มาตรฐานดาว (อังกฤษ: essential dignity) หมายถึง ความมีกำลังหรือความอ่อนแอของดาวเคราะห์ในแต่ละราศีซึ่งใช้ในการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ มาตรฐานดาวที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีได้แก่ เกษตร (domicile) ปรเกษตร (detriment) อุจจ์ (exaltation) และ นีจจ์ (fall)[ม 1] นอกจากนี้อาจจะมีอุจจาวิลาส อุจจาภิมุข ราชาโชค เทวีโชค มหาจักร จุลจักร จตุสดัย ฯลฯ ตามแต่จะได้กำหนดไว้ในตำรา

ในวิชาโหราศาสตร์ไทย นอกจากดาวเคราะห์สามารถเสวยราศีได้แล้ว ยังสามารถเสวยนวางค์ ตรียางค์ ได้อีกด้วย

ความรู้เบื้องต้น แก้

โหราศาสตร์ไทยนิยมเขียนแผนที่ดาวเป็นรูปดวงราศีจักร มี 12 ช่อง ดังรูปด้านขวา โดยกำหนดให้ช่องบนสุดเป็นราศีเมษ จากนั้นจึงนับเวียนทวนเข็มนาฬิกา แต่ละช่องให้เป็นราศีพฤษภ, เมถุน, กรกฎ,... เรื่อยไปจนถึงราศีมีน ช่องแรกกำหนดให้ใช้สัญลักษณ์คือเลข ๐ (เลขศูนย์ไทย) ช่องถัด ๆ ไปก็ใช้เลข ๑, ๒, ๓,... ไปเรื่อย ๆ จนถึง ๑๑

ดวงราศีจักรแบบไทย

แต่ละช่องของดวงด้านบนแทนราศีหนึ่งราศี ซึ่งจะมีการเขียนสัญลักษณ์แทนดาวเคราะห์แต่ละดวงเป็นเลขไทยลงไป นอกจากนี้จะมีการคำนวณลัคนา เมื่อลัคนาสถิตราศีใดแล้วก็ให้เขียนสัญลักษณ์ ล, ส หรือ ลั ลงไป สัญลักษณ์ที่ใช้แทนดาวเคราะห์มีดังนี้

สัญลักษณ์ ดาวเคราะห์ สัญลักษณ์ ดาวเคราะห์
ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์
ดวงจันทร์ ดาวเสาร์
ดาวอังคาร จุดราหู
ดาวพุธ จุดเกตุ
ดาวพฤหัสบดี ดาวมฤตยู (ดาวยูเรนัส)

มาตรฐานดาวประจำราศี แก้

โหราศาสตร์ไทยและโหราศาสตร์สากล มีมาตรฐานดาวร่วมกันอยู่สี่ชนิด ได้แก่ เกษตร ปรเกษตร อุจจ์ และนีจจ์ ส่วนอุจจาวิลาส อุจจาภิมุข ราชาโชค เทวีโชค และมาตรฐานที่เหลือมีใช้เฉพาะในโหราศาสตร์ไทยเท่านั้น

เกษตร แก้

เกษตรเป็นมาตรฐานดาวชนิดให้คุณ เกิดจาการจัดดาวเคราะห์เสวยในจักรราศี โดยยึดให้ดวงจันทร์เสวยราศีกรกฎ ในขณะที่ดวงอาทิตย์เสวยราศีสิงห์ จากนั้นจึงจัดดาวพระเคราะห์จากวงในออกไปหาวงนอกเรียงกันตามแต่ละราศีไปทางด้านขวาของวงจักรราศี ได้แก่ พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ ราหู เสร็จแล้ว จะได้เป็นดาวเกษตรเจ้าราศี หากดาวใดได้ตำแหน่งเกษตร ก็ชื่อว่ามีความหนักแน่นมั่นคงขึ้นกว่าปกติและสามารถให้คุณได้เต็มกำลัง อนึ่งบางตำราจะเขียนแทนดาวราหูในราศีกุมภ์ด้วยดาวเสาร์

ปรเกษตร แก้

ปรเกษตร หรือ ประ เป็นมาตรฐานดาวชนิดให้โทษหรือให้คุณไม่เต็มที่ เกิดจากการสลับตำแหน่งของดาวในดวงเกษตรไปอยู่ฝั่งตรงข้าม

ดาวเกษตร
ดาวปรเกษตร

อุจจ์ แก้

อุจจ์ แปลว่า สูง เป็นมาตรฐานดาวประเภทให้คุณ กำหนดว่า ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ เสวยราศีพฤษภ ราศีเมษ และราศีมีน, ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคาร เสวยราศีกรกฎและมกร ส่วนดาวพุธ ดาวเสาร์ และดาวราหู เสวยราศีกันย์ ตุล และพิจิกตามลำดับ เมื่อดาวเคราะห์ในดวงชะตาใดได้ตำแหน่งดังกล่าว และผ่านคุณสมบัติที่เหมาะสมก็จะให้คุณแก่เจ้าของดวงชะตา

นีจจ์ แก้

นีจจ์ หรือ นีจ แปลว่า ต่ำ เป็นมาตรฐานดาวประเภทให้โทษ กำหนดขึ้นจากการสลับตำแหน่งของดาวอุจจ์ไปยังตำแหน่งตรงกันข้ามให้หมด

ดาวอุจจ์
ดาวนีจจ์

มาตรฐานดาวทางโหราศาสตร์ตะวันตก แก้

มาตรฐานดาวที่มีใช้ในโหราศาสตร์ตะวันตกมีความคล้ายคลึงกับที่มีใช้ในทางโหราศาสตร์ไทย จะผิดกันก็แต่ไม่มีดาวราหูเท่านั้น

ราศี เกษตร ปรเกษตร อุจจ์ นีจจ์
ราศีเมษ ดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดวงอาทิตย์ ดาวเสาร์
ราศีพฤษภ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดวงจันทร์ ไม่มี
ราศีเมถุน ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ไม่มี ไม่มี
ราศีกรกฎ ดวงจันทร์ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคาร
ราศีสิงห์ ดวงอาทิตย์ ดาวเสาร์ ไม่มี ไม่มี
ราศีกันย์ ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวพุธ ดาวศุกร์
ราศีตุล ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์
ราศีพิจิก ดาวอังคาร ดาวศุกร์ ไม่มี ดวงจันทร์
ราศีธนู ดาวพฤหัสบดี ดาวพุธ ไม่มี ไม่มี
ราศีมกร ดาวเสาร์ ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี
ราศีกุมภ์ ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ ไม่มี ไม่มี
ราศีมีน ดาวพฤหัสบดี ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวพุธ

นอกจากตำแหน่งตามราศีแล้ว โหราศาสตร์ตะวันตกยังได้กำหนดองศาของดาวเคราะห์ซึ่งจะได้ตำแหน่งเกษตร ดังนี้

หมายเหตุ แก้

  1. นิยมเรียกว่า นิจ หรือ นิจจ์

อ้างอิง แก้

  • สิงห์โต สุริยาอารักษ์. โหราศาสตร์ไทย เรียนรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ, ม.ป.ป.
  • วิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร), หลวง. คัมภีร์โหราศาสตร์ไทยมาตรฐานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: บริษัท อินเตอร์พริ้นท์ (ประเทศไทย), 2540
  • William Lilly, Christian Astrology, Book 1: An Introduction to Astrology; 1647. 2nd ed., 1659. Facsimile of 1647 edition by Ascella Publications, ed. D. Houlding, London, 1999.