มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลเคาะวาริซมี

นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักภูมิศาสตร์ชาวเปอร์เซียในคริสต์ศตวรรษที่ 9

มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลเคาะวาริซมี (อาหรับ: محمد بن موسى الخوارزمي) หรือ โมแฮมแมด เบน มูซอ ฆวอแรซมี (เปอร์เซีย: محمد بن موسی خوارزمی; ประมาณ ค.ศ. 780–850)[3][4][5] เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นนักเขียนและนักแปล

มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลเคาะวาริซมี
เกิดค.ศ.780
ควาเรซม์[1]
เสียชีวิตค.ศ.850
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
มีอิทธิพลต่ออบูกามิล[2]

ประวัติ แก้

 
อัลเคาะวาริซมี บนแสตมป์ของสหภาพโซเวียต ในโอกาสระลึกถึงชาตกาลครบรอบ 1,200 ปี

อัลเคาะวาริซมี เกิดในคอวาริซมฺ เขตการปกครองคุรอซาน ในเปอร์เซีย (ปัจจุบันมีชื่อว่าคีวา อยู่ในอุซเบกิสถาน) มีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องช่วงชีวิตของเขา บ้างก็ว่า เกิด ค.ศ. 780 และตาย ค.ศ. 840 ภาษาดั้งเดิมของเขาน่าจะเป็นภาษาเปอร์เซีย แต่งานเขียนของเขา เท่าที่ทราบ เขียนในภาษาอาหรับเท่านั้น หนังสือที่เขียนส่วนใหญ่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์และแผนที่ ดาราศาสตร์ ปฏิทินและเวลา นาฬิกาและแอสโตรแลบ

ชีวิตในวัยเยาว์ไม่เป็นที่ทราบกันมากนัก ทราบว่ามีชื่อเสียงอยู่ในสมัยอัลมะอ์มูน แห่งราชวงศ์อับบาซียะห์ ซึ่งได้สนับสนุนงานวิชาการเป็นอย่างสูงได้ตั้งสถาบันการเรียนรู้และห้องสมุดมีชื่อว่า ดาร อัลฮิกมะหฺ (ทำเนียบแห่งปัญญา) มีนักปรัญาและนักวิทยาศาสตร์ทำงานค้นคว้าและแปลตำราจากภาษากรีก ภาษาละติน และภาษาฮินดี ซึ่งนับเป็นห้องสมุดแห่งแรกของโลก หลังจากห้องสมุดในอเล็กซานเดรีย มีการสะสมงานที่สำคัญๆ ของโรมันมากมาย และได้มีการสร้างหอดูดาวขึ้นมา

อัลเคาะวาริซมีและคณะเช่น ผู้คนในตระกูลมูซา เป็นนักวิชาการของสถาบันการเรียนรู้แห่งแบกเดด งานส่วนหนึ่งคืองานแปลและศึกษาต้นฉบับงานทางวิทยาศาสตร์ของกรีก อัลเคาะวาริซมีได้เขียนตำราเสนอแก่ คอลีฟะหฺอัลมะอ์มูนหลายฉบับ เช่น ตำราทางคณิตศาสตร์ชื่อ "ฮิซาบ อัลญับริ วะ อัลมุกอบะละหฺ" ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากของอัลเคาะวาริซมี ชื่อของตำรานี้เป็นที่มาของคำว่า "Algebra" หรือ พีชคณิต คำว่า อัลญับรฺ หมายถึง การกลับคืนค่า (Restoring) เป็นกระบวนการทำให้ค่าทั้งสองข้างของสมการ มีค่าเท่ากัน และคำว่า อัลมุกอบะละหฺ หมายถึง การเปรียบเทียบ ทั้งสองข้างของสมการซึ่งมีค่าเท่ากัน

สิ่งสืบเนื่อง แก้

ศัพท์ Algebra (พีชคณิต) นั้นมีรากศัพท์มาจากชื่อหนังสือ Al-Jabr wa-al-Muqabilah ของเขา ซึ่งอัลเคาะวาริซมีได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของพีชคณิตอีกด้วย นอกจากนั้นหนังสือ Liber Algoritmi de numero Indorum ทำให้เกิดศัพท์ algorithm (อัลกอริทึม) ขึ้นในคณิตศาสตร์

นอกจากนี้แล้ว อัล คอวาริศมียังได้สร้างตารางค่า sine,เริ่มใช้ ระบบเลขฐานสิบ, ศึกษาระบบรูปทรงภาคตัดกรวย (conic section), calculus of 2 error, ใช้เลข 0 เป็นทศนิยม เป็นต้น ตำราของท่านใช้ในสถาบันต่าง ๆ ถึงปี 1600

ผลงาน แก้

  1. ฮิซาบ อัลญับริ วะ อัลมุกอบะละหฺ (การคำนวณโดยหักออกและบวกเข้ามาใหม่) มีชื่อในภาษาละตินว่า Liber algebrae et almucabala
  2. กิตาบ อัลญัมอิ วะ อัตตัฟรีก บิ อัลฮีซาบ อัลฮินดีย์ (หนังสือของอัลกอริตมีว่าด้วยเรื่องคณิตศาสตร์อินเดีย) ซึ่งต้นฉบับภาษาอาหรับหายไป มีฉบับแปล มีชื่อในภาษาละตินว่า Liber Algoritmi de numero Indorum ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า อัลกอริทึม (Algorithm) ที่หมายถึงขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ในตำราเล่มนี้ได้พูดถึง ระบบตัวเลข 1 ถึง 10 การใช้ทศนิยมและการใช้เลขศูนย์
  3. กิตาบ สูเราะหฺ อัลอัรฎิ (หนังสือรูปร่างธรณี) เป็นตำราทางภูมิศาสตร์ มีตาราง และแผนที่
  4. อิสติครอจญ์ ตารีค อัลยะฮูด (เกี่ยวกับปฏิทินยิว)
  5. กิตาบ อัตตารีค (หนังสือประวัติศาสตร์)
  6. กิตาบ อัรรุคมาต (หนังสือนาฬิกาอาทิตย์)
  7. อัลญัลรุ้ วัลมุกอบละฮุ (หนังสือ การแก้สมการกำลังสอง)

อ้างอิง แก้

  1. Berggren 1986; Struik 1987, p. 93
  2. O'Connor, John J.; Robertson, Edmund F., "Abū Kāmil Shujā‘ ibn Aslam", MacTutor History of Mathematics archive, University of St Andrews.
  3. Hogendijk, Jan P. (1998). "al-Khwarzimi". Pythagoras. 38 (2): 4–5. ISSN 0033–4766. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-19. สืบค้นเมื่อ 2010-01-06.
  4. Berggren 1986
  5. Struik 1987, p. 93