มหาวิทยาลัยเคโอ

มหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

มหาวิทยาลัยเคโอ (ญี่ปุ่น: 慶應義塾大学โรมาจิKeiō Gijuku Daigaku; อังกฤษ: Keio University) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2401 เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับที่ 1 ของประเทศญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น[4] ตั้งอยู่ที่ใจกลางกรุงโตเกียว มีอายุครบ 150 ปี ใน พ.ศ. 2551

มหาวิทยาลัยเคโอ
慶應義塾大学
คติพจน์ละติน: Calamus gladio fortior
คติพจน์อังกฤษ
ปากกาแข็งแกร่งกว่าดาบ
ประเภทสถาบันวิจัยอุดมศึกษาสหศึกษาเอกชน
สถาปนา1858
ผู้สถาปนายูกิจิ ฟูคูซาวะ
สังกัดวิชาการASAIHL, CoBS, Washington University in St. Louis
McDonnell International Scholars Academy,[1] CEMS – The Global Alliance in Management Education
ทุนทรัพย์N/A
อธิการบดีศ. อากิระ ฮาเซยามะ
อาจารย์2,604 (เต็มเวลา)[2]
เจ้าหน้าที่2,722[2]
ผู้ศึกษา33,825[3]
ปริญญาตรี28,931[3]
บัณฑิตศึกษา4,894[3]
1,234[3][note 1]
ผู้ศึกษาอื่น
789[2]
ที่ตั้ง,
โตเกียว
,
ญี่ปุ่น
วิทยาเขตเมือง
การกีฬา39 ทีมตัวแทน
สีน้ำเงิน   และ   แดง
ฉายายูนิคอร์น ฯลฯ
เว็บไซต์www.keio.ac.jp (ภาษาอังกฤษ)

ในปี พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยเคโอได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 11 ในโลกโดยนิตยสาร École des Mines de Paris ของประเทศฝรั่งเศส[5][6] มหาวิทยาลัยเคโอยังได้มีส่วนร่วมกับ เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม[7]

ในปี พ.ศ. 2552 วารสาร 4ICU ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเคโอมีคะแนนเป็นอันดับ 14 ของโลก หนังสือพิมพ์นิเคอิและนิตยสารโยมิอูริได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเคโอเป็นอันดับ 1 ในประเทศญี่ปุ่น คณะแพทย์ศาสตร์ของเคโอได้มีการแลกเปลี่ยนงานวิจัยกับสถาบันแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา มาอย่างยาวนาน[8]

ประวัติ แก้

มหาวิทยาลัยเคโอก่อตั้งโดยฟูกูซาวา ยูกิชิ (ญี่ปุ่น: 福澤 諭吉โรมาจิFukuzawa Yukichi) ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิทยาการสมัยใหม่ของญี่ปุ่น แม้จนถึงปัจจุบันนี้ ยูกิจิ ฟูกูซาวะก็ยังคงมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อประเทศญี่ปุ่น โดยปรากฏอยู่บนธนบัตรค่ามากที่สุด (หนึ่งหมื่นเยน) ของญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน เคโอได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเงินกองทุน (Endowment) สูงที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง แก้

มหาวิทยาลัยเคโอ เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสถาบันบ่มเพาะนักการเมืองและนักบริหารชั้นนำในประเทศมายาวนาน[9] เป็นที่รวมของนักคิด นักบริหารระดับประเทศ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยล้วนแล้วแต่ก้าวขึ้นไปมีบทบาทสำคัญ ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง และธุรกิจของญี่ปุ่น

อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นหลายคน ได้แก่ จุงอิจิโร โคอิซูมิ (ญี่ปุ่น: 小泉 純一郎โรมาจิKo'izumi Jun'ichirō) ริวตาโร ฮาชิโมโตะ (ญี่ปุ่น: 橋本 龍太郎โรมาจิHashimoto Ryutarō) และสึโยชิ อินูไก (ญี่ปุ่น: 犬養 毅โรมาจิInukai Tsuyoshi) ก็สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคโอ นอกจากนั้น รัฐมนตรีในรัฐบาลญี่ปุ่นจำนวนมากก็สำเร็จการศึกษาจากเคโอ

