โวลาปุก (อักษรโรมัน: Volapük, ภาษาอังกฤษออกเสียง /ˈvɒləpʊk/;[2] ภาษาโวลาปุกออกเสียง [volaˈpyk]; "ภาษาโลก") เป็นภาษาประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1879 ถึง 1880 โดยโยฮัน มาร์ทีน ชไลเออร์ นักบวชโรมันคาทอลิกที่บาเดิน ประเทศเยอรมนี ผู้เชื่อว่าพระเจ้าตรัสแก่เขาในฝันว่าให้สร้างภาษาสากล ภาษานี้เป็นที่รู้จักจากการเป็นภาษาประดิษฐ์ช่วยสื่อสารนานาชาติหลักภาษาแรก โดยมีไวยากรณ์จากภาษาในทวีปยุโรป และคำศัพท์ส่วนใหญ่จากภาษาอังกฤษ (และบางส่วนจากภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน)

ภาษาโวลาปุก
Volapük, Volapük nulik
โลโก้ขบวนการโวลาปุก (ระยะที่ 2)
สร้างโดยโยฮัน มาร์ทีน ชไลเออร์
วันที่ค.ศ. 1879–1880
การจัดตั้งและการใช้นานาชาติ: ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป
ผู้ใช้20 คน  (2000)[1]
จุดประสงค์
ระบบการเขียนละติน
ที่มาคำศัพท์จากภาษาอังกฤษ, เยอรมัน และฝรั่งเศส
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบKadäm Volapüka
รหัสภาษา
ISO 639-1vo
ISO 639-2vol
ISO 639-3vol
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ธงภาษาโวลาปุกอย่างไม่เป็นทางการ

มีการจัดการประชุมภาษาโวลาปุกใน ค.ศ. 1884 (ฟรีดริชส์ฮาเฟิน), ค.ศ. 1887 (มิวนิก) และ ค.ศ. 1889 (ปารีส) การประชุมสองครั้งแรกใช้ภาษาเยอรมัน ส่วนการประชุมครั้งสุดท้ายใช้เฉพาะภาษาโวลาปุก ใน ค.ศ. 1889 มีคลับภาษาโวลาปุกประมาณ 283 คลับ, สิ่งพิมพ์รายคาบเกี่ยวกับหรือในภาษาโวลาปุก 25 เล่ม และตำราภาษาโวลาปุกมากถึง 316 เล่ม เขียนอยู่ใน 25 ภาษา[3] มีการอ้างว่าในเวลานั้นมีผู้เรียนรู้ภาษานี้เกือบล้านคน[4] อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาโวลาปุกถูกแทนที่ด้วยภาษาเอสเปรันโตไปโดยมาก[5]

อักขรวิธีและการอ่านออกเสียง แก้

 
ชไลเออร์นำเสนอรูปอักษรอีกแบบที่มีสระอุมเลาต์ แต่แทบไม่ค่อยใช้งาน

ภาษาโวลาปุกใช้ตัวอักษรละติน ประกอบด้วยตัวอักษร 27 ตัว ซึ่งมีรูปทั้งตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก โดย 24 ตัวเหมือนตัวอักษรในภาษาอังกฤษ โดยไม่มีรูป Q และ W และบนตัวอักษรบางตัวมีเครื่องหมายพิเศษ ตัวอักษรทั้งหมดมีดังนี้:[6][7][8]

อักษร สัทอักษรสากล
a a~ɑ
ä (ꞛ) ɛ~æ
b b
c ~
d d
e e
f f
อักษร สัทอักษรสากล
g ɡ
h h
i i
j ʃ~ʒ
k k
l l
m m
อักษร สัทอักษรสากล
n n
o o~ɔ
ö (ꞝ) ø~œ
p p
(r) r
s s~z
t t
อักษร สัทอักษรสากล
u u
ü (ꞟ) y
v v
x ks
y j
z ts~dz

เสียงของตัวอักษร ä , ö, ü เป็นเสียงแบบเดียวกับในภาษาเยอรมัน เช่น C ออกเสียงคล้ายกับตัว ช , J ออกเสียงคล้ายกับตัว จ, s ออกเสียงเป็น [z] เมื่อตามหลังพยัญชนะมีเสียง เช่น bs, ds, gs, ls เหมือนกับในภาษาอังกฤษ

หมายเหตุ: ตัวอักษร ä, ö และ ü ไม่มีรูปแทนที่แบบ ae, oe และ ue เหมือนกับในภาษาเยอรมัน แต่ชไลเออร์เสนอให้ใช้รูป , และ แทน โดยตัวอักษรเหล่านี้ได้รับการบรรจุในรหัสยูนิโคดเวอร์ชัน 7.0 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557:[9]

  • U+A79A latin capital letter volapuk ae
  • U+A79B latin small letter volapuk ae
  • U+A79C latin capital letter volapuk oe
  • U+A79D latin small letter volapuk oe
  • U+A79E latin capital letter volapuk ue
  • U+A79F latin small letter volapuk ue

อักษรพิเศษ แก้

อัลเฟรด เอ. ผู้ประพันธ์ Comprehensive Volapük Grammar ได้เพิ่มเติมพยัญชนะของเสียงที่ปรากฏไม่บ่อยนักโดยชไลเออร์:

ดังที่ปรากฏในภาพ;–

 

อักษรส่วนใหญ่ได้รับการบรรจุลงในยูนิโคดแล้ว:

  • U+00E5 å latin small letter a with ring above (U+00C5 Å latin capital letter a with ring above)
  • U+0127 ħ latin small letter h with stroke (U+0126 Ħ latin capital letter h with stroke)
  • U+0302 ̂ combining circumflex accent (สำหรับ และ )
  • U+1D87 latin small letter n with palatal hook
  • U+0237 ȷ latin small letter dotless j
  • U+0283 ʃ latin small letter esh (U+01A9 Ʃ latin capital letter esh)

