มังรายกะยอฉะวาที่ 2 แห่งอังวะ

มังรายกะยอฉะวาที่ 2 แห่งอังวะ (พม่า: မင်းရဲကျော်စွာ, ออกเสียง: [mɪ́ɰ̃.jɛ́ t͡ɕɔ̀.zwà]; 2110 – ปลายธันวาคม 2142) หรือ เมงเยจอสวา ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง แห่ง พม่า ระหว่าง พ.ศ. 2136 ถึง 2142 และดำรงตำแหน่ง พระเจ้าอังวะ ระหว่าง พ.ศ. 2130 ถึง 2136 ในช่วง 6 ปีสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพพระองค์เป็นรัชทายาทของพระราชบิดา พระเจ้านันทบุเรง สุดท้ายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2142 พระองค์ทรยศพระราชบิดาและแปรพักตร์ไปเข้ากับตองอู พระเจ้าเมงเยสีหตู เจ้าเมืองตองอู กับพระเจ้าเมงราชาคยี เจ้าเมืองยะไข่ ทรงให้สัญญาว่า ถ้าหากเมงเยจอสวามาเข้าด้วย ร่วมกันโค่นล้มพระเจ้านันทบุเรง จะตั้งพระองค์เป็นกษัตริย์องค์ถัดไป แต่ในที่สุดพระองค์ก็ถูกนะฉิ่นเหน่าง์ พระราชบุตรของเมงเยสีหตู ลอบวางยาพิษสังหารพระองค์ ในอีกไม่กี่วันต่อมา

มังรายกะยอฉะวา
မင်းရဲကျော်စွ
ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงของพม่า
ครองราชย์29 ธันวาคม พ.ศ. 2136 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2142
ก่อนหน้ามังกะยอชวา
ต่อไปพระเจ้าอโนเพตลุน
พระเจ้าอังวะ (ประเทศราช)
ครองราชย์5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2130 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2136
ก่อนหน้าพระเจ้าเมงเลตยา
ถัดไปพญายอทา และ แล๊ตแหว่คยีเมี่ยนมู
ประสูติ16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2110
วันอาทิตย์ แรม 1 ค่ำ เดือนนะดอ 929 ME
หงสาวดี, อาณาจักรตองอู
สวรรคตปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2142 (32 พรรษา)
เดือนปยาโต 961 ME
ตองอู
ราชวงศ์ตองอู
พระราชบิดาพระเจ้านันทบุเรง
พระราชมารดาหงสาวดีมิบะยา
ศาสนาพุทธเถรวาท

ต้นพระชนม์ แก้

มังรายกะยอฉะวา ประสูติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2110 ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง เป็นพระราชบุตรองค์ที่ 2 ของพระมหาอุปราชนันทบุเรง กับพระนางหงสาวดีมิบะยา ทรงเจริญพระชันษา อยู่ในพระราชวังกัมโพชธานี วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2124 พระเจ้าบุเรงนอง เสด็จสวรรคต พระเจ้านันทบุเรง ขึ้นเถลิงราชสมบัติ เป็นพระเจ้ากรุงหงสาวดี ตั้งมังกะยอชวา เป็นพระมหาอุปราชา มังรายกะยอฉะวา มีพระยศเป็นพระอุปราช แต่ทรงมิได้เคยออกศึกสงครามเลย ไม่ว่าจะเป็นศึกเมืองคัง ศึกเมืองอังวะ หรือแม้กระทั่งศึกสงครามกับกรุงศรีอยุธยา

พระเจ้าอังวะในฐานะประเทศราช แก้

เส้นทางการขึ้นครองราชย์ แก้

ในเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2129 พระเจ้าเมงเลตยา เจ้าเมืองอังวะ พระราชบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ สิ้นพระชนม์ลง ซึ่งทรงปกครองได้เพียง 2 ปี หลังจากพระเจ้านันทบุเรงปราบปรามพระเจ้าตะโดเมงสอ พระเจ้านันทบุเรง จึงทรงแต่งตั้งมังรายกะยอฉะวา เป็นพระเจ้าอังวะ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2130 พระเจ้านันทบุเรง ทรงส่งแม่ทัพและขุนนาง 10 คน ไปช่วยราชการ นำโดยพญายอทา เป็นอัครมหามนตรี และ แล๊ตแหว่คยีเมี่ยนมู เป็นอัครมหาเสนาบดี

แต่เมื่อพระเจ้ามังรายกะยอฉะวา ขึ้นครองราชย์ ซึ่งขณะนั้น มีพระชนมายุ 19 พรรษา ไม่ได้รับการยอมรับจากขุนนางเดิมของเมืองอังวะ เนื่องด้วยขุนนางเหล่านี้ ร่วมรบกับพระเจ้าตะโดเมงสอมาช้านาน ไม่ว่าพระเจ้านันทบุเรงจะส่งพระเจ้าเมงเลตยา พระราชบุตรของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ หรือ พระเจ้ามังรายกะยอฉะวาก็ตาม ก็มิได้เป็นที่ยอมรับ แล้วเกิดการจลาจลในรัฐฉาน และเมืองมณีปุระ ความวุ่นวายเหล่านี้ทำให้พระเจ้ามังรายกะยอฉะวา ต้องเผชิญปัญหาหนักหน่วง และเป็นสาเหตุให้อังวะไม่ได้ส่งกำลังไปช่วยรบกับอยุธยา

