มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17

มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17 (MH17/MAS17)[a] เป็นเที่ยวบินพาณิชย์ของมาเลเซียแอร์ไลน์ซึ่งออกเดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ไปยังกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เที่ยวบินซึ่งบินด้วยเครื่องบินโบอิง 777 ตก[2][3] ใกล้กับฮราโบฟ จังหวัดโดเนตสค์ ประเทศยูเครน ห่างจากชายแดนยูเครน/รัสเซียประมาณ 40 กิโลเมตร[4] ผู้โดยสาร 283 คนและลูกเรือ 15 คนบนเครื่องเสียชีวิตทั้งหมด[5]

มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17
เครื่องบินโบอิง 777-200ER เลขทะเบียน 9M-MRD ลำเดียวกับที่ตก ที่สนามบินนครเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553
สรุปอุบัติการณ์
วันที่17 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 (2014-07-17)
สรุปถูกยิงตกด้วยขีปนาวุธที่เคลื่อนย้ายจากประเทศรัสเซียในวันที่ตก[1]
จุดเกิดเหตุใกล้กับฮราโบฟ แคว้นดอแนตสก์ ประเทศยูเครน
48°7′56″N 38°39′19″E / 48.13222°N 38.65528°E / 48.13222; 38.65528
ประเภทอากาศยานโบอิง 777-2H6ER
ดําเนินการโดยมาเลเซียแอร์ไลน์
ต้นทางท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิปโฮล
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
ผู้โดยสาร283
ลูกเรือ15
เสียชีวิต298
รอดชีวิต0
ผู้โดยสารบนเครื่องแบ่งตามสัญชาติ[6][7]
สัญชาติ จำนวน
 ออสเตรเลีย 27
 เบลเยียม 4
 แคนาดา[b][8] 1
 เยอรมนี[c] 4
 อินโดนีเซีย 12
 มาเลเซีย[d] 43
 เนเธอร์แลนด์[e] 193
 นิวซีแลนด์ 1
 ฟิลิปปินส์ 3
 สหราชอาณาจักร[f] 10
รวม 298

การตกเกิดขึ้นในบริเวณที่เกิดการปะทะกันท่ามกลางการก่อการกำเริบดอนบาสส์ โดยขณะที่เครื่องกำลังร่วงสู่พื้นดิน เกิดเพลิงไหม้ที่ปีกด้านขวา ทั้งนี้จากข้อมูลของสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ ยืนยันอ้างว่าเครื่องบินถูกยิงตกโดยขีปนาวุธ แต่ไม่สามารถระบุที่มาของขีปนาวุธได้[9][10]

ชาวเนเธอร์แลนด์วางดอกไม้เพื่อไว้อาลัย ที่ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิปโฮล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของยูเครน กล่าวว่าเครื่องบินถูกยิงตกที่ระยะความสูง 10,000 m (33,000 ft) จากเครื่องยิงจรวดพื้นดินสู่อากาศ บัค[11][12] เปโตร โปโรเชนโก ประธานาธิบดียูเครน กล่าวว่าเหตุการณ์นี้เป็น "การก่อการร้าย"[13] กบฏแบ่งแยกดินแดนนิยมรัสเซียสนองโดยกล่าวหารัฐบาลยูเครนว่าเป็นผู้ยิงเครื่องบินตก หน่วยข่าวกรองของยูเครนอ้างว่าได้ดักฟังโทรศัพท์พบว่ากลุ่มนิยมรัสเซียมีการกล่าวถึงการที่เพิ่งจะยิงเครื่องบินพลเรือนตก[14]

21 กรกฎาคม ฝ่ายความมั่นคงของรัสเซียอ้างว่าก่อน MH17 จะถูกยิง เรดาห์ของรัสเซียได้ตรวจพบเครื่องบินรบ ซูคอย ซู-25 ของยูเครน บินห่างจาก MH17 ที่ระดับความสูงใกล้เคียงกัน โดยมีระยะห่างจาก MH17 ราว 3-5 กิโลเมตร[15] และต่อมาอ้างว่าประเทศยูเครนรับผิดชอบเนื่องจากจุดตกเกิดในน่านฟ้ายูเครน[16] มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับการตกปรากฏในสื่อรัสเซีย และจนถึงเดือนกันยายน 2559 รัฐบาลรัสเซียยังปฏิเสธความรับผิดชอบ[17]

