มิว (ญี่ปุ่น: Mewโรมาจิミュウทับศัพท์: Myū) เป็นสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตสมมุติสายพันธุ์หนึ่งจากแฟรนไชส์สื่อโปเกมอนของนินเท็นโด และเกมฟรีก สร้างโดยซะโตะชิ ทะจิริ มิวเป็นโปเกมอนในตำนาน รูปแบบพลังจิต สีชมพู ตัวเล็ก ร่างคล้ายแมว ชิเงะกิ โมะริโมะโตะ โปรแกรมเมอร์ของเกมฟรีกและเป็นผู้สร้างได้ใส่มิวไว้ในเกมโปเกมอนภาคเรดและกรีน ให้เป็นตัวละครลับ ด้วยเหตุนี้ การปรากฏตัวของมิวจึงกลายเป็นทั้งข่าวลือและตำนาน ส่งผลให้แฟรนไชส์โปเกมอนประสบความสำเร็จ มิวเป็นโปเกมอนที่ผู้เล่นไม่สามารถครอบครองได้ด้วยวิธีปกติทั่วไป นอกจากได้รับจากการแจกจำหน่ายในเหตุการณ์พิเศษต่าง ๆ

มิว
ตัวละครใน เกมชุด โปเกมอน
ปรากฏครั้งแรกโปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู
สร้างโดยชิเงะกิ โมะริโมะโตะ
ออกแบบโดยเค็ง ซูงิโมริ
เสียงญี่ปุ่นโคอิชิ ยะมะเดะระ (โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู)
ซาโทะมิ โคโระงิ (โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน มิวและอัศวินคลื่นพลัง)

มิวปรากฏในภาพยนตร์เรื่องแรกคือ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู เป็นตัวละครหลักร่วมกับมิวทู ภาพยนตร์เปิดเผยว่าฟอสซิลเส้นขนของมิวปรากฏในป่าแห่งหนึ่งในประเทศกายอานา ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชุดหนึ่งถูกนำไปสร้างมิวทู โคลนของมิวที่ถูกปรับแต่งทางพันธุกรรม ต่อมามิวปรากฏในภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน มิวและอัศวินคลื่นพลัง เป็นตัวละครหลักร่วมกับลูคาริโอ เนื้อเรื่องภูมิหลังเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ลึกลับของมิวและต้นเหตุของความทรงพลัง ภาพยนตร์ โปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน สุดยอดโปเกมอนโคลนนิง ปรากฏมิวเป็นสิ่งลวงตาเป็นตัวละครหลักที่คอยช่วยเหลือซาโตชิและเพื่อน ๆ ต่อสู้กับมิราจมาสเตอร์ (Mirage Master)

ในวิดีโอเกมโปเกมอนภาคต่างๆ "มิว" เป็นโปเกมอนเพียงตัวเดียว ที่สามารถเรียนรู้ท่า (move) จาก TM,HM,Move Tutor ได้ทุกท่า

แนวคิดและการสร้าง แก้

มิว ไม่เหมือนกับตัวละครอื่น ๆ ในแฟรนไชส์โปเกมอน การพัฒนาของตัวมิวไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากเคน ซุงิโมะริ แต่ผ่านตรวจสอบโดยโปรแกรมเมอร์ของเกมฟรีก ชิเงะกิ โมะริโมะโตะ โมะริโมะโตะนำมิวใส่ในเกมอย่างลับ ๆ เป็นเรื่องล้อเล่นในหมู่พนักงานก่อนเกมจำหน่ายในญี่ปุ่น โดยตั้งใจจะให้เป็นโปเกมอนตัวเดียวที่พนักงานบริษัทเกมฟรีกรู้จักและได้ครอบครอง[1] มิวถูกใส่ในตอนท้ายของการพัฒนาเกมโปเกมอนภาคเรดและบลูหลังจากการลบส่วนดีบักของเกม โดยเตรียมพื้นที่ให้เพียงพอที่จะเพิ่มตัวละครดังกล่าวเข้าไป ทั้ง ๆ ที่ตกลงกันไว้ว่าไม่ให้เปลี่ยนแปลงใด ๆ ในเกมมากไปกว่านั้น แม้ว่านักพัฒนาไม่ได้ตั้งใจจะให้ใครครอบครอง แต่เนื่องจากความผิดพลาดของเกม ผู้เล่นยังสามารถเผชิญหน้ากับมันได้[2]

ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1996 ประธานบริษัทเกมฟรีก ซะโตะชิ ทะจิริ ใช้วารสารมังงะญี่ปุ่น โคโระโคโระคอมมิก ทดลองแสดงภาพมิวและแจกจ่ายการ์ดมิวชุดแรกในรูปการ์ดเกมให้เป็นสินค้าของแถม[3] ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้คนมากมายที่บริษัทเกมฟรีก รวมถึงโมะริโมะโตะด้วย[1] เนื่องจากการทดลองประสบความสำเร็จในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1996 เกมฟรีกประกาศการประกวดครั้งหนึ่งเพื่อมอบมิวให้กับผู้ชนะ 151 คน[4] ทะจิริใช้มิวอุปโลกน์ "ตัวละครล่องหน" ในเกมและพยายามสร้างความสนใจให้ชื่อเกม และสร้างข่าวลือและตำนานของเกมผ่านการบอกเล่าด้วยปากต่อปาก[5] ซึ่งเป็นผลให้ยอดขายเกมเพิ่มขึ้น[6]

การออกแบบและลักษณะพิเศษ แก้

มิวเป็นโปเกมอนรูปแบบพลังจิต มีค่าพลัง (stats) สูงเช่นเดียวกับมิวทู[7] โมะริโมะโตะออกแบบมิวให้มีตัวสีชมพู ร่างคล้ายแมว มีตาขนาดใหญ่และยาว หางเรียวแต่ปลายหางขยายกว้าง[8] แต่สามารถพบตัวอย่างมิวสีฟ้าได้ในเกม ผิวหนังของมิวปกคลุมด้วยชั้นขนสั้น ๆ และบางจนมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น[9] ดีเอ็นเอรวมสารพันธุกรรมของโปเกมอนทุกสายพันธุ์[10] ในเกมมีกล่าวว่านักวิทยาศาสตร์ในเกมมองมิวเป็นบรรพบุรุษหนึ่งเดียวของโปเกมอนตัวอื่น ๆ[11] มิวมีนิสัยขี้อายและมนุษย์หาตัวได้ยาก[8][10] มิวเป็นโปเกมอนในตำนาน[12][13] จากเจนเนอเรชันที่ 1 ร่วมกับฟรีเซอร์[14] ธันเดอร์[15] ไฟร์[16] และมิวทู[17] หมายเลขของมิวในเนชันแนลโปเกเดกซ์คือ 151 โปเกมอนตัวสุดท้ายของเจนเนอเรชันที่ 1[7] โดยตัวที่ 150 คือมิวทู[18] และตัวที่ 152 คือชิโกริตา ในเกมโปเกมอนเจนเนอเรชันแรกและภาคทำใหม่ ผู้เล่นสามารถพบบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ในคฤหาสน์โปเกมอนบนเกาะซินนาบาร์ที่กล่าวว่า มิวถูกพบครั้งแรกในป่าลึกในประเทศกายอานา ทวีปอเมริกาใต้ ในวันที่ 5 กรกฎาคม (ไม่ระบุปี)[19] และถูกตั้งชื่อในวันที่ 10 กรกฎาคม[20] และกล่าวว่ามิว "ให้กำเนิด" มิวทูในวันที่ 6 กุมภาพันธ์[21] ชื่อมิว (Mew) ตั้งจากสัทพจน์ของเสียงร้องของแมว เมียว[7]

ในวิดีโอเกม มิวสามารถเรียนรู้ท่าต่อสู้ทั้งหมดที่สอนได้[22] มิวเป็นโปเกมอนตัวเดียวที่สามารถเปลี่ยนร่างเป็นโปเกมอนตัวอื่นด้วยท่า "Transform" หากไม่นับเมตามอนและโดเบิล (ซึ่งเรียนรู้ด้วยท่า Sketch)[7][8] ในอนิเมะ มิวสามารถบิน หายตัว เปลี่ยนรูปร่าง เรียกฟองพลังจิตสีชมพูขนาดใหญ่ได้ (ทำด้วยจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น ป้องกันตนเอง กระทำเสมือนเบาะรองกระแทก หรือใช้กระเด้งให้ตนเองเกิดอารมณ์ขัน)[23] และล่องหน[10]

