มาร์ก-อ็องตวน ชาร์ป็องตีเย

คีตกวีชาวฝรั่งเศส ค.ศ. 1643–1704

มาร์ก-อ็องตวน ชาร์ป็องตีเย (ฝรั่งเศส: Marc-Antoine Charpentier, ค.ศ. 1643 – 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1704) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศสในยุคบารอก

ภาพแกะสลักเมื่อ ค.ศ. 1682 จากหนังสือ Almanach Royal ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นรูปของชาร์ป็องตีเย[1]

ชาร์ป็องตีเยประพันธ์งานดนตรีคุณภาพสูงหลากประเภทไว้เป็นจำนวนมาก ที่เด่นที่สุดคือดนตรีศาสนาสำหรับขับร้อง ซึ่งความเชี่ยวชาญในการประพันธ์ของเขาเป็นที่ยอมรับและยกย่องในหมู่คีตกวีในยุคเดียวกัน

มีคีตกวีชาวฝรั่งเศสอีกคนหนึ่งที่มีชึ่อเสียงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชื่อกุสตาฟว์ ชาร์ป็องตีเย แต่ทั้งสองคนไม่น่าจะมีความสัมพันธ์ทางครอบครัวกันเลย

ประวัติ แก้

ชาร์ป็องตีเยเกิดในกรุงปารีสหรือในพื้นที่ใกล้เคียง เขาเป็นบุตรของอาลักษณ์คนสำคัญผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับครอบครัวผู้ทรงอิทธิพลในศาลอุทธรณ์แห่งปารีส[2][3] มาร์ก-อ็องตวนได้รับการศึกษาที่ดีมาก ซึ่งอาจอยู่ในความดูและของบาทหลวงคณะเยสุอิต และสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนกฎหมายเมื่ออายุได้ 18 ปี[4] แต่เรียนได้เพียงภาคการศึกษาเดียวก็ลาออก เขาใช้เวลา “สองสามปี” ในกรุงโรม น่าจะระหว่าง ค.ศ. 1667 ถึง 1669[5] เป็นศิษย์ของจาโกโม การิสซีมี และเป็นที่ทราบกันว่าเขาได้ติดต่อกับกวี-นักดนตรีชื่อชาร์ล กัวโป ดาซูซี (Charles Coypeau d'Assoucy) ผู้กำลังประพันธ์ดนตรีให้แก่สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในกรุงโรม มีคำเล่าลือว่าในเบื้องแรกชาร์ป็องตีเยเดินทางไปกรุงโรมเพื่อศึกษาจิตรกรรมก่อนได้พบกับการิสซีมี เรื่องนี้ไม่มีการจดบันทึก และน่าจะไม่เป็นความจริง เพราะในต้นฉบับโน้ตดนตรีที่เขียนด้วยลายมือของเขาทั้ง 28 เล่มนั้น แม้จะแสดงถึงความชำนาญในการวาดลายอาหรับซึ่งนิยมกันในหมู่อาลักษณ์อาชีพ ทว่าไม่มีเล่มใดเลยที่มีภาพวาด แม้เพียงภาพร่างอย่างง่ายก็ไม่มี แต่ไม่ว่าชาร์ป็องตีเยจะไปกรุงโรมเพื่อเรียนอะไร เขาก็ได้เรียนรู้ขนบดนตรีของอิตาลีในยุคนั้นอย่างลึกซึ้งและนำติดตัวกลับไปฝรั่งเศสด้วย

ทันทีที่ชาร์ป็องตีเยกลับถึงฝรั่งเศส เขาน่าจะได้เริ่มงานในฐานะคีตกวีประจำบ้านให้แก่มารี เดอ ลอแรน ดัชเชสแห่งกีซ (Marie de Lorraine, duchesse de Guise) ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่านางสาวแห่งกีซ ดัชเชสได้มอบห้องเป็นสัดส่วนในคฤหาสน์กีซ (Hôtel de Guise) ที่เพิ่งบูรณะเสร็จใหม่ ๆ ให้แก่ชาร์ป็องตีเย ความข้อนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าชาร์ป็องตีเยไม่ได้เป็นเพียงคนรับใช้ที่หลับนอนในซอกหลืบของทำเนียบอันยิ่งใหญ่ แต่เป็นชาววังผู้อาศัยในห้องชุดหรูที่ทำขึ้นใหม่ทางปีกคอกม้า[6]

