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง และรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ต่อจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2535 ก็กลับไปดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าราชการ ที่จังหวัดสงขลาอีกครั้ง และเมื่อปี พ.ศ. 2536 ก็ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการ ที่จังหวัดตรังเป็นแห่งแรก แล้วย้ายไปที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (นักปกครอง ระดับ 10) แล้วเข้าสู่ส่วนกลาง ขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ. 2541 เป็นอธิบดีกรมที่ดิน เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 จากนั้นกลับมาเป็นรองปลัดกระทรวงอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2544 แล้วขึ้นเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2545[5] เป็นเวลา 8 เดือน จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในปีเดียวกัน

งานการเมือง แก้

เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว ยงยุทธเริ่มเข้าสู่งานการเมือง ด้วยการเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำกระทรวงสาธารณสุข (สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2546 และวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2547 จากนั้นเป็นประธานกรรมการ การไฟฟ้านครหลวง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 และประธานกรรมการ กำกับดูแลกิจการไฟฟ้า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2548, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551[6]

ต่อมาในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พรรคเพื่อไทยจัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 4/2551 ลงมติเลือกยงยุทธ ซึ่งขณะนั้นรักษาการในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โดยเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553 เขาประกาศลาออกจากตำแหน่งนี้ โดยให้เหตุผลเพื่อปรับโครงสร้างพรรค ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป[7] แต่ภายหลังสมาชิกพรรคลงคะแนนให้ยงยุทธกลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง

ยงยุทธได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในประเภทบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในเวลาต่อมา[8] ระหว่างดำรงตำแหน่งอยู่นั้น เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเลื่อนยศแก่ยงยุทธจาก "นายกองเอก" ให้เป็นที่ "นายกองใหญ่" ประจำกองอาสารักษาดินแดน[9]

เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555 ยงยุทธประกาศลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เนื่องจาก อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทย ลงมติให้ไล่ออกจากราชการ จึงมีผลกระทบต่อคุณสมบัติทางการเมืองส่วนบุคคลของยงยุทธ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการทำงานของรัฐบาล ทั้งอาจส่งผลทางการเมืองต่อพรรคเพื่อไทย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน[10] ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ยงยุทธได้พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[11]

ภาครัฐวิสาหกิจ แก้

  • ประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
  • ประธานกรรมการบริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • ประธานกรรมการการประปานครหลวง
  • กรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
  • คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
  • กรรมการสภาทหารผ่านศึกแห่งประเทศไทย
  • ประธานกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

ภาคเอกชน แก้

  • อุปนายกสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
  • ประธานวอลเลย์บอลชายหาด

ภาคองค์กรอิสระและสถาบันการศึกษา แก้

  • ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า
  • นายกสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • กรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ประธานกรรมการตรวจสอบภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคใต้ สงขลา
  • นายกสมาคมนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รางวัลและเกียรติยศ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ยงยุทธ วิชัยดิษฐ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
  2. บัญชีแสดงทรัพย์สินของรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
  3. อดีตรองนายกฟ้องฉ้อโกงสาวยกครัว
  4. นางสาว ธ. ถูก "ยงยุทธ" แจ้งจับฉ้อโกง หลอกเอาค่าสินสอด ฝาก
  5. "ทำเนียบปลัดกระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-06-25.
  6. การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๒ ราย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ และนายศุภชัย ใจสมุทร[ลิงก์เสีย]
  7. "ยงยุทธ"แถลงลาออก หน.เพื่อไทย เปิดทางปรับโครงสร้างพรรครับเลือกตั้งสะพัด"บิ๊กโก"เสียบ"อภิวันท์"เชียร์
  8. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 1
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นกรณีพิเศษ, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 128, ตอนที่ 21 ข, 21 พฤศจิกายน 2554, หน้า ๑๒.
  10. ประกาศลาออกแล้วยงยุทธสละรองนายกฯ-มท.1
  11. "ชลน่าน ชี้ปมอดีตรองนายกฯ โยง พท. แค่คาดเดา แจง 'ยงยุทธ' ไม่เป็นสมาชิกพรรค". ข่าวสด. 2023-01-09.
  12. "รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-03. สืบค้นเมื่อ 2018-10-03.
  13. ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2021-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑๓, ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๔, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๓๑, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า ยงยุทธ วิชัยดิษฐ ถัดไป
สุเทพ เทือกสุบรรณ
ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
   
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 60)
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
  สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 60)
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
  จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
(รักษาการหัวหน้าพรรคพลังประชาชน)
สุชาติ ธาดาธำรงเวช
(หัวหน้าพรรคเพื่อไทย)
   
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
  จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