การปรากฏตัว แก้

ในวิดีโอเกม แก้

ในช่วงเวลาหนึ่ง ผู้เล่นสามารถครอบครองมิวในวิดีโอเกมโปเกมอนได้อย่างถูกวิธีผ่านกิจกรรมส่งเสริมแจกโปเกมอนที่จัดโดยนินเท็นโด[7] มีการเปิดเผยมิวสู่สาธารณชนครั้งแรกในนิตยสารโคโระโคโระคอมมิก ฉบับประจำเดือนเมษายน ค.ศ. 1996 นิตยสารฉบับนี้เสนอการส่งเสริมเรียกว่า "ข้อเสนอโปเกมอนในตำนาน" ซึ่งผู้เข้าร่วมแบบสุ่ม 20 คนจะสามารถส่งตลับเกมของพวกเขามาที่นินเท็นโดเพื่อรับมิวเข้าไปในเกม ในกิจกรรมของนินเท็นโดไม่นานหลังจากออกจำหน่ายเกมโปเกมอนภาคเรดและบลู ผู้เล่นสามารถดาวน์โหลดมิวใส่ในเกมได้[24] กิจกรรมนี้จบลงเมื่อเกม มายโปเกมอนแรนช์ ออกจำหน่าย ซึ่งสามารถครอบครองมิวได้อย่างถูกวิธีโดยไม่ต้องมีกิจกรรมแจกโปเกมอน[7] มิวยังเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่สามารถออกจากมอนสเตอร์บอลในเกมชุดซูเปอร์สแมชบราเธอส์ด้วย เมื่อมิวออกมา มันจะบินหนีไปจากสนาม และมักจะทิ้งไอเทมหายากไว้

มิวยังสามารถเข้าถึงได้โดยใช้กลิตช์ (ความบกพร่องของเกม) หรืออุปกรณ์ช่วยโกง[2] หนึ่งในความบกพร่องพบในโปเกมอนภาคเรด บลู และเยลโลว์ จะใช้ประโยชน์จากกิจกรรมที่ถูกโปรแกรมไว้ วิธีการคือ เดินไปที่โปเกมอนเทรนเนอร์คนหนึ่ง จากนั้นใช้ท่า "บิน" (Fly) หรือ "หายตัว" (Teleport) (หรือท่า "ขุดดิน" (Dig) หรือไอเทม "เชือกหลบหนี" (Escape Rope) ในถ้ำ) เพื่อหนีออกจากบริเวณนั้นก่อนที่โปเกมอนเทรนเนอร์จะมองเห็นผู้เล่น จากนั้นต่อสู้กับโปเกมอนตัวหนึ่งที่มีค่าพลังพิเศษ (Special) ถูกต้องอีกบริเวณหนึ่ง จากนั้นให้กลับมาที่บริเวณเดิมทันทีเพื่อเริ่มต่อสู้กับมิวป่า[25]

ในอนิเมะ แก้

การปรากฏตัวหลัก ๆ ของมิวในอนิเมะโปเกมอนคือในภาพยนตร์เรื่องโปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน ความแค้นของมิวทู ซึ่งมิวรับบทเป็นหนึ่งในตัวละครหลัก เชื่อกันว่ามิวเป็นโปเกมอนในตำนานที่หายสาบสูญไปนาน และเป็นโปเกมอนหายากที่แข็งแกร่งที่สุด[12] หลังจากการวิจัยหลายปี นักวิทยาศาสตร์ใช้ดีเอ็นเอของมิวมาผสมกันเพื่อสร้างมิวทู[17] ซึ่งเป็นมิวในร่างโคลนที่ถูกปรับแต่งทางพันธุกรรมและกลายเป็นตัวเอกของภาพยนตร์[12] ภูมิหลังของภาพยนตร์เรื่องโปเกมอน เดอะมูฟวี่ ตอน มิวและอัศวินคลื่นพลัง เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ลึกลับและที่มาของความแข็งแกร่งของมิว[26] ในภาพยนตร์ แสดง "แผนภูมิลำดับเครือญาติ" ของโปเกมอน[27] โดยโปเกมอนตัวแรกในแผนภูมิคือมิว และตัวสุดท้ายคือโฮโอ[26]

ในมังงะ แก้

มิวปรากฏในมังงะโปเกมอนชุดโปเกมอนสเปเชียล มิวมีชื่อว่าเป็น "โปเกมอนลวงตา" (Phantom Pokémon) ในมังงะ ปรากฏในบทแรกเมื่อแก๊งร็อกเก็ต องค์กรอาชญากรรม พยายามจับมิว โปเกมอนเทรนเนอร์ชื่อเรดก็พยายามจับมิว แต่ถูกมิวเอาชนะอย่างง่ายดาย[28] ในบทต่อมา มีการเปิดเผยว่าแก๊งร็อกเก็ตต้องการดีเอ็นเอของมิวเพื่อสร้างมิวทูให้สำเร็จ ส่วนเรดและโปเกมอนเทรนเนอร์ชื่อกรีน ร่วมมือกันปกป้องไม่ให้มิวถูกจับตัว[29][30]

ผลกระทบทางวัฒนธรรม แก้

การส่งเสริมและสินค้า แก้

 
ผู้เล่นที่ได้รับมิวจากเหตุการณ์และการประกวดของนินเท็นโด ได้รับประกาศนียบัตรที่มีหมายเลขระบุตัวตนในเกม

การส่งเสริมครั้งหนึ่ง นิตยสารโคโระโคโระคอมมิกฉบับเดือนเมษายน ค.ศ. 1996 เรียกว่า "ข้อเสนอโปเกมอนในตำนาน" เสนอให้ผู้ชนะในกิจกรรมดังกล่าว 20 คนส่งตลับเกมของพวกเขามาให้นินเท็นโดเพื่อเพิ่มมิวเข้าไปในเกม และเพื่อส่งเสริมแฟรนไชส์โปเกมอน สายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์วาดภาพตัวละครมิวบนเครื่องบินโบอิง 747-400เมื่อ ค.ศ. 1998[31]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 ในการฉลองการออกฉายภาพยนตร์ตอน มิวและอัศวินคลื่นพลัง และออกจำหน่ายเกมโปเกมอนมิสเตอรีดันเจียน: บลูเรสคิวทีม และ เรดเรสคิวทีม ผู้เล่นที่มีเกมภาครูบี แซฟไฟร์ เอเมอรัลด์ ไฟร์เรด และลีฟกรีน สามารถไปที่ร้านทอย "อาร์" อัส เพื่อดาวน์โหลดมิวมาเล่นได้ฟรี[32] ในดีวีดีภาพยนตร์ตอน มิวและอัศวินคลื่นพลัง มีการ์ดเกมรูปมิวแถมให้ด้วย[27]

การตอบรับ แก้

การเปิดเผยและแจกจ่ายมิวผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นกลายเป็นสาเหตุสำคัญของความสำเร็จในญี่ปุ่น[3][6] โดย "ข้อเสนอโปเกมอนในตำนาน" ในญี่ปุ่นมีผู้เข้างาน 78,000 คน เกินความคาดหมายที่ตั้งไว้ที่ 3000 คน[4][33] ซะโตะรุ อิวะตะ กรรมการบริษัทนินเท็นโดแจงว่าความสำเร็จของเกมอยู่ที่ "ข้อเสนอโปเกมอนในตำนาน" ดังกล่าว จากนั้นมา ยอดขายรายสัปดาห์ของเกมภาคเรด และกรีนเริ่มเท่ากับยอดขายในเดือนก่อนหน้า และจากนั้นทำยอดขายได้มากกว่าเดิม 3-4 เท่า[2] อย่างไรก็ตาม นิตยสารคอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกมส์วิจารณ์การจำกัดการเข้าถึงมิวผ่านกิจกรรมของนินเท็นโดว่าเป็นหนึ่งในมุมมองที่แย่ที่สุดของโปเกมอน กล่าวว่าวิธีการดังกล่าวถือเป็นวิธีการที่โบราณ[34] เนื่องจากมีการใช้อุปกรณ์โกงเช่น โปรแอ็กชันรีเพลย์ เพื่อให้ได้มิวมา ผู้เล่นเกมซื้ออุปกรณ์โกงเกมเพียงเพื่อให้ได้มิวมา[8] เว็บไซต์ยูจีโอดอตคอมจัดให้มิวอยู่อันดับที่หกในรายชื่อ "ตัวละครลับที่ยอดเยี่ยมที่สุด 25 ตัว"[35] นักเขียนชื่อเทรซีย์ เวสต์ และแคเทอรีน โนลล์ เรียกมิวว่าเป็นโปเกมอนในตำนานที่ดีที่สุด และเป็นโปเกมอนที่ดีที่สุดอันดับที่ห้า[36]

เนื่องจากค่าสถิติและความสามารถในการเรียนรู้ทุกท่าโจมตีที่มาจากไอเทมสอนท่าเทคนิค (TM) หรือท่าลับ (HM) มิวถือเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่ดีที่สุดในภาคเรด บลู และเยลโลว์[37] การศึกษาผลกระทบจากตัวละครในบันเทิงคดีในเด็ก เช่นในหัวข้อ Pikachu's Global Adventure: The Rise and Fall of Pokémon พบว่ามิวเป็นที่นิยมในเด็กเล็กเพศหญิงที่มักหลงใหลในตัวละครที่ "น่ารัก" ในเชิงเปรียบเทียบ มิวทูถือว่าตรงกันข้ามอย่างสุดขั้ว โดยเป็นที่นิยมในเด็กโตเพศชายที่หลงใหลในตัวละครที่ "แข็งแกร่งหรือน่ากลัว"[38] หนังสือเรื่อง Media and the Make-believe Worlds of Children ชี้แจงข้อเปรียบเทียบที่คล้ายกัน โดยบรรยายถึงมิวว่ามี "ลักษณะพิเศษของอำนาจและความน่ารักคล้ายเด็กและใจเย็น" และเน้นความสำคัญในเรื่องข้อแตกต่างในเด็กเกี่ยวกับมิวและมิวทู และชี้แจงถึงบทบาทเกี่ยวกับความน่าสนใจที่มาจากตัวละคร[39] ไอจีเอ็นจัดอันดับมิวให้เป็นหนึ่งในโปเกมอนรูปแบบพลังจิตที่ดีที่สุด ร่วมกับมิวทู ฟูดีน และสตาร์มี พวกเขามองว่ามิวเป็นคู่แข่งที่ดีของมิวทู และเป็นโปเกมอนที่คาดเดาไม่ได้เนื่องจากมันสามารถใช้ TM หรือ HM (ไอเทมที่ใช้สอนท่าโจมตีให้โปเกมอน) ได้ทั้งหมด[40]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 『ポケットモンスター』スタッフインタビュー (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ June 6, 2009.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Iwata Asks - Pokémon HeartGold Version & Pokémon SoulSilver Version". Nintendo. สืบค้นเมื่อ March 12, 2010.
  3. 3.0 3.1 "Pokémania: Secrets Behind the International Phenomenon" (PDF). Columbia Business School. February 7, 2000. สืบค้นเมื่อ May 21, 2009.[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 ポケモン年 (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ June 6, 2009.
  5. "The Ultimate Game Freak". Time Asia. November 22, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-14. สืบค้นเมื่อ June 7, 2009.
  6. 6.0 6.1 Chua-Eoan, Howard; Larimer, Tim (November 22, 1999). "TIMEasia.com - Cover: Digi Mania - Page 2 - 11/22/99". Time Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-19. สืบค้นเมื่อ May 21, 2009.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 "#151 Mew". IGN. สืบค้นเมื่อ June 16, 2009.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "Mew Biography". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ June 29, 2009.
  9. Game Freak. Pokémon Yellow. Pokédex: When viewed through a microscope, this POKéMON's short, fine, delicate hair can be seen.
  10. 10.0 10.1 10.2 Game Freak. Pokémon Emerald. Pokédex: A MEW is said to possess the genes of all POKéMON, and that said, it is a jack-of-all-trades if sorts, since it is the only Pokémon that can learn all moves that can be taught by the player, except for those exclusive to particular Pokémon. It is capable of making itself invisible at will, so it entirely avoids notice even if it approaches people.
  11. Game Freak. Pokémon Pearl. Pokédex: Because it can use all kinds of moves, many scientists believe MEW to be the ancestor of Pokémon.
  12. 12.0 12.1 12.2 Klein, Andy (December 2, 1999). "Hokeymon". Phoenix New Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ June 8, 2009.
  13. HAL Laboratory. Super Smash Bros. Melee. Mewtwo trophy: Although Mewtwo was bio-engineerd [sic] from a fossil of the legendary Pokémon Mew, its size and character are far different than its ancestor.
  14. HAL Laboratory. Super Smash Bros. Melee. Articuno trophy: Clouds gather, the barometer plunges, and fresh snow falls from the frigid air when this legendary Pokémon takes wing.
