มูอัมมาร์ กัดดาฟี

มุอัมมัร อัลก็อษษาฟี (อาหรับ: معمر القذافي audio Muʿammar al-Qaḏḏāfī) หรือ มูอัมมาร์ กัดดาฟี เป็นผู้นำประเทศลิเบียโดยพฤตินัย หลังรัฐประหารในปี พ.ศ. 2512[1] เขาได้รับการขนานนามในเอกสารทางการและสื่อของรัฐว่า "ผู้ชี้นำการมหาปฏิวัติวันที่ 1 กันยายน แห่งมหาสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย" ("Guide of the First of September Great Revolution of the Socialist People's Libyan Arab Jamahiriya") หรือ "ภราดาผู้นำและผู้ชี้ทางแห่งการปฏิวัติ" ("Brotherly Leader and Guide of the Revolution") นับตั้งแต่การลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเองในปี พ.ศ. 2515[2] กัดดาฟีเคยเป็นผู้นำประเทศที่ไม่ใช่กษัตริย์ที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในโลกหลังการเสียชีวิตของโอมาร์ บองโก ประธานาธิบดีแห่งประเทศกาบอง ในปี พ.ศ. 2553 และยังเป็นผู้นำลิเบียที่ครองอำนาจนานที่สุดนับตั้งแต่ลิเบียตกเป็นมณฑลหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อ พ.ศ. 2094[3] กัดดาฟีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 หลังจากถูกประชาชนลิเบียลุกฮือต่อต้านเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มุอัมมัร มุฮัมมัด อะบู มินยัร อัลก็อษษาฟี
معمر محمد أبو منيار القذافي
ผู้นำสูงสุดแห่งลิเบีย
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2512 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554
(42 ปี 49 วัน)
นายกรัฐมนตรีบากห์ดาดี มาห์มู
จาดัลเลาะห์ อัซซุซ แอท-ตัลหิ
มูฮัมหมัด แอซ-ซารัก ราจ๊าบ
จาดัลเลาะห์ อัซซุซ แอท-ตัลหิ
อูมาร์ มุสตาฟา อัล-มุนตาเซอร์
อับดุฃูเซ็ด โอมาร์ ดอร์ด้า
อับดุล มาจิด อัล-ควา'อัด
มูฮัมหมัด อาห์หมัด อัล-แมนกอช
อิมบาเร็ก ชาเม็กห์
ชูกรี กาเน็ม
บากห์ดาดี มาห์มู
ก่อนหน้าพระเจ้าไอดริสที่ 1 แห่งลิเบีย
ถัดไปมุตัสซิม กัดดาฟี
เลขาธิการสภานิติบัญญัติลิเบีย
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม พ.ศ. 2520 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีอับดุล แอติ อัล-โอเบยดี
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปอับดุล แอติ อัล-โอเบยดี
ประธานสภาบัญชาการปฏิวัติ
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2512 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีMahmud Sulayman al-Maghribi
Abdessalam Jalloud
Abdul Ati al-Obeidi
Jadallah Azzuz at-Talhi
ก่อนหน้าพระเจ้าไอดริสที่ 1 แห่งลิเบีย
ถัดไปตำแหน่งถูกยกเลิก
นายกรัฐมนตรีลิเบีย
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม พ.ศ. 2513 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
(2 ปี 181 วัน)
ก่อนหน้ามาห์มุด สุไลมาน อัล-มากิบี
ถัดไปอับเดสซาลาม จาลลูด
ประธานสหภาพแอฟริกา
ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 – 31 มกราคม พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าจากายา กิกเวเต
ถัดไปบินกู วา มูธาริก้า
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2485
เซิร์ท, อิตาเลียนลิเบีย
เสียชีวิต20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 (69 ปี)
เซิร์ท ประเทศลิเบีย
ศาสนาอิสลาม
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์Official website

ประวัติ แก้

สมุดปกเขียว แก้

กัดดาฟี ได้เขียนหนังสือปรัชญาการเมืองเล่มหนึ่ง ชื่อว่า "สมุดปกเขียว" พิมพ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ.1975) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการนำประชาธิปไตยทางตรงมาใช้ และมีการวิพากษ์วิจารณ์ระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ว่าเป็น "ระบบที่พยายามเรียกกันว่าเป็นประชาธิปไตย" และระบอบการปกครองประชาธิปไตยส่วนใหญ่ในโลกนั้น "ถูกแก่งแย่งกันโดย ปัจเจกชน, ชนชั้น, กลุ่มคน, เผ่าต่าง ๆ, สภา หรือ พรรคการเมือง เพื่อเข้ามาปล้นเอาอธิปไตยของมวลชน และผูกขาด อำนาจการเมืองไว้เป็นของพวกเขาเอง"[4] ปัจจุบัน "สมุดปกเขียว" ได้มีการเพยแพร่และสามารถเข้าไปอ่านได้ทั้งเล่มบน เว็บไซต์ของขบวนการ International Green Charter Movement หรือ สำนักข่าวออนไลน์อิสระ MATHABA เก็บถาวร 2011-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แนวคิดการนำประชาธิปไตยทางตรงมาใช้ แก้

ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน

การประชุมชน หรือ ประชาสมาคม เป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้ประชาธิปไตยของปวงชนนั้นสัมฤทธิ์ผล ระบบการปกครองใด ๆ ที่ขัดแย้งกับวิธีการประชุมชนนี้นั้นถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ระบบการปกครองซึ่งมีอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันจะไม่เหลือความเป็นประชาธิปไตยอยู่ นอกเสียจากระบบเหล่านั้นจะรับเอาวิธีการนี้ไปใช้ การประชุมชน หรือ ประชาสมาคมนั้น คือจุดจบของการเดินทางค้นหาประชาธิปไตยของมวลชน

ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน เป็นผลสัมฤทธิ์ของการดิ้นรนเพื่อประชาธิปไตยของคน ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน ไม่ใช่ประดิษฐกรรมแห่งจินตนาการ ; มันคือผลผลิตของความคิดที่ซึมซับการทดลองเพื่อบรรลุถึงประชาธิปไตยของมนุษย์ทั้งหมดไว้

ประชาธิปไตยทางตรงนั้นไม่สามารถโต้แย้งได้เลยว่าเป็นวิธีการปกครองดีที่สุด แต่เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะรวมประชาชน ไม่ว่าจะมีจำนวนน้อยซักเท่าใด ไว้ในสถานที่แห่งหนึ่ง เพื่อที่พวกเขาจะได้ ถกเถียง ชี้แจง และตัดสิน นโยบาย, ฉะนั้นประเทศที่มิได้นำประชาธิปไตยทางตรงมาใช้ จะมองว่ามันเป็นเพียงความคิดเชิงอุดมคติที่ไม่เป็นความจริง มันจึงถูกแทนที่ด้วยทฤษฎีการปกครองอื่นมากมาย เช่น สภาผู้แทน, รัฐบาลผสม หรือ การทำประชามติ เป็นต้น โดยที่กล่าวมานั้น กีดกันและขัดขวางไม่ให้มวลชนได้จัดการกิจการการเมืองทั้งหลายของเขา

เครื่องมือการปกครองเหล่านั้นถูกแก่งแย่งกันโดย ปัจเจกชน, ชนชั้น, กลุ่มคน, เผ่าต่าง ๆ, สภา หรือ พรรคการเมือง เพื่อเข้ามาปล้นเอาอธิปไตยของมวลชน และผูกขาด อำนาจการเมืองไว้เป็นของพวกเขาเอง

สมุดปกเขียวจะนำระบบประชาธิปไตยทางตรงที่ไม่เคยนำมาประยุกต์ใช้ได้มาสู่มวลชน ไม่มีปัญญาชนคนใดที่จะโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ว่าประชาธิปไตยทางตรงนั้นมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง แต่จวบจนปัจจุบันไม่มีการคิดค้นวิธีการนำมันมาใช้ได้เลย กระนั้นทฤษฎีสากลที่สาม (Third Universal Theory) จะทำให้เกิดประชาธิปไตยโดยตรงซึ่งสามารถนำมาใช้การจริงได้ สุดท้ายก็จะทำให้ปัญหาแห่งประชาธิปไตยถูกแก้ไข จะคงเหลือแต่การดิ้นรนในการกำจัดรูปแบบของเผด็จการที่อยู่เหนือกว่ามวลชน โดย สภา, กลุ่มคน, เผ่า, ชนชั้น, ระบบพรรคเดี่ยว, ระบบพรรคคู่ หรือ ระบบหลายพรรค ซึ่งเรียกตัวเองอย่างผิด ๆ ว่า ประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้นมีเพียงวิธีการและทฤษฎีเดียว ความแตกต่างและหลากหลายของระบบที่พยายามเรียกตนว่าประชาธิปไตยนั้นในความจริงจะแสดงให้เห็นถึงหลักฐานว่ามันไม่ใช่ อำนาจของปวงชนจะแสดงออกมาได้เพียงวิธีเดียวคือผ่านทางประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน (Popular Conferences and People’s Committees) รัฐใด ๆ จะไม่สามารถมีประชาธิปไตยได้ หากปราศจากประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน

ประการแรกประชาชนจะถูกแบ่งเป็น ประชาสมาคมย่อย (Basic Popular Conference) แต่ละสมาคมจะเลือก เลขาธิการ (Secretariat) และเลขาธิการของประชาสมาคมย่อยทั้งหมดจะรวมกันเป็น ประชาสมาคมบน (Non-Basic Popular Conferences) ในขณะเดียวกันประชาชนของประชาสมาคมย่อยจะเลือก คณะกรรมการประชาชน (People’s Committees) ขึ้นมาทำหน้าที่แทนรัฐบาลท้องถิ่น สถาบันสาธารณะทุกสถาบันจะดำเนินการโดยคณะกรรมการประชาชนซึ่งจะมีประชาสมาคมย่อยรับผิดชอบการกำหนดนโยบายและกำกับดูแล เมื่อนั้นทั้งการบริหารและการควบคุมดูแลรัฐจะกลายเป็นของประชาชน ซึ่งจะทำให้คำนิยามของประชาธิปไตยที่ว่า ประชาธิปไตยคือการกำกับดูแลของรัฐโดยประชาชน ล้าสมัย และกลายมาเป็นคำนิยามที่แท้จริงว่า ประชาธิปไตยคือการกำกับดูแลของประชาชนโดยประชาชน

