ม่อนไข่
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Sapotaceae
สกุล: Pouteria
สปีชีส์: P.  campechiana
ชื่อทวินาม
Pouteria campechiana
Baehni
ชื่อพ้อง
Lucuma campechiana
Knuth
ผลม่อนไข่ผ่าครึ่ง
ผลม่อนไข่พร้อมรับประทานในลาว
ผลม่อนไข่อยู่บนต้น

ม่อนไข่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pouteria campechiana) เป็นผลไม้เนื้อสีทอง ภาคเหนือและภาคอีสานเรียกม่อนไข่ ราชบุรีเรียกว่า ลูกท้อพื้นบ้าน ปราจีนบุรีเรียกว่าท้อเขมร เพชรบูรณ์เรียกทิสซา ฟิลิปปินส์ เรียก chesa ศรีลังกาเรียก Laulu Lavulu หรือ Lawalu[1] มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา บราซิล และเอลซัลวาดอร์[2]

ม่อนไข่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบบาง มัน เรียวแหลม ลำต้นมียางสีขาว ก้านอ่อนเป็นสีน้ำตาล ดอกสีครีม มีกลิ่นหอม ผลสุกสีเหลืองอ่อน เปลือกบาง เนื้อผลสีเหลืองสด เหนียวคล้ายแป้งทำขนม ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวาน เนื้อผลนิ่มคล้ายไข่แดง

การใช้ประโยชน์ แก้

ม่อนไข่นอกจากกินเป็นผลไม้สดแล้ว ยังใช้ทำขนม เช่น ทาร์ต คัสตาร์ด แยม เยลลี แพนเค้ก หรืออบให้สุก ชาวฟลอริดานิยมรับประทานกับเกลือ พริกไทย น้ำมะนาวหรือมายองเนส ทางสมุนไพรผลสุกใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เมล็ดใช้รักษาแผลเน่าเปื่อย เปลือกต้นรักษาอาการไข้ ตัวร้อน ผื่นคัน[3]

อ้างอิง แก้

  1. D.K.N.G. Pushpakumara (2007). "Lavulu". Underutilized fruit trees in Sri Lanka (PDF). World Agroforestry Centre, South Asia Office, New Delhi, India.
  2. "Pouteria campechiana". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ 2009-01-29.
  3. นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ม่อนไข่หรือทิสซา ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 125

แหล่งข้อมูลอื่น แก้