มหาวิทยาลัยเคโอได้ผลิตผู้นำบริษัทเอกชน (CEO) ในบริษัทยักษ์ใหญ่ถึง 230 คน ซึ่งมากกว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่งในญี่ปุ่น (พ.ศ. 2548)[10] เช่น ผู้บริหารสูงสุดคนปัจจุบันของบริษัทมอแกนสแตนลี่แห่งญี่ปุ่น เคนสูเคะ โฮททา ผู้บริหารสูงสุดของโตชิบ้า ทัยโซ นิชิมูโรว เจ้าของหนังสือพิมพ์อาซาฮิ และเจ้าของหนังสือพิพม์โยมิอูริ ก็สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคโอ

ศิษย์เก่าที่ทำคุณประโยชน์แก่ชาวไทย ได้รับการยอมรับมากมีหลายท่าน อาทิ ดร.ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เริงชัย มะระกานนท์ ในส่วนของตำแหน่งทางด้านการเมือง เช่น สมหมาย ฮุนตระกูล รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของประเทศไทย (เจ้าของฉายาขุนคลังซามูไร ผู้เปรียบเสมือนขุนศึกทางการเงิน ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์) ก็สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคโอเช่นเดียวกัน

มหาวิทยาลัยเคโอ เป็นมหาวิทยาลัยรู้จักแพร่หลายในมิติของคนญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นทุกคนจะรู้จักมหาวิทยาลัยนี้เป็นอย่างดี แม้แต่ในการ์ตูนของญี่ปุ่นหลาย ๆ เรื่อง ก็อ้างอิงเคโอ ในแง่ของในด้านวิชาการที่แข็ง และด้านฐานะที่ร่ำรวยของเด็กนักเรียน[11]

มหาวิทยาลัยเคโอ ยังอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ Tokyo 6 Universities Alliance ซึ่งเทียบเคียงได้กับกลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีกในประเทศสหรัฐอเมริกา

อันดับมหาวิทยาลัย แก้

เคโอได้รับการยอมอย่างกว้างขวางว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ

École des Mines de Paris (พ.ศ. 2550) ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเคโอให้อยู่ในอันดับ 11 ของมหาวิทยาลัยทั่วโลก[12][13]

4ICU (พ.ศ. 2552) ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเคโออยู่ในอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น[14] ในขณะเดียวกัน Webometrics (พ.ศ. 2551) ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเคโอให้เป็นอันดับ 3 ในญี่ปุ่น[15]

โรงเรียนบริหารธุรกิจเคโอ (Keio Business School) ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น โดยหนังสือพิมพ์นิเคอิ และตลอดระยะเวลา 30 ปี Keio graduatesก็ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นที่ 1 ในประเทศเช่นกัน[16] ในปี พ.ศ. 2549 นิตยสารโยมิอูริได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเคโอเป็นอันดับ 1 ในญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน

ในปี พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยเคโอได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 4 ในโลกโดยนิตยสาร École des Mines de Paris ของประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2552 วารสาร 4ICU ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเคโอมีคะแนนเป็นอันดับ 14 ของโลก สื่อมวลชนบางแห่งได้เปรียบเทียบเคโอเป็นฮาร์วาร์ดของประเทศญี่ปุ่น[17]

อ้างอิง แก้

  1. "McDonnell International Scholars Academy". Washington University in St. Louis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
  2. 2.0 2.1 2.2 "教職員数" [Number of faculty and staff] (ภาษาญี่ปุ่น). มีนาคม 1, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 13, 2016. สืบค้นเมื่อ มกราคม 19, 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Degree Student Head Count: May 2011" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Keio University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ October 10, 2011.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-31. สืบค้นเมื่อ 2008-12-28.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19. สืบค้นเมื่อ 2010-01-11.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2010-07-06.
  7. Keio University joins the MIT Laboratory for Computer Science and INRIA in Hosting the International World Wide Web Consortium
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2009-06-12.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-24. สืบค้นเมื่อ 2006-02-24.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-30. สืบค้นเมื่อ 2009-06-13.
  11. [1]
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19. สืบค้นเมื่อ 2010-01-11.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2010-07-06.
  14. http://www.4icu.org/jp/
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-04. สืบค้นเมื่อ 2008-12-15.
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-30. สืบค้นเมื่อ 2009-06-13.
  17. http://www.glocom.org/debates/20070827_dolan_harvard/index.html

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


35°38′57″N 139°44′34″E / 35.64917°N 139.74278°E / 35.64917; 139.74278
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน