มัสยิดบางหลวง (บ้างเรียก กุฎีโต๊ะหยี, กุฎีขาว) เป็นมัสยิดทรงไทย ตั้งอยู่บริเวณชุมชนริมคลองบางหลวง แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (คาดว่าราวปี พ.ศ. 2328) โดยโต๊ะหยี พ่อค้าแขกที่เดินทางมายังประเทศไทย ตัวมัสยิดมีความโดดเด่นกว่ามัสยิดทั่ว ๆ ไป ด้วยการก่ออิฐถือปูนขาวทั้งหลัง แล้วทาสีไม้ด้วยสีเขียว แทนที่การออกแบบอาคารเป็นโดมตามหลักสากล รวมไปถึงการตกแต่งภายในด้วยศิลปะ 3 ชาติ คือ แบบไทย จีน และยุโรป ซึ่งถือเป็นมัสยิดทรงไทยแห่งเดียวในโลกอีกด้วย[3]

มัสยิดบางหลวง
Bangluang Mosque
ด้านหลังมัสยิดบางหลวง
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมไทย
เมือง151 ซอยอรุณอมรินทร์ 7 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
ประเทศไทย ประเทศไทย
เริ่มสร้างไม่ทราบแน่ชัด (คาดว่าราว พ.ศ. 2328)
ผู้สร้างโต๊ะหยี

บริเวณด้านหน้ามัสยิดบางหลวง เป็นสุสาน เยื่องมาทางด้านขวาเมื่อมองหันหน้าเข้าสู่มัสยิด เป็นศาลาทรงไทย ที่ในอดีตโต๊ะพิมพ์เสน ได้ขอซื้อพระตำหนักวังเก่ามาทำเป็นศาลา ใช้เป็นศาลาเลี้ยงและเก็บวัสดุต่าง ๆ ของมัสยิด[1] ปัจจุบันมัสยิดแห่งนี้ได้จัดเป็น "อันซีนกรุงเทพ" แห่งหนึ่ง เนื่องจากไม่มีถนนใหญ่ตัดเข้าไปด้านใน การเดินทางจึงต้องเดินเท้าผ่านทางซอยแคบริมคลองของชุมชน

สถานที่ตั้งของมัสยิด อยู่ซอยมัสยิดบางหลวง ถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ มีรถโดยสารสาย 19, 56,57 ผ่าน โดยลงที่ป้าย สน. บุปผาราม แล้วเดินเข้าไปประมาณ 200 เมตร[4]

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′17″N 100°29′22″E / 13.738048°N 100.489355°E / 13.738048; 100.489355