ในห้วงเวลา 17 ปีนับจากนั้น ชาร์ป็องตีเยได้ประพันธ์ดนตรีสำหรับการขับร้องหลายชิ้นให้แก่ดัชเชสแห่งกีซ[7] เช่นดนตรีสำหรับเพลงสดุดี (Psalm) เพลงสวด (hymns) เพลงโมเทต (motet) ดนตรีประกอบบทภาวนาของพระนางมารีย์ (Magnificat) เพลงมิซซา (mass) และดนตรีสำหรับบทภาวนาวันแห่งพระพิโรธ (Dies Irae) สำหรับใช้ในงานศพ หลุยส์ โฌแซ็ฟ ดยุคแห่งกีซ (Louis Joseph, Duke of Guise) หลานของดัชเชส[8] ทั้งยังมีออราทอริโอในลีลาอิตาลีที่มีบทร้องภาษาละตินที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาอีกหลายเรื่อง ในทศวรรษ ค.ศ. 1670 งานส่วนใหญ่ของชาร์ป็องตีเยประพันธ์ขึ้นสำหรับนักร้อง 3 คน[9] ซึ่งมักใช้สตรี 2 คน และเสียงเบสอีก 1 เสียง ขับร้องไปกับการบรรเลงที่ใช้เครื่องดนตรีเสียงกลาง 2 ชิ้น และเครื่องดนตรีเดินแนวเบสต่อเนื่องอีก 1 ชิ้น แต่หากการแสดงดนตรีเกิดขึ้นในโบสถ์ที่มีแต่ศาสนิกที่เป็นบุรุษ ดนตรีก็จะเปลี่ยนเป็นสำหรับเสียงสูงพิเศษ (haute-contre) เสียงเทเนอร์ และเสียงเบส โดยใช้เครื่องดนตรีชุดเดิม ครั้นถึงราว ค.ศ.1680 ดัชเชสแห่งกีซได้เพิ่มขนาดวงดุริยางค์ขึ้นหลายครั้ง จนในที่สุดวงของดัชเชสก็มีนักร้องนักดนตรีถึง 13 คน กับครูสอนขับร้องอีก 1 คน ในบทประพันธ์ดนตรีตั้งแต่ ค.ศ. 1684 จนถึงปลาย ค.ศ. 1687 ในขอบบนหน้าโน้ตเพลงของชาร์ป็องตีเยจะมีชื่อนักดนตรีในวงของดัชเชสแห่งกีซทุกคน รวมถึงชื่อ "ชาร์ป" ("Charp") ข้างตำแหน่งเสียงสูงพิเศษ[10] เอเตียน ลูลีเย (Étienne Loulié) นักดนตรีอาวุโสมือคีย์บอร์ด ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ และซอวิโอล น่าจะรับหน้าที่ฝึกสอนนักดนตรีใหม่ด้วย

แม้จะมีข้อความที่มักกล่าวอ้างว่าชาร์ป็องตีเยเป็น “ผู้อำนวยการ” วงดุริยางค์ในช่วง 17 ปีที่เขาทำงานให้ดัชเชสแห่งกีซด้วย แต่ข้อความนี้ไม่เป็นความจริง ตำแหน่งดังกล่าวเป็นของชายอีกคนหนึ่งในทำเนียบของดัชเชสชื่อ ฟีลิป กัวโบ (Philippe Goibaut) ที่เรียกกันติดปากว่านายดูว์ บัว (Monsieur Du Bois) เขาเป็นนักดนตรีสมัครเล่น นิยมชมชอบทุกสิ่งที่มาจากอิตาลี และเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาละติน ความชื่นชอบดนตรีอิตาลีของดัชเชสแห่งกีซ (เช่นเดียวกับดูว์ บัว) และงานรับรองบ่อยครั้งที่ดัชเชสจัดเป็นเกียรติแก่อาคันตุกะชาวอิตาลีผู้เดินทางผ่านมาทางกรุงปารีส[11] ทำให้ชาร์ป็องตีเยไม่จำเป็นต้องอำพรางสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มาจากกรุงโรมและกลายความเป็นอิตาลีในดนตรีของเขา

