มัคคุเทศก์ หรือไกด์ เป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ ข้อมูล ความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ร่วมสมัยต่างๆแก่บุคคลที่อยู่ในกลุ่มท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเอกเทศ หรือนักท่องเที่ยวในกรณีทัศนศึกษาที่สถานีทางศาสนาหรือประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจอื่นๆ[1] มัคคุเทศก์ส่วนใหญ่จะได้รับการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้องก่อนเข้าทำงาน ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศและภูมิภาค

ตามสมาคมมาตรฐานยุโรป คำจำกัดความของคำว่า "มัคคุเทศก์" คือ:

บุคคลที่นำพาซึ่งผู้เยี่ยมชมในภาษาที่ผู้เยี่ยมชมเลือกและอธิบายซึ่งวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติของพื้นที่นั้นๆ โดยบุคคลนั้นมักมีหนังสือรับรองคุณวัฒิที่ออกให้โดยหรือยอมรับโดยทางการ[ต้องการอ้างอิง]

การรองรับคุณวุฒิการนำเที่ยวถือเป็นสิ่งจำเพาะของแต่ละประเทศและในแต่ละเหตุการณ์ ในบางกรณี การรับรองนี้อยู่ในระดับประเทศ ในบางกรณี อยู่ในระดับภูมิภาค ในทุกกรณี การนำเที่ยวมักขึ้นอยู่กับหลักจริยธรรมและศีลธรรมในการศึกษาและการฝึกงานของประเทศนั้นๆ ศิลปะการนำเที่ยวถือเป็นงานฝีมือ ต้องมีความสามารถในการรับรู้และเลือกบอกข้อมูลให้แต่ละกลุ่มผู้ฟัง ความสามารถในการส่งต่อข้อมูลโดยใช้วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมา ความสามารถที่จะให้ผู้มาเที่ยวเห็นและรับรู้ด้วยตัวเองในเวลาเดียวกัน

ประเภทของมัคคุเทศก์ไทย แก้

มัคคุเทศก์ทั่วไป แก้

มัคคุเทศก์ทั่วไป บัตรสีบรอนซ์เงิน

มัคคุเทศก์เฉพาะภูมิภาค แก้

เฉพาะภูมิภาค ภาคกลาง บัตรสีเหลือง
เฉพาะภูมิภาค ภาคเหนือ บัตรสีเขียว
เฉพาะภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บัตรสีส้ม
เฉพาะภูมิภาค ภาคใต้ บัตรสีฟ้า

มัคคุเทศก์ท้องถิ่น แก้

มัคคุเทศก์ท้องถิ่น บัตรสีน้ำตาล

อ้างอิง แก้

ข้อควรรู้ แก้

"มัคคุเทศก์" เป็นการผสมคำซึ่งเป็นสมาสของคำว่า "มรรค" หรือ "มคค" (ทาง) กับคำว่า "อุทเทสก" (ผู้ชี้แจง) โดยสรุปได้เป็นคำจำกัดความว่า มัคคุเทศก์

แหล่งข้อมูลอื่น แก้