ภาษาเคิร์ดเหนือ

ภาษากุรมันจี (เคิร์ด: کورمانجی, Kurmancî, แปลตรงตัว'เคิร์ด')[5][6][7][8] หรือ ภาษาเคิร์ดเหนือ[1][9][10] เป็นภาษาย่อยทางเหนือ[13]ของภาษาเคิร์ด ที่มีผู้พูดส่วนใหญ้ในตุรกีตะวันออกเฉียงใต้ อิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงเหนือ อิรักตอนเหนือ ซีเรียตอนเหนือ และคอเคซัสกับภูมิภาคโฆรอซอน[14]

ภาษาเคิร์ดเหนือ
กุรมันจี
کورمانجی, Kurmancî
ภูมิภาคเคอร์ดิสถาน และชนพลัดถิ่นเคิร์ด[1]
จำนวนผู้พูด15.7 ล้านคน  (2019)[2]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
Botani (Boti)
Marashi
Ashiti
Bayezidi
Hekari
Shemdinani
Badini
Shikaki
Silivi
Mihemedi[1]
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน อาร์มีเนีย[1]
รหัสภาษา
ISO 639-1ku
ISO 639-3kmr
Linguasphere58-AAA-a
การกระจายทางภูมิศาสตร์ของภาษาเคิร์ดที่พูดโดยชาวเคิร์ด

หลักฐานแรกสุดของภาษาเคิร์ดกุรมันจีสืบได้ถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 และนักกวีชาวเคิร์ดคนสำคัญหลายคนอย่าง Ehmedê Xanî (1650–1707) เขียนในภาษาย่อยนี้[15][7] ภาษานี้ยังเป็นภาษาทั่วไปและภาษาเชิงพิธีของชาวยาซีดี[16] โดยคัมภีร์ Mishefa Reş และบทสวดทั้งหมดเขียนและอ่านในภาษากุรมันจี[17]

ประวัติของชื่อภาษา แก้

ทฤษฎีหลักเกี่ยวกับที่มาของคำ Kurmanji เชื่อว่ามาจากเจ้าชาย Jaladet Bedirkhan นักปราชญ์ชาวเคิร์ดผู้คิดค้นการเขียนภาษาเคิร์ดด้วยอักษรละตินโดยมาจาก Kurd+man+cî หมายถึงชาวเคิร์ดผู้อยู่ในดินแดนของตนเอง ในช่วงแรกๆจะเพิ่มตัว "d" เป็น Kurdmanji แต่ในยุคหลังตัว d หายไป

อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่า Kurmanji หมายถึงชาวเคิร์ดในเมเดีย โดยตัวสะกดเดิมคือ Khormenj ในประวัติศาสตร์ ชาวเคิร์ดอยู่ในดินแดนที่ภาษากรีกเรียกว่า Armenia และภาษากรีก Armen