ในระยะเวลาที่ชาร์ป็องตีเยทำงานให้แก่ดัชเชสหรือนางสาวแห่งกีซ เขาก็ได้ประพันธ์ดนตรีให้แก่มาดาม เดอ กีซ (Mme de Guise) พระญาติสนิทของสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วย[12] บารมีของมาดาม เดอ กีซนี่เองที่เป็นเกราะคุ้มภัยให้แก่วงดุริยางค์ของดัชเชส ทำให้วงสามารถจัดการแสดงอุปรากรเล็กของชาร์ป็องตีเยอยู่ได้อย่างท้าทายการผูกขาดของคีตกวีราชสำนัก ฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลี อุปรากรและเพลงปัสตอราลของชาร์ป็องตีเยที่แสดงเป็นภาษาฝรั่งเศสซึ่งประพันธ์ขึ้นในช่วง ค.ศ. 1684 ถึง 1687 ส่วนใหญ่น่าจะเป็นงานที่ว่าจ้างโดยมาดาม เดอ กีซ สำหรับจัดแสดงในพระราชวังในฤดูหนาว แต่ดัชเชสแห่งกีซต้องได้นำบทประพันธ์เหล่านี้ไปจัดแสดงในงานรื่นเริงที่จัดขึ้นสัปดาห์ละหลายครั้งที่ทำเนียบอันอลังการของนางในกรุงปารีสด้วยอย่างแน่นอน

 
ภาพเหมือนที่ค้นพบใหม่ มีลายมือจิตรกรที่บอกว่าเป็นภาพของชาร์ป็องตีเย แต่วาดขึ้นทีหลังในราว ค.ศ. 1750[13]

ถึงปลาย ค.ศ. 1687 สุขภาพของดัชเชสแห่งกีซทรุดโทรมลงมาก ในช่วงนั้นชาร์ป็องตีเยได้ย้ายไปทำงานในคณะเยสุอิต เขาไม่มีชื่อปรากฏในพินัยกรรมของดัชเชสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1688 ทั้งไม่ปรากฏในเอกสารมรดกใด ๆ จึงเป็นหลักฐานอันหนักแน่นว่าดัชเชสได้สมนาคุณแก่คีตกวีผู้จงรักแล้ว และอนุญาตให้เขาออกไปหางานใหม่ได้

ตลอดเวลากว่า 17 ปีที่ชาร์ป็องตีเยทำงานที่คฤหาสกีซ เขามีงานดนตรีนอกเหนือจากที่ประพันธ์ให้กับดัชเชสแห่งเดอกีซอีกเป็นจำนวนเกือบเท่ากับงานในหน้าที่ ซึ่งเขาเก็บสำเนาไว้ในสมุดบันทึกของเขาอย่างสม่ำเสมอ โดยลงลำดับเป็นพิเศษด้วยเลขโรมัน ตัวอย่างหนึ่งคือหลังจากมอลีแยร์ นักประพันธ์บทละครผู้ยิ่งใหญ่ ตัดไมตรีกับฌ็อง-บาติสต์ ลูว์ลีเมื่อ ค.ศ. 1672 ชาร์ป็องตีเยก็เริ่มรับงานประพันธ์ดนตรีประกอบละครพูดของมอลีแยร์ ความจริงงานประพันธ์เพลงสำหรับละครเรื่อง Le Malade imaginaire ได้มอบหมายให้แก่ดาซูซี (Dassoucy) แต่แรงกดดันจากดัชเชสแห่งกีซและมาดาม เดอ กีซน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มอลีแยร์บอกเลิกความตกลงกับดาซูซีแล้วโอนงานมาให้ชาร์ป็องตีเยแทน และหลังจากมรณกรรมของมอลีแยร์ใน ค.ศ. 1673 ชาร์ป็องตีเยก็ยังประพันธ์ดนตรีให้กับผู้สืบทอดของมอลีแยร์ ได้แก่ตอมา กอร์แนย์ (Thomas Corneille) และฌ็อง ดนโน เดอ วีเซ (Jean Donneau de Visé) อย่างต่อเนื่อง ในละครแต่ละเรื่อง ชาร์ป็องตีเยได้ประพันธ์ดนตรีที่ต้องใช้นักดนตรีจำนวนมากกว่าที่กำหนดไว้ในคำสั่งผูกขาดดนตรีเพื่อการละครของลูว์ลี ครั้นถึง ค.ศ. 1685 คณะละครจำต้องหยุดการละเมิดคำสั่งดังกล่าว ทำให้งานประพันธ์ดนตรีประกอบละครพูดต้องสิ้นสุดลงโดยปริยายสำหรับชาร์ป็องตีเย[14]

