ภาษาเวลส์ (อังกฤษ: Welsh; เวลส์: Cymraeg, [kəmˈraːiɡ] ( ฟังเสียง) หรือ y Gymraeg, [ə ɡəmˈraːiɡ]) เป็นภาษาเคลต์ในกลุ่มย่อยบริตันที่พูดโดยชาวเวลส์ ภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ในประเทศเวลส์ ประเทศอังกฤษบางพื้นที่ และใน Y Wladfa (นิคมเวลส์ในจังหวัดชูบุต ประเทศอาร์เจนตินา)[7]

ภาษาเวลส์
Cymraeg, y Gymraeg
ออกเสียง[kəmˈraːiɡ]
ภูมิภาคสหราชอาณาจักร (ประเทศเวลส์, ประเทศอังกฤษ), ประเทศอาร์เจนตินา (จังหวัดชูบุต)
ชาติพันธุ์ชาวเวลส์
จำนวนผู้พูด
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการประเทศเวลส์
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในประเทศอาร์เจนตินา (จังหวัดชูบุต)
ผู้วางระเบียบ
รหัสภาษา
ISO 639-1cy
ISO 639-2wel (B)
cym (T)
ISO 639-3cym
Linguasphere50-ABA
ประชากรที่พูดภาษาเวลส์ในประเทศเวลส์ตามสำมะโน ค.ศ. 2021
แผนที่ชุดภาษาใกล้สูญของโลก (2010) ของยูเนสโกจัดให้ภาษาเวลส์เป็นภาษาที่มีความเสี่ยง[6]
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
วิดีโอผู้พูดภาษาเวลส์

ในอดีตมีหลายชื่อในภาษาอังกฤษ ได้แก่ "บริเตน" (British)[8] "Cambrian"[9] "Cambric"[10] และ "Cymric".[11]

ปัจจุบันภาษาเวลส์เป็นภาษาที่อยู่ระหว่างการถูกฟื้นฟู หลังจากที่เสื่อมโทรมมาหลายศตวรรษเพราะการปกครองของอังกฤษ โดยเฉพาะหลังจากการผ่าน พรบ. Laws in Wales Act ในปี ค.ศ. 1535 เพื่อผนวกเวลส์เข้ามาเป็นแผ่นดินเดียวและอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกันกับอังกฤษ การฟื้นฟูความคิดชาตินิยมในเวลส์ระหว่างศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะการจัดตั้งพรรคชาตินิยมเวลส์ หรือ ไพลด์คัมรี (Plaid Cymru) ในปี ค.ศ. 1925 และสมาคมภาษาเวลส์ในปี 1962 ได้กระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูภาษาเวลส์ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี ค.ศ. 1993 รัฐสภาของสหราชอาณาจักรผ่าน Welsh Language Act 1993 เพื่อรับรองว่าภาษาเวลส์จะได้รับการปฏิบัติเทียบเท่ากับภาษาอังกฤษในภาครัฐอย่างพอสมควรแก่เหตุ และเท่าที่จะเป็นไปได้

แม้ตามสถิติอย่างเป็นทางการจะมีผู้ที่รู้ภาษาเวลส์ราว 7 แสนคนทั่วสหราชอาณาจักร หรือประมาณร้อยละ 19 ของของประชากรเวลส์ แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาภาษาเวลส์จากหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับในโรงเรียน แต่ไม่ใช่ประชากรที่พูดเวลส์เป็นภาษาแม่ หรือสามารถใช้ภาษาเวลส์ในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว ทำให้แม้ว่าภาษาเวลส์จะมีสถานะเป็นภาษาทางการ (de jure) แต่ภาษาอังกฤษก็ยังคงถูกพูดและใช้อย่างแพร่หลายทั้งในทางการศึกษา ทางเศรษฐกิจ กฎหมาย ทางสังคมและวัฒนธรรม[12]

ตัวอย่าง แก้

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1:


Genir pawb yn rhydd ac yn gydradd â'i gilydd mewn urddas a hawliau. Fe'u cynysgaeddir â rheswm a chydwybod, a dylai pawb ymddwyn y naill at y llall mewn ysbryd cymodlon. [13]

มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ[14]

อ้างอิง แก้

  1. Hywel Jones. "Estimation of the number of Welsh speakers in England" (PDF). calls.ac.uk.
  2. Devine, Darren (2013-03-30). "Patagonia's Welsh settlement was 'cultural colonialism' says academic". Wales Online. Cardiff: Trinity Mirror. สืบค้นเมื่อ 6 May 2017. Now, though 50,000 Patagonians are thought to be of Welsh descent, the number of Welsh speakers is believed to be between only 1,500 and 5,000.
  3. "Wales and Patagonia". Wales.com – The official gateway to Wales. Welsh Government. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2016. Today the province of Chubut, where most Welsh immigrants settled, has a population of 550,000 people. Of these, some 50,000 can claim Welsh ancestry and 5,000 speak the Welsh language.
  4. "Population of immigrant mother tongue families, showing main languages comprising each family, Canada, 2011". Statistics Canada. สืบค้นเมื่อ 21 August 2017.
  5. "Cultural diversity: Census 2021". Australian Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 8 October 2023.
  6. "Atlas of the world's languages in danger". UNESCO Digital Library. p. 183. สืบค้นเมื่อ 2023-03-02.
  7. Edwards, Huw. "Why do they speak Welsh in South America?". BBC iWonder. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2017.
  8. E.g. in the Act of Uniformity 1662 (13–14 Chas. II, c. 55) §27: "That the Book [of Common Prayer] hereunto annexed be truly and exactly translated into the British or Welsh tongue."
  9. Nolan, Edward Henry (1859). Great Britain As It Is. London: John Lane & Co. p. 47. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2018.
  10. Jackson, John (1752). Chronological Antiquities. Vol. III. London: J Noon. p. 143.
  11. Walter Thomas, Mrs D; Hughes, Edward (1879), The Cymric Language, Cardiff: D Duncan & Sons
  12. "National Assembly for Wales (Official Languages) Act 2012". www.legislation.gov.uk. The National Archives. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2018. The official languages of the Assembly are English and Welsh.
  13. "OHCHR | Universal Declaration of Human Rights - Welsh (Cymraeg)". OHCHR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-14.
  14. "Universal Declaration of Human Rights". United Nations.

ข้อมูล แก้

  • J.W. Aitchison; H. Carter (2000). Language, Economy and Society. The changing fortunes of the Welsh Language in the Twentieth Century. Cardiff. University of Wales Press.
  • J.W. Aitchison; H. Carter (2004). Spreading the Word. The Welsh Language 2001. Y Lolfa.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Bell, Elise; Archangeli, Diana B.; Anderson, Skye J.; Hammond, Michael; Webb-Davies, Peredur; Brooks, Heddwen (2021). "Northern Welsh". Illustrations of the IPA. Journal of the International Phonetic Association: 1–24. doi:10.1017/S0025100321000165, with supplementary sound recordings.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้