ประชาชนทุกคนที่เป็นสมาชิกของแต่ละ ประชาสมาคม อาจจะเป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมตัวกันเป็น สมาคมวิชาชีพ หรือ สมาคมเฉพาะทาง (Professional Popular Conferences) โดยในสภาพความเป็นพลเมืองแล้วนั้นจะสามารถเป็นสมาชิกของทั้ง ประชาสมาคมย่อย และ คณะกรรมการประชาชนได้ด้วย ประเด็นที่พิจารณาโดย ประชาสมาคม และคณะกรรมการประชาชน อาจไปสิ้นสุดลงใน สภาประชาชน (General People’s Congress) ซึ่งจะเป็นการนำเลขาธิการของประชาสมาคมต่าง ๆ และ คณะกรรมการประชาชน ไว้ด้วยกัน มติของสภาประชาชนซึ่งจะมีการพบปะกันในแต่ละวาระ หรือ แต่ละปี จะถูกส่งผ่านไปยัง แต่ละประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน ซึ่งจะบริหารมติเหล่านั้นผ่าน คณะกรรมการผู้รับผิดชอบ (Responsible Committees) ที่เลือกโดยประชาสมาคมย่อยนั้น ๆ

สภาประชาชน จะไม่ใช่เพียงการรวมตัวกันของบุคคล หรือ สมาชิกสภา เช่นเดียวกับรัฐสภาทั่วไป แต่จะเป็นการรวมตัวกันของ ประชาสมาคม และ คณะกรรมการประชาชน

ดังนั้นปัญหาของเครื่องมือการปกครองจะถูกแก้ไขไปโดยปริยาย และ เครื่องของเผด็จการทุกรูปแบบจะหมดไป ผู้คนจะเป็นเครื่องมือในการปกครอง และสภาพป่วยการของประชาธิปไตยจะได้รับการแก้ไขในที่สุด

— สมุดปกเขียว - ภาค 1 ; วิธีการแก้ไขปัญหาแห่งประชาธิปไตย - “อำนาจอันชอบธรรมของประชาชน”

[5]

เครื่องอิสริยาภรณ์ แก้

อิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Salak, Kira. "National Geographic article about Libya". National Geographic Adventure.
  2. US Department of State's Background Notes, (November 2005) "Libya – History", United States Department of State. Retrieved on 14 July 2006.
  3. Charles Féraud, “Annales Tripolitaines”, the Arabic version named “Al Hawliyat Al Libiya”,translated to Arabic by Mohammed Abdel Karim El Wafi, Dar el Ferjani, Tripoli, Libya, vol. 3, p.797.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2015-08-06.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2015-08-06.
  6. У К А З ПРЕЗИДЕНТА УКРАЇНИ Про нагородження орденом князя Ярослава Мудрого http://zakon2.rada.gov.ua (ในภาษายูเครน)
  7. Последний герой джамахирии. Кучма наградил Каддафи орденом Ярослава Мудрого CentrAsia (Ria Novosti) (ในภาษารัสเซีย)
  8. "From Libya, with love. Gaddafi's camels in Eastern Bloc". Expats.cz. 1 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-09. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.
  9. "Kaczyński odznaczył Mubaraka" (ภาษาโปแลนด์). Newsweek. 10 April 2011. สืบค้นเมื่อ 19 June 2013.
  10. 1997 National Orders awards เก็บถาวร 2012-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน South African government information
  11. "Gaddafi defiant over Lockerbie bomb trial". BBC. 29 October 1997. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า มูอัมมาร์ กัดดาฟี ถัดไป
ตั้งตำแหน่ง   ภราดาผู้นำและผู้ชี้ทางแห่งการปฏิวัติ
(1 กันยายน พ.ศ. 2512 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554)


ไม่มี   เลขาธิการสภาประชาชนลิเบีย
(2 มีนาคม พ.ศ. 2520 - 2 มีนาคม พ.ศ. 2522)
  อับดุล แอติ อัล-โอเบยดี
พระเจ้าไอดริสที่ 1 แห่งลิเบีย   ประธานสภาบัญชาการปฏิวัติ
(8 กันยายน พ.ศ. 2512 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2522)
  ตำแหน่งถูกยกเลิก
มาห์มุด สุไลมาน อัล-มากิบี   นายกรัฐมนตรีลิเบีย
(16 มกราคม พ.ศ. 2513 - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2515)
  อับเดสซาลาม จาลลูด
จากายา กิกเวเต   ประธานสหภาพแอฟริกา
(2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 - 31 มกราคม พ.ศ. 2553)
  บินกู วา มูธาริก้า