ใน ค.ศ. 1679 ชาร์ป็องตีเยได้รับเลือกให้ประพันธ์ดนตรีถวายแด่พระราชบุตรของสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ดำรงตำแหน่งรัชทายาท[15] งานประพันธ์ส่วนใหญ่เป็นเพลงศาสนาสำหรับโรงสวดส่วนพระองค์ คือเพลงสวดสำหรับวงขนาดเล็ก ผู้ขับร้องเป็นนักร้องของราชสำนัก ได้แก่สองพี่น้องสตรีสกุลเปียช ร่วมกับนักร้องเสียงเบสชื่อฟรีซง นักดนตีคือพี่น้องบุรุษสกุลเปียช เท่ากับว่าหากดัชเชสแห่งกีซอนุญาต วงของรัชทายาทก็สามารถบรรเลงเพลงที่ชาร์ป็องตีเยประพันธ์ในคฤหาสน์กีซได้ เมื่อต้น ค.ศ. 1683 ซึ่งชาร์ป็องตีเยเริ่มได้รับบำนาญหลวง เขาก็ได้รับมอบหมายให้ประพันธ์ดนตรีสำหรับโอกาสต่าง ๆ ในราชสำนัก เช่นการแห่ประจำปีในวันวันสมโภชพระคริสตวรกาย (Corpus Christi) แต่ถึงเดือนเมษายนของปีนั้น อาการป่วยของชาร์ป็องตีเยทำให้เขาต้องถอนตัวจากการสมัครเข้าชิงตำแหน่งรองผู้ดูแลโบสถ์หลวง ข้อสันนิษฐานที่ว่าเขาถอนตัวเพราะรู้อยู่แล้วว่าจะไม่ได้ตำแหน่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นไปไม่ได้ ดูจากสมุดบันทึกโน้ตเพลงของเขา ซึ่งไม่มีการเขียนข้อความใดเลยในช่วงเดือนเมษายนถึงสิงหาคมของปีนั้น นับเป็นหลักฐานหนักแน่นว่าเขาป่วยเกินกว่าจะทำงาน

จากปลาย ค.ศ. 1687 ถึงต้น ค.ศ. 1698 ชาร์ป็องตีเยทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการตนตรีให้แก่คณะเยสุอิต เริ่มจากที่วิทยาลัยหลุยส์-เลอ-กร็อง (Louis-le-Grand) (เขาประพันธ์ดนตรีเรื่องดาวีกับฌอนาตา (David et Jonathas))[16] และที่โบสถ์แซ็ง-หลุยส์ ริมถนนแซ็ง-อ็องตวนใกล้อาราม (professed house) ของคณะเยสุอิตในเวลาต่อมา[17] ครั้นย้ายไปโบสถ์แซ็ง-หลุยส์แล้ว ชาร์ป็องตีเยก็เลิกประพันธ์ออราทอริโอ หันไปมุ่งประพันธ์ดนตรีประกอบบทเพลงสดุดีและคำประพันธ์ทางศาสนาบทอื่น งานประพันธ์ของเขาที่โบสถ์แซ็ง-หลุยส์มักเป็นดนตรีสำหรับวงดุริยางค์ขนาดใหญ่ ใช้นักร้องที่ว่าจ้างมาจากคณะอุปรากรหลวง นอกจากนั้น ชาร์ป็องตีเยยังรับช่วงต่อจากเอเตียน ลูลีเย (Étienne Loulié) ในฐานะครูดนตรีของฟีลิป ดยุคแห่งชาทร์ด้วย[18]

ชาร์ป็องตีเยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการตนตรีของโบสถ์แซ็งต์-ชาแปล กรุงปารีส เมื่อ ค.ศ. 1698 ซึ่งเป็นตำแหน่งในราชสำนัก เขาอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 1704[19] บทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดบทหนึ่งในช่วงนี้ได้แก่ Mass Assumpta Est Maria (H. 11) การที่บทประพันธ์ชิ้นนี้เหลือรอดอยู่ได้แปลว่าชาร์ป็องตีเยประพันธ์ดนตรีนี้ให้แก่อีกหน่วยงานหนึ่งซึ่งสามารถเรียกใช้และให้ค่าตอบแทนแก่นักดนตรีของโบสถ์ได้ เพราะในกรณีนอกเหนือจากบทประพันธ์นี้ ไม่มีงานของชาร์ป็องตีเยในช่วง ค.ศ. 1690 ถึง ค.ศ. 1704 ชิ้นใดที่หลงเหลืออยู่เลย เนื่องจากหลังมรณกรรมของผู้อำนวยการตนตรี เจ้าหน้าที่ราชสำนักจะยึดงานประพันธ์ทุกชิ้นที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับโบสถ์ไปหมด ชาร์ป็องตีเยถึงแก่กรรมที่โบสถ์แซ็ง-ชาแปลในกรุงปารีส และถูกฝังในสุสานขนาดเล็กมีกำแพงปิดล้อมด้านหลังที่สำหรับนักร้องประสานเสียงของโบสถ์ แต่สุสานดังกล่าวไม่มีเหลือแล้วในปัจจุบัน