อากาศยานทหารยูเครนจำนวนหนึ่งถูกยิงตกเหนือดินแดนที่กบฏควบคุมทั้งก่อนหลังหลังเหตุ MH17 ดังกล่าว ทันทีหลังเครื่องตก ปรากฏโพสต์ในโปรเฟล์สื่อสังคมวีคอนตักเต (VKontakte) ของพันเอกอีกอร์ เกอร์คินแห่งรัสเซีย ผู้นำทหารอาสาสมัครแบ่งแยกดินแดนดอนบัสส์ อ้างความรับผิดชอบการยิงเครื่องบินลำเลียงทหารของยูเครนชนิดเอเอ็น-26 ของยูเครนใกล้กับโทเรซ (Torez)[18] ต่อมาวันเดียวกันโพสต์ดังกล่าวถูกลบออก แล้วหลังจากนั้นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนปฏิเสธการยิงเครื่องบินใด ๆ[19][20][21] ปลายเดือนกรกฎาคม 2557 มีการเผยแพร่การดักจับการสื่อสาร ซึ่งอ้างว่าได้ยินฝ่ายแบ่งแยกดินแดนกำลังถกกับเรื่องเครื่องบินที่ถูกยิงตก[22][23][24] วิดีทัศน์จากจุดตกที่กบฏบันทึกเองและนิวส์คอร์พออสเตรเลียได้มา แสดงภาพทหารกบฏคนแรกไปถึงจุดตก ทีแรกพวกเขาสันนิษฐานว่าเครื่องบินที่ถูกยิงตกเป็นเครื่องบินทหาร แต่ตกใจเมื่อรู้ว่าเป็นเครื่องบินโดยสารพลเรือน[25]

ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557 ถึงพฤษภาคม 2559 กลุ่มสืบสวนในสหราชอาณาจักร เบลลิงแคตออกข้อสรุปหลายอย่าง โดยอาศัยการตรวจสอบภาพถ่ายในสื่อสังคมและสารสนเทศโอเพนซอร์ซอื่น เบลลิงแคตกล่าวว่าเครื่องปล่อยจรวดที่ใช้ยิงเครื่องบินเป็นบุค 332 ของกองพลน้อยจรวดต่อสู้อากาศยานที่ 53 ของรัสเซียซึ่งตั้งอยู่ในคูสค์ ประเทศรัสเซีย ซึ่งมีการขนย้ายจากโดเนตสก์ไป Snizhne และถูกฝ่ายแบ่งแยกดินแดนในยูเครนควบคุมวันเดียวกับเหตุดังกล่าว[26][27][28][29][30]

ในเดือนกรกฎาคม 2558 ประเทศมาเลเซียเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตั้งคณะตุลาการระหว่างประเทศเพื่อดำเนินคดีกับผู้รับผิดชอบเหตุยิงเครื่องบินตก ข้อมติได้เสียงข้างมากในคณะมนตรีฯ แต่ประเทศรัสเซียใช้อำนาจยับยั้ง[31][32]

ความรับผิดชอบสำหรับการสอบสวนถูกมอบหมายให้กับคณะกรรมการความปลอดภัยดัตช์ (DSB) และทีมสอบสวนร่วม (JIT) โดยมีเนเธอร์แลนด์เป็นหัวหน้า ซึ่งสรุปว่าอากาศยานถูกขีปนาวุธพื้นสู่อากาศบัคที่ยิงจากดินแดนที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนนิยมรัสเซียในยูเครนยิง[33][34] ตามข้อมูลของ JIT บัคคันดังกล่าวมาจากกองพลน้อยขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานที่ 53 ของสหพันธรัฐรัสเซีย[35][36] และมีการขนส่งจากประเทศรัสเซียในวันที่อากาศยานตก ยิงจากสนามในเขตควบคุมของกบฏแล้วกลับสู่ประเทศรัสเซียในภายหลัง[17][37][35] จากข้อสรุปดังกล่าว รัฐบาลเนเธอร์แลนด์และออสเตรเลียถือว่ารัสเซียต้องรับผิดชอบต่อการวางกำลังบัคคันดังกล่าวและกำลังใช้ช่องทางกฎหมายในเดือนพฤษภาคม 2561[38][39] รัฐบาลรัสเซียปฏิเสธส่วนรู้เห็นในการยิงเครื่องบินตก[36][40][41][42] และคำบอกเล่าสาเหตุการตกนั้นเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ[43] การกล่าวถึงในสื่อรัสเซียก็แตกต่างจากในประเทศอื่น[44][45] ทั้งนี้ รัสเซียถือว่ารัฐบาลยูเครนมีความผิดฐานอนุญาตให้เที่ยวบินพลเรือนบินในเขตสงคราม[46]

