มัตสึกาตะ มาซาโยชิ

เจ้า มัตสึกาตะ มาซาโยชิ (ญี่ปุ่น: 松方 正義โรมาจิMatsukata Masayoshi) เป็นนักการเมืองและรัฐบุรุษชาวญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 และเป็นหนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติของญี่ปุ่น

มัตสึกาตะ มาซาโยชิ
松方 正義
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน 1896 – 12 มกราคม 1898
กษัตริย์จักรพรรดิเมจิ
ก่อนหน้าคูโรดะ คิโยตากะ (รักษาการ)
ถัดไปอิโต ฮิโรบูมิ
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม 1891 – 8 สิงหาคม 1892
กษัตริย์จักรพรรดิเมจิ
ก่อนหน้ายามางาตะ อาริโตโมะ
ถัดไปอิโต ฮิโรบูมิ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1835(1835-02-25)
คาโงชิมะ, แคว้นซัตสึมะ ญี่ปุ่น
เสียชีวิต2 กรกฎาคม ค.ศ. 1924(1924-07-02) (89 ปี)
โตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น
ศาสนาชินโต

เกิดในครอบครัวซามูไรในเมืองคาโงชิมะ แคว้นซัตสึมะ เมื่ออายุได้ 13 ปีก็เข้าศึกษาในโรงเรียนขงจื๊อ โซชิกัง และได้รับการบ่มเพาะความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิ และเริ่มเข้ารับราชการในแคว้นซัตสึมะ จนกระทั่งใน ค.ศ. 1866 เขาก็ถูกส่งไปยังนางาซากิเพื่อศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และศาสตร์ตะวันตก มัตสึกาตะได้รับการนับถือจอย่างสูงจากโอกูโบะ โทชิมิจิ และไซโง ทากาโมริ ซึ่งใช้งานเขาเป็นผู้ประสานงานระหว่างนครหลวงเกียวโตกับรัฐบาลแคว้นในคาโงชิมะ

เมื่อทราบว่าสงครามระหว่างแคว้นซัตสึมะกับฝ่ายรัฐบาลโชกุนในโตเกียวกำลังจะปะทุ มัตสึกาตะก็ซื้อเรือที่พอจะหาได้ในนางาซากิเพื่อเตรียมรับมือกับสงคราม เรือลำนี้ถูกตั้งชื่อว่า คาซูงะ อย่างไรก็ตาม เหล่าผู้นำแคว้นต่างเชื่อว่าเป็นเรือขนส่งที่ดีที่สุด ดังนั้นมัตสึกาตะจึงยอมยกเรือลำนี้ให้แคว้นไป หลังจากนั้นไม่กี่เดือน คาซูงะก็ถูกประจำการเป็นเรือปืนและเข้าต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลโชกุนในสงครามโบชิง หลังจากการฟื้นฟูพระราชอำนาจและการล่มสลายของรัฐบาลโชกุน เขาก็อยู่ช่วยว่าการความเรียบร้อยในนางาซากิ และในปี ค.ศ. 1868 เขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดฮิตะ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโออิตะ) ในขณะที่โอกูโบะ สหายของเขาก็ได้เป็นใหญ่เป็นโตในรัฐบาลใหม่ที่ตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทย

ในปี ค.ศ. 1871 มัตสึกาตะย้ายมาที่โตเกียว และทำงานด้านการร่างกฎหมายและการปฏิรูปภาษีที่ดิน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1880 เขาก็ได้เป็นรัฐมนตรีมาตุภูมิ สองปีต่อมาก็ได้เป็นรัฐมนตรีคลัง และในตำแหน่งนี้เองที่เขาได้จัดตั้งธนาคารแห่งญี่ปุ่นขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1891 เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจากจอมพลยามางาตะ อาริโตโมะ

อ้างอิง แก้