ขณะการครองราชย์ แก้

พระเจ้ามังรายกะยอฉะวา ต้องประสบปัญหามากมาย ในฐานะกษัตริย์หนุ่ม พระองค์มิได้ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านการศึกสงคราม ในช่วงกันยายน พ.ศ. 2130 รัฐฉานยกมาตีเมืองอังวะ พระเจ้าอังวะ มิอาจจัดทัพหรือหายุทธศาสตร์ในการรับมือกับข้าศึกได้ พระเจ้านันทบุเรง ต้องทรงส่งกองทัพ 4,000 ขึ้นไปช่วยรักษาเมืองอังวะ

ในปี พ.ศ. 2133 เกิดกบฏโมกองขึ้น พระเจ้าอังวะต้องนำทัพ 10,000 ไปช่วยปราบกบฏ พร้อมด้วยพระเจ้าแปรตะโดธรรมราชาที่ 3 และนัดจินหน่อง แต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ไม่ได้ออกรบด้วย พระเจ้าแปร ผู้เป็นพระอนุชานั้น เก่งกาจในการศึกกว่าพระเชษฐาหลายเท่านัก พระองค์นั้นต้องการแสดงให้เหล่าแม่ทัพนายกองเห็นว่า พระองค์มิได้ด้อยไปกว่าพระอนุชา จึงทรงบัญชาทัพอังวะ มีไพร่พล 8,000 ม้า 600 ช้าง 60 เข้าไปรบกับพวกโมกอง หลังการปิดล้อมนานกว่า 7 เดือน ก็สามารถตีเมืองหลวงของโมกองแตก พระองค์ทรงเป็นผู้กุมตัวพระเจ้าโมกองและประหารชีวิตพระองค์และเหล่ากบฎ และเสด็จกลับถึงหงสาวดีในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2134 แต่ไม่มีการฉลองชัยชนะ เพราะทัพฝ่ายพระมหาอุปราชาพ่ายศึกกลับมาจากอยุธยา

พระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดี แก้

หลังจากการสวรรคตของพระมหาอุปราชามังกะยอชวา ในสงครามยุทธหัตถี พระเจ้านันทบุเรงทรงแต่งตั้ง มังรายกะยอฉะวา เป็นพระมหาอุปราชาพระองค์ใหม่ ในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2136 ส่วนเมืองอังวะ ให้พญายอทา กับ แล๊ตแหว่คยีเมี่ยนมู รักษาเมืองอังวะ มีไพร่พลประจำอยู่รักษาเมือง 3,000 นาย ส่วนเมืองหงสาวดีนั้น ขาดไพร่พลเป็นกำลังรักษาเมือง ผู้คนหนีไปบวชเป็นพระเพื่อหนีการเกณฑ์ทหาร พระมหาอุปราชวังหน้าพระองค์ใหม่ ต้องไปเกณฑ์ไพร่พลตามหัวเมืองมอญต่างๆ แม้แต่พระภิกษุก็ทรงให้จับสึกมาเป็นทหาร แม้ไพร่พลจากหัวเมืองมอญก็มิเพียงพอจะรักษาเมือง จึงให้ขึ้นไปเกณฑ์ไพร่พลตามหัวเมืองฝ่ายเหนือ แต่ก็ต้องปะทะกับพระเจ้าแปรที่มาเกณฑ์ไพร่พลตามหัวเมืองของตนเช่นกัน พระเจ้านันทบุเรงทรงให้พระเจ้าแปรส่งไพร่พลที่เกณฑ์ได้พร้อมด้วยศัตราวุธมาให้กับทัพหงสาวดี พระเจ้าแปรยอมส่งไพร่พลให้ แต่ก็ทรงไม่พอพระทัยพระราชบิดาอย่างมาก กรุงหงสาวดี ตอนนี้ ปราศจากอำนาจและพันธมิตร พ.ศ. 2142 ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะยกทัพมาถึงหงสาวดี พระเจ้าเมงเยสีหตู เจ้าเมืองตองอู กับพระเจ้าเมงราชาคยี เจ้าเมืองยะไข่ เข้ามาล้อมกรุงหงสาวดี เมงเยสีหตูยื่นข้อเสนอให้กับมังรายกะยอฉะวา ว่าถ้าหากร่วมกันล้มพระเจ้านันทบุเรง พระองค์จะให้มังรายกะยอฉะวา อภิเษกสมรสกับ พระนางขิ่นชเวนัน พระธิดาของเมงเยสีหตู และตั้งพระองค์เป็นกษัตริย์แห่งพุกามประะเทศองค์ถัดไป มังรายกะยอฉะวาทรงตอบรับข้อเสนอ และหนีไปเข้ากับเมงเยสีหตู พระองค์ทรงได้ไปพำนักยังเมืองตองอู พร้อมเสนาบดีคนสนิทอีก 30 คน พระเจ้านันทบุเรง เมื่อทรงทราบว่าพระมหาอุปราชา ทรงทิ้งพระองค์ไปเข้ากับตองอู พระองค์จึงทรงยอมจำนนต่อตองอู ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2142

สวรรคต แก้

เมื่อทรงเสด็จไปอยู่ตองอู นัดจินหน่อง พระมหาอุปราชแห่งตองอู ทรงมิชอบพอพระทัยกับพระเจ้านันทบุเรง เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงทรงวางแผนสังหารมังรายกะยอฉะวา โดยมิได้สนพระทัยคำสัตย์สัญญาของพระราชบิดา พระองค์ได้ลอบวางยาพิษ ในพระกระยาหารของมังรายกะยอฉะวา พระองค์สวรรคตในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2142 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 32 พรรษา