ตัวอักษร r แก้

โวลาปุกเวอร์ชันของชไลเออร์หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษร r เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นเสียงที่อ่านยากสำหรับชาวจีน ดังนั้นรากคำที่มีตัวอักษร r จะถูกเปลี่ยนไปเป็นตัวอักษร l เช่นคำว่า rose ในภาษาอังกฤษถูกเปลี่ยนเป็น lose อย่างไรก็ตาม หน่วยเสียงที่อ่านออกเสียงยากอื่นๆ ยังคงมีอยู่ เช่น ö [ø] และ ü [y] อารี เดอ ยอง เพิ่มตัวอักษร r เข้ามาภายหลัง

วงศัพท์ แก้

ชไลเออร์พัฒนาวงศัพท์โวลาปุกส่วนใหญ่มาจากภาษาอังกฤษ ผสมกับฝรั่งเศสและเยอรมันอีกเล็กน้อย ผู้พูดหนึ่งในภาษาเหล่านี้สามารถรู้ที่มาของคำบางคำได้ แต่คำบางคำถูกปรับมากจนไม่สามารถเทียบได้ง่าย[10] เช่น คำว่า vol กับ pük มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า world และ speak ถึงแม้ว่าจะไม่มีความสำคัญทางภาษาศาสตร์ โดยไม่คำนึงถึงความเรียบง่ายและความสอดคล้องตามกฎการเน้นเสียง การเปลี่ยนรูปเหล่านี้มักได้รับการดูถูกเยาะเย้ยอย่างมากจากผู้กล่าวว่าภาษา (language's detractors) อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าความตั้งใจในการเปลี่ยนรูปคำยืมของชไลเออร์นั้นมีมากจนเทียบกันได้ยาก ทำให้คำเหล่านั้นสูญเสียความเชื่อมโยงกับภาษา (และชาติ) ต้นกำเนิด ในทางตรงกันข้าม ภาษาเอสเปรันโตและอินเตร์ลิงกวาได้รับคำวิจารณ์ว่าเป็นภาษาที่เรียนรู้ได้ง่ายสำหรับชาวยุโรปมากกว่าผู้ที่ภาษาแม่ไม่ใช่ภาษาในยุโรป[11]

ไวยากรณ์ แก้

ไวยากรณ์ภาษาโวลาปุกมีพื้นฐานมาจากภาษาในยุโรปทั่วๆ ไป

คำนาม แก้

คำนามเปลี่ยนแปลงตามจำนวนและตำแหน่ง แต่จะไม่เปลี่ยนตามเพศ

นี่คือคำนามรูปต่างๆ ของคำว่า vol ที่แปลว่าโลก

รูป เอกพจน์ พหูพจน์
ประธาน vol vols
คำขยาย vola volas
กรรมรอง vole voles
กรรมตรง voli volis

คำนามในภาษาโวลาปุกมีสี่รูปเหมือนกับในภาษาเยอรมัน

คำคุณศัพท์ แก้

คำคุณศัพท์สร้างโดยการเติมวิภัตติ -ik โดยทั่วไปตามหลังคำนามที่ขยาย

คำสรรพนาม แก้

คำสรรพนามจะขึ้นต้นด้วย o-

การใช้เป็นคำนามทั่วไป แก้

คำว่าโวลาปุกยังสามารถแปลว่า ไร้สาระ หรือ เหลวไหล ในหลายๆ ภาษา เช่น สำนวน Det er det rene volapyk for mig (ฉันคิดว่ามันโวลาปุกสุดๆ เลย) ในภาษาดัตช์ คำว่า volapukaĵo ในภาษาเอสเปรันโตยังเป็นคำแสลงหมายถึงสิ่งไร้สาระได้ด้วย สำนวน Tio estas volapukaĵo al mi บางครั้งก็ใช้เหมือนสำนวนอังกฤษที่ว่า "it's Greek to me" (ฉันไม่เข้าใจมันเลย)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Pük, Memory: Why I Learned a Universal Language No One Speaks" by Paul LaFarge. The Village Voice, August 2000.
  2. OED
  3. Handbook of Volapük เก็บถาวร 2016-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Charles E. Sprague (1888)
  4. A History of the English Language, 5th ed. Albert C. Baugh and Thomas Cable. Ch. I English Present and Future; Prentice Hall, Upper Saddle River (2002)
  5. The Loom of Language F. Bodmer and L. Hogben (eds.) Ch. XI Pioneers of Language Planning; Allen & Unwin Ltd, London (1944)
  6. Sprague (1888)
  7. "A Quick Look at Volapük". Volapük.com. Volapük.com. สืบค้นเมื่อ 2015-11-12.
  8. Ager, Simon. "Volapük alphabet". Omniglot. Kualo. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.
  9. "Latin Extended-D Range: A720–A7FF" (PDF). Unicode.org. June 2014. สืบค้นเมื่อ 4 May 2015.
  10. "For example, while it is true that words like vol and pük don't really look like world and speak, but the whole language is not like that. Scores of words are very obvious as what they mean – if, fasilik, gudik/badik, smalik, jerik (pronounced sherík – expensive), bank, bäk (back), deadik". – "What the L!", AUXLANG list posting by Thomas Alexander, 15 November 2005.
  11. Fiedler, Sabine (2015). "The topic of planned languages (Esperanto) in the current literature". Language Problems and Language Planning. 39 (1): 84–104. doi:10.1075/lplp.39.1.05fie.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แม่แบบ:OldWikisource