  15. HAL Laboratory. Super Smash Bros. Melee. Zapdos trophy: It's said that you can hear this legendary Pokémon coming, as its wings make a very distinctive popping sound as it flies.
  16. HAL Laboratory. Super Smash Bros. Melee. Moltres trophy: As tradition has it, the onset of spring heralds the return of this legendary Pokémon from its southern home.
  17. 17.0 17.1 Sora Ltd. Super Smash Bros. Brawl. Mewtwo trophy: This legendary Pokémon was based on a recombination of Mew's DNA, created by a scientist after years of research.
  18. "#150 Mewtwo". IGN. สืบค้นเมื่อ June 18, 2009.
  19. Game Freak. Pokémon FireRed. Diary: July 5. Guyana, South America. A new POKéMON was discovered deep in the jungle.
  20. Game Freak. Pokémon FireRed. Diary: July 10. We christened the newly discovered POKéMON, MEW.
  21. Game Freak. Pokémon FireRed. Diary: Feb. 6. MEW gave birth. We named the newborn MEWTWO.
  22. Game Freak. Pokémon FireRed. Pokédex: A POKéMON of South America that was thought to have been extinct. It is very intelligent and learns any move.
  23. Pocket Monsters Mewtwo no Gyakushū (VHS) (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: Toho/Nintendo. July 18, 1998. {{cite AV media}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  24. DeVries, Jack (November 24, 2008). "IGN: Pokemon Report: OMG Hacks". IGN. สืบค้นเมื่อ June 7, 2009.
  25. Pop-Fiction Episode 7: I See Mew (Flash video). GameTrailers. 2010-10-21. สืบค้นเมื่อ 2011-04-27.
  26. 26.0 26.1 Pokémon: Lucario and the Mystery of Mew (DVD). VIZ Media. September 19, 2006. {{cite AV media}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  27. 27.0 27.1 "VIZ Media Announces New Pokemon Products for 2006 Holiday Season". PressZoom. October 12, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-10. สืบค้นเมื่อ June 13, 2009.
  28. Kusaka, Hidenori; Mato (2000). "Chapter 1". Pokémon Adventures 1. Viz Media. ISBN 978-1-56931-507-1.
  29. Kusaka, Hidenori; Mato (2000). "Chapter 16". Pokémon Adventures 2. Viz Media. ISBN 978-1-56931-508-8.
  30. Kusaka, Hidenori; Mato (2000). "Chapter 17". Pokémon Adventures 2. Viz Media. ISBN 978-1-56931-508-8.
  31. "ANA's Pokémon Jet Home Page - Design". ANA. สืบค้นเมื่อ May 21, 2009.
  32. "Mew Distribution Sept. 30". Nintendo Power (208): 97. October 2006.
  33. Land, Calum (2000-04-16). "35 Things your children Pika-choose not to tell you about Pokemon". The People.
  34. NGamer Staff (July 25, 2007). "Nintendo Feature: Best and Worst of Pokémon". Computer and Video Games. สืบค้นเมื่อ June 9, 2009.
  35. K. Thor Jensen (December 7, 2010). "The 25 Awesomest Hidden Characters - UGO.com". UGO.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-10. สืบค้นเมื่อ 2011-03-22.
  36. West, Tracey; Noll, Katherine (2007). Pokémon Top 10 Handbook. pp. 37, 77. ISBN 978-0-545-00161-8. สืบค้นเมื่อ 2011-04-30.
  37. Loe, Casey (1999). Pokémon Perfect Guide Includes Red-Yellow-Blue. Versus Books. p. 124. ISBN 1-930206-15-1.
  38. Tobin, Joseph Jay (2004). Pikachu's Global Adventure: The Rise and Fall of Pokémon. Duke University Press. pp. 180, 283. ISBN 0-8223-3287-6.
  39. Götz, Maya; Lemish, Dafna; International Communication Association Conference; Aidman, Amy; Moon, Hyesung (2005). Media and the Make-believe Worlds of Children: When Harry Potter Meets Pokémon in Disneyland. Routledge. p. 105. ISBN 0-8058-5191-7.
  40. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-12. สืบค้นเมื่อ 2016-02-02.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้