เมื่อ ค.ศ. 1727 ทายาทของชาร์ป็องตีเยขายต้นฉบับโน้ต 28 เล่มที่บันทึกด้วยลายมือของเขาให้แก่หอสมุดหลวง ซึ่งกลายมาเป็นหอสมุดแห่งชาติของประเทศฝรั่งเศส (Bibliothèque nationale de France) ในปัจจุบัน โน้ตเพลงชุดนี้รู้จักกันทั่วไปในชื่อเมล็องฌ์ (Mélanges หรือ Meslanges) มีสำเนาต้นฉบับที่ตีพิมพ์เผยแพร่โดย Minkoff-France ชาร์ป็องตีเยแบ่งต้นฉบับเหล่านี้ออกเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งใช้เลขลำดับเป็นเลขอารบิค อีกชุดหนึ่งใช้เลขโรมัน ทั้งสองชุดจัดลำดับตามวันเดือนปีที่ประพันธ์ ต้นฉบับของชาร์ป็องตีเยและลายน้ำบนกระดาษโน้ตเพลงไม่เพียงช่วยให้ผู้ศึกษาผลงานของเขาสามารถกำหนดวันที่ของงานดนตรีแต่ละชิ้น แต่ยังบอกได้ด้วยว่าบางชิ้นประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสใดบ้าง[20]

ดนตรี ลีลา และอิทธิพล แก้

งานประพันธ์ดนตรีของชาร์ป็องตีเยมีทั้งออราทอริโอ มิซซา อุปรากร และงานดนตรีเบ็ดเตล็ดอีกจำนวนมากที่ยากต่อการจัดเข้าหมวดหมู่ งานดนตรีสำหรับเสียงร้องหนึ่งหรือสองเสียงกับเครื่องดนตรีดูคล้ายกับเพลงคันตาตาแบบอิตาลีในยุคนั้นมาก คือเหมือนกันในทุกแง่มุมยกเว้นชื่อ ชาร์ป็องตีเยเรียกงานประพันธ์ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสว่า air sérieux หรือ air à boire และงานแบบเดียวกันที่ใช้ภาษาอิตาลีว่าคันตาตา

ชาร์ป็องตีเยไม่เพียงสร้างผลงานใน "ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน" ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อ "วิวัฒนาการของภาษาดนตรี ในจุดที่วิธีปฏิบัติของดนตรีโบราณ และปรากฏการณ์ใหม่อันได้แก่แนวเสียงประสานที่เข้าคู่อย่างกลมกลืน มีความเท่าเทียมกัน และช่วยให้อีกฝ่ายหนึ่งรุ่มรวยขึ้นด้วย" (จาก กาทริน เซซัก, มาร์ก-อ็องตวน ชาร์ป็องตีเย, ฉบับพิมพ์ ค.ศ. 2004, น. 464) เขายังเป็นนักทฤษฎีที่มีผู้นิยมนับถือด้วย เมื่อต้นทศวรรษ ค.ศ. 1680 เขาได้วิเคราะห์เสียงประสานในมิซซาที่ใช้กลุ่มประสานเสียงจำนวนมากของคีตกวีชาวโรมันชื่อฟรันเชสโก เบเรตตา (Francesco Beretta) (Bibliothèque nationale de France, Ms. Réserve VM1 260, fol. 55–56) ราว ค.ศ. 1691 เขาได้เขียนคู่มือสำหรับใช้ในการสอนดนตรีให้แก่ฟีลิปแห่งออร์เลอ็อง ผู้เป็นดยุกแห่งชาทร์ ต่อมาเขาได้ปรับปรุงเพิ่มเนื้อหาในคู่มือดังกล่าวเมื่อ ค.ศ. 1693 คู่มือทั้งสองรุ่นมีตกทอดมาถึงปัจจุบันผ่านเอเตียน ลูลีเย เพื่อนร่วมงานของชาร์ป็องตีเย ลูลีเยเรียกคู่มือเล่มหนึ่งว่า กฎการประพันธ์ดนดรีโดยนายชาร์ป็องตีเย (Règles de Composition par Monsieur Charpentier) และเรียกอีกเล่มหนึ่งว่า ส่วนเสริมจากฉบับต้นของดยุคแห่งชาทร์ (Augmentations tirées de l’original de Mr le duc de Chartres) (Bibliothèque nationale de France, ms. n.a. fr. 6355, fols. 1–16)

ในหน้ากระดาษเปล่าของคู่มือฉบับส่วนเสริม ลูลีเยได้จดหัวข้อซึ่งชาร์ป็องตีเยเขียนไว้ในตำราอีกเล่มหนึ่ง ลูลีเยเรียกตำราเล่มนี้ว่า กฎการบรรเลงประสาน โดยนายชาร์ป็องตีเย (Règles de l’accompagnement de Mr Charpentier) ตำราทางทฤษฎีดนตรีทั้งสามเล่มนี้อยู่ในความรับรู้ของนักวิชาการมานานแล้ว ทว่ามันไม่ได้แสดงถึงวิวัฒนาการของชาร์ป็องตีเยในฐานะนักทฤษฎีอย่างชัดเจนเท่าใดนัก จนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ตำราเล่มที่สี่ได้ถูกค้นพบในคลังหนังสือโบราณของห้องสมุดลิลลี (Lilly Library) ที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา เมืองบลูมิงตัน สหรัฐอเมริกา ตำราเล่มใหม่นี้เขียนขึ้นด้วยลายมือของชาร์ป็องตีเยเองในช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายของ ค.ศ. 1698 มีเลขลำดับแบบโรมันว่า XLI เท่ากับว่านี่เป็นตำราลำดับที่ 41 ในชุดซึ่งนักวิชาการผู้ศึกษาเรื่องของชาร์ป็องตีเยไม่เคยรู้มาก่อน นับเป็นชุดตำราที่ผลิตออกมาตลอดเวลาเกือบสองทศวรรษ ตั้งแต่ต้นทศวรรษ ค.ศ. 1680 ถึง ค.ศ. 1698[21]

ความเชื่อมโยงกับปัจจุบัน แก้

ตอนต้นของเพลง Te Deum, H. 146 เป็นดนตรีในรูปแบบรอนโด ซึ่งสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป (European Broadcasting Union) ใช้เป็นทำนองนำเวลาเปิดรายการเช่น การประกวดเพลงยูโรวิชัน เพลงเดียวกันนี้ถูกนำไปใช้ในสารคดีกีฬาโอลิมปิกของบัด กรีนสแปน (Bud Greenspan)

ผลงานของชาร์ป็องตีเย แก้

งานประพันธ์ดนตรีของชาร์ป็องตีเยได้รับการจัดทำบัญชีรายชื่อโดยฮิว ไวลีย์ ฮิตช์คอก (Hugh Wiley Hitchcock) ในหนังสือ งานของมาร์ก-อ็องตวน ชาร์ป็องตีเย : รายการเชิงพรรณนา (Les œuvres de Marc-Antoine Charpentier: Catalogue Raisonné, (Paris: Picard, 1982)) ของเขา คีตนิพนธ์ของชาป็องเตียจะถูกอ้างอิงโดยใช้เลขลำดับของฮิตช์คอก หรือ H รายชื่อต่อไปนี้เป็นตัวอย่างผลงานคีตนิพนธ์ของเขา ไม่ใช่ผลงานทั้งหมดในแต่ละประเภทดนตรี

อุปรากร แก้

  • Les amours d'Acis et Galatée, Lost, 1678?
  • Les arts florissants, H. 487, 1685–86
  • La descente d'Orphée aux enfers, H. 488; 1686–87
  • Le jugement de Pâris, (1690)
  • Philomèle, lost, 1690
  • Médée, H. 491; 1693

โศกนาฏกรรมจากพระคัมภีร์ แก้

  • Celse Martyr, Music lost; P. Bretonneau's libretto published in 1687.
  • David et Jonathas, H. 490, 1688. (Libretto by P. Bretonneau.)