หมายเหตุ แก้

  1. MH เป็นรหัสเรียกของ IATA ส่วน MAS เป็นรหัสเรียกของ ICAO นอกจากนี้ตามข้อตกลงการบินร่วม เที่ยวบินนี้ยังจำหน่ายเป็นสายการบินเคแอลเอ็ม เที่ยวบินที่ 4103 (KL4103/KLM4103)
  2. พลเมืองสองสัญชาติ แคนาดา-โรมาเนีย โดยสารโดยใช้หนังสือเดินทางของแคนาดา
  3. Including:
    • 1 พลเมืองสองสัญชาติ เยอรมัน-ดัตช์
  4. รวม 15 ลูกเรือ
  5. รวม:
    • 1 พลเมืองสองสัญชาติ ดัตช์-เบลเยียม;
    • 1 พลเมืองสองสัญชาติ ดัตช์-อิสราเอล;
    • 1 พลเมืองสองสัญชาติ ดัตช์-อิตาลี;
    • 1 พลเมืองสองสัญชาติ ดัตช์-อเมริกัน
  6. รวม:
    • 1 พลเมืองสองสัญชาติ อังกฤษ-แอฟริกาใต้; และ
    • 1 พลเมืองสองสัญชาติ อังกฤษ-นิวซีแลนด์

คลังภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Missile fired at Malaysian plane: US intelligence". CNBC. 17 July 2014. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  2. "Malaysian airliner crashes in E. Ukraine near Russian border, over 283 people on board". RT. 17 July 2014. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  3. "Gruesome images of Malaysia MH17 plane crash in east Ukraine appear online (PHOTOS)". RT. 17 July 2014. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  4. "Malaysia Airlines plane crashes on Ukraine-Russia border – live". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  5. Zverev, Anton (17 July 2014). "Malaysian airliner downed in Ukraine war zone, 295 dead". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-17. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Official nationalities
  7. "Passenger manifest" (PDF). Malaysia Airlines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-07-19. สืบค้นเมื่อ 2014-08-26.
  8. Alamenciak, Tim; Gerster, Jane. "Canadian killed in MH17 crash ambitious, bright medical student from Ajax". Toronto Star. No. 20 July 2014. สืบค้นเมื่อ 20 July 2014.
  9. Schmitt, Eric; Mabry, Marcus; MacFarquhar, Neil; Herszenhorn, David M. (17 July 2014). "Malaysia Jet Brought Down in Ukraine by Missile, U.S. Officials Say". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 July 2014.
  10. Birnbaum, Michael; Branigin, William; Londoño, Ernesto (17 July 2014). "Malaysia Airlines plane crashes in eastern Ukraine; U.S. intelligence blames missile". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  11. de Carbonnel, Alissa (17 July 2014). "Malaysian passenger plane crashes in Ukraine near Russian border -Ifax". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-18. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  12. Zverev, Anton (17 July 2014). "Ukraine says rebels shoot down Malaysian airliner, 295 dead". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-17. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  13. "Malaysia Airlines crash: President Poroshenko calls shooting down of Malaysian plane an 'act of terrorism'". The Daily Telegraph. 17 July 2014. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  14. "Malaysian plane was shot down by rebels, intercepted phone calls prove, Ukraine's president says". National Post. Associated Press via Postmedia Network. 17 July 2014. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
  15. Ukrainian Su-25 fighter detected in close approach to MH17 before crash - Moscow http://rt.com/ July 21, 2014
  16. "Ukraine crisis: Poroshenko offers rebels more autonomy". BBC News. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
  17. 17.0 17.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SMH JIT
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ VK Wall
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ vk.com
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Arthur Bright
  21. Alec Luhn. "The Guardian 20 July 2014". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 8 September 2014.
  22. Landay, Jonathan S. "WASHINGTON: U.S. officials still don't know who shot down Malaysian airliner | World". The Bellingham Herald. สืบค้นเมื่อ 24 July 2014.[ลิงก์เสีย]
  23. "Militants admit to shooting down MH17 – reports". ONE News. 18 July 2014. สืบค้นเมื่อ 10 August 2014.
  24. Demirjian, Karoun. "Watch: Ukraine's pro-Russian rebels discuss MH17′s black box in secret recording". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 10 August 2014.
  25. "The shocking aftermath of MH17". NewsComAu. สืบค้นเมื่อ 2018-03-18.
  26. Bellingcat MH17 Investigation Team (8 November 2014). "MH17: Source of the Separatists' Buk" (PDF). Bellingcat. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2014. สืบค้นเมื่อ 16 May 2015.
  27. Gorchinskaya, Katya; Lavrov, Vlad (9 November 2014). "Journalists find 'solid' Russian ties to missile that hit MH17". Kyiv Post. สืบค้นเมื่อ 18 June 2015.
  28. Tucker, Maxim (22 June 2015). "Meet Eliot Higgins, Putin's MH17 Nemesis". Newsweek. สืบค้นเมื่อ 24 June 2015.
  29. "Bellingcat: New evidence against Russian soldiers on MH17". DW.COM. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
  30. "bellingcat – The Lost Digit: Buk 3x2 – bellingcat". bellingcat. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
  31. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ churkin
  32. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ veto
  33. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ DSB_Final_Report
  34. Weaver, Matthew (13 October 2015). "MH17 crash report: Dutch investigators confirm Buk missile hit plane – live updates". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 October 2015.
  35. 35.0 35.1 "MH17 missile owned by Russian brigade, investigators say". BBC News. 24 May 2018.
  36. 36.0 36.1 Smith-Spark, Laura; Masters, James (24 May 2018). "Missile that downed MH17 'owned by Russian brigade'". CNN.
  37. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BBC News 28 September 2016
  38. Algemene Zaken, Ministerie van; Buitenlandse Zaken, Ministerie van (25 May 2018). "MH17: The Netherlands and Australia hold Russia responsible". www.government.nl (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 25 May 2018.
  39. Bunnik, Jacquelin Magnay; Riordan, Primrose (25 May 2018). "MH17 evidence points to 'rogue state' Russia, Tony Abbott says". The Australian.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  40. "No Russian air defense missile systems crossed Russia-Ukraine border – top brass". TASS (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 25 May 2018.
  41. "Ukraine crisis: Poroshenko offers rebels more autonomy". BBC News. 10 September 2014. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
  42. Sipalan, Joseph (21 June 2019). "Russians made a 'scapegoat' after MH17 report released, says Malaysia PM". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-06-23.
  43. "The Kremlin's Shifting, Self-Contradicting Narratives on MH17 - bellingcat". bellingcat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 5 January 2018. สืบค้นเมื่อ 5 January 2018.
  44. Adamczyk, Ed (22 July 2014). "Russia offers alternate scenarios for Malaysia Airlines crash". United Press International. สืบค้นเมื่อ 2 November 2014. Russian media offers explanations conflicting with the information provided by the rest of the world.
  45. Ioffe, Julia (20 July 2014). "The Russian Public Has a Totally Different Understanding of What Happened to Malaysia Airlines Flight 17: And it's more of a problem than you think". New Republic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2014. สืบค้นเมื่อ 21 July 2014. The picture of the catastrophe that the Russian people are seeing on their television screens is very different from that on screens in much of the rest of the world, and the discrepancy does not bode well for a sane resolution to this stand-off
  46. Putin Dismisses MH17 Charges (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2020-04-12

ดูเพิ่ม แก้