Pastorales แก้

  • Petite pastorale eglogue de bergers, H. 479; October 1676
  • Actéon, H. 481; 1684
  • Il faut rire et chanter: Dispute de Bergers, H. 484; 1685
  • La fête de Ruel, H. 485; 1685
  • La couronne de fleurs, H. 486; 1685
  • Le retour de printemps, Lost.
  • Cupido perfido dentr'al mio cor

Pastoraletta แก้

  • Amor vince ogni cosa, H. 492

ดนตรีประกอบการแสดงละคร แก้

  • Les Fâcheux, 1672. Music lost (if indeed Charpentier did more than simply conduct the play a few times, as the records of the Comédie Française suggest), comedy by Molière.
  • La comtesse d'Escarbagnas, H. 494; 1672 (comedy by Molière.)
  • Le médecin malgré lui, four airs survive, date uncertain. (comedy by Molière)
  • L'Inconnu, music lost; 1675 ("galant play" by Donneau de Visé and Thomas Corneille)
  • Circé, H. 496; 1675. (tragedy with machines by Thomas Corneille; divertissements by Donneau de Visé)
  • Ouverture du prologue de l'Inconnu, H. 499; a reworking of the prologue d'Acis et Galathée, an opera written for M. de Riants in 1679
  • Andromède, H. 504; 1682 (tragedy with machines by Pierre Corneille)
  • Vénus et Adonis, H. 507; 1685 (a play with machines, by Donneau de Visé)

บัลเลต์เบาสมอง แก้

  • Le mariage forcé (comedy by Molière,1672)
  • Le malade imaginaire (comedy with machines by Molière, 1673)
  • Le sicilien (for the comedy by Molière reworked in 1679)

บัลเลต์ แก้

  • Polyeucte, H. 498 (music for a performance of Pierre Corneille's play at the Collège d'Harcourt, 1679)

Divertissements แก้

  • Les plaisirs de Versailles, H. 480; 1682
  • Idylle sur le retour de la santé du roi, H. 489; 1687

Interludes (Intermèdes) แก้

  • Le triomphe des dames (1676)
  • La pierre philosophale (1681)
  • Endymion (1681)
  • Dialogues d'Angélique et de Médor (1685)

โซนาตา แก้

  • Sonate à huit (H.548)

ดนตรีศาสนา แก้

  • Messe (H. 1)
  • Messe Pour Mr. Mauroy (H. 6)
  • Extremum Dei judicium (H. 401)
  • Messe de minuit pour noël (H. 9, c. 1690)
  • Missa assumpta est Maria (H. 11, 1698–1702)
  • Litanies de la vierge (H. 83, 1683–1685)
  • Te Deum (H. 146, c. 1690)
  • Dixit Dominus (H. 204)
  • In nativitatem Domini canticum (H. 416)
  • Méditations pour le Carême (H.380-389)
  • Noëls (3) (H. 531 c. 1680)
  • Noëls pour les instruments (H. 534, c. 1690)
  • Precatio pro filio regis (Offertory) (H. 166)
  • Panis quem ego dabo (Elevation) (H. 275)

บรรณานุกรม แก้

ชีวประวัติ แก้

  • Cessac, Catherine. Marc-Antoine Charpentier. Translated from the French ed. (Paris 1988) by E. Thomas Glasow. Portland (Oregon): Amadeus Press, 1995.
  • Cessac, Catherine, ed., Marc-Antoine Charpentier, un musicien retrouvé (Sprimont: Mardaga, 2005), a collection of pioneering works originally disseminated in the Bulletin Charpentier, 1989–2003. The bulk of the articles deal with his life and works: his family and its origins, Italy and Italianism at the Hôtel de Guise, his work for the Jesuits, the sale of his manuscripts, plus background information about specific works.
  • Cessac, Catherine, ed., Les Manuscrits autographes de Marc-Antoine Charpentier (Wavre: Mardaga, n.d.), papers presented at the conference held at Versailles, 2004. The articles in this volume focus primarily on what scholars can deduce from the 28 autograph volumes that contain his compositions.
  • Ranum, Patricia M. "A Sweet Servitude: A musician's life at the court of Mlle de Guise," Early Music, 15 (1987), pp. 347–60.
  • Ranum, Patricia M. "Lully Plays Deaf: Rereading the Evidence on his Privilege," in John Hajdu Heyer, ed., Lully Studies (Cambridge, UK: Cambridge University Press, 2000), pp. 15–31, which focuses on Charpentier's powerful contacts.
  • Ranum, Patricia M. (2004). Portraits Around Marc-Antoine Charpentier. Baltimore: Dux Femina Facti. ISBN 978-0-9660997-3-7.

ประวัติศาสตร์ดนตรีและทฤษฎีดนตรี แก้

  • Anthony, James R. French Baroque Music: From Beaujoyeulx to Rameau. Revised and expanded edition. Portland (Oregon): Amadeus Press, 1997.
  • Hitchcock, H.W. Les Œuvres de Marc-Antoine Charpentier: Catalogue Raisonné. Paris: Picard, 1982.
  • Thomas, Downing A. Aesthetics of Opera in the Ancien Régime, 1647–1785. Cambridge (UK): Cambridge University Press, 2002.
  • Tunley, David. The Eighteenth-Century French Cantata. 2nd edition. Oxford (UK): Clarendon Press Oxford University Press, 1997.

อ้างอิง แก้

  1. For this representation, see François Filiatrault, "Un menuet de Charpentier sur un almanach royal," and Patricia M. Ranum, "Un portrait présumé de Marc-Antoine Charpentier," both in Catherine Cessac, ed., Marc-Antoine Charpentier, un musicien retrouvé (Sprimont: Mardaga, 2005), pp. 8–23
  2. "His Birth Year". Ranumspanat.com. สืบค้นเมื่อ 2014-08-14.
  3. For his family, see Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier (Baltimore, 2004) pp. 517–23
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-03. สืบค้นเมื่อ 2015-10-01.
  5. Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 525–33; and Jean Lionnet, "Charpentier à Rome, in Catherine Cessac, ed., Marc-Antoine Charpentier, un musicien retrouvé (Sprimont: Mardaga, 2005), pp. 74–84
  6. Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 533ff; Patricia M. Ranum, "Le mécénat musical de Mademoiselle de Guise (1670–1688), in Yvonne Bellenger, ed., Le Mécénat et l'influence des Guises (Paris: Champion, 1997), pp. 613–38; Patricia M. Ranum, "Mademoiselle de Guise, ou les défis de la quenouille," XVIIe Siècle (1984), pp. 221–32
  7. Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 377–78, 426–54, 536–80
  8. Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 401-403
  9. Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 190–201, 552ff.
  10. Patricia M. Ranum, "A Sweet Servitude: A Musician's life at the Court of Mlle de Guise", Early Music, 15 (1987), pp. 346–60; and Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 190–201
  11. Patricia M. Ranum, "Un 'foyer d'italianisme' chez les Guises: Quelques réflexions sur les oratorios de Charpentier," in Catherine Cessac, ed., Marc-Antoine Charpentier, un musicien retrouvé (Sprimont: Mardaga, 2005), pp. 85-109
  12. Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 419–25, 574–80; Patricia M. Ranum, "Lully Plays Deaf: Rereading the evidence on his privilege," in John Hajdu Heyer, ed., Lully Studies (Cambridge: Cambridge University Press, 2000), pp. 15–31
  13. "New Portrait". Ranumspanat.com. สืบค้นเมื่อ 2014-08-14.
  14. Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 141–49, 170–76, 177–88, 546–48; John S. Powell, "Les conditions de représentation au théâtre Guénégud et à la Comédie-Française d'après les Mélanges," in Catherine Cessac, ed., Les manuscrits autographes de Marc-Antoine Charpentier (Wavre: Mardaga, 2007), pp. 271–86
  15. Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 300–317
  16. Érik Kocevar, "L'orgue du collège Louis-le-Grand ... à la lumière d'un marché d'orgues inédit," Recherches, 31 (2004-2007), pp. 165–180
  17. Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 227–40; Patricia M. Ranum, "Marc-Antoine Charpentier compositeur pour les Jésuites (1687–1698)," in Catherine Cessac, ed., Marc-Antoine Charpentier, un musicien retrouvé (Sprimont: Mardaga, 2005) pp. 231–46
  18. Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp.324–27
  19. Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 241–50
  20. Patricia M. Ranum, Vers une chronologie des Œuvres de Marc-Antoine Charpentier (Baltimore, 1994); Patricia M. Ranum, Portraits around Marc-Antoine Charpentier, pp. 81–88; Patricia M. Ranum, "Meslanges, Mélanges, Cabinet, Recueil, Ouvrages: L'entrée des manuscrits de Marc-Antoine Charpentier à la Bibliothèque du roi," in Catherine Cessac, ed., Marc-Antoine Charpentier, un musicien retrouvé (Sprimont: Mardaga, 2005), pp. 141–54.
  21. "A newly identified autograph tre". Ranumspanat.com. 2013-05-09. สืบค้นเมื่อ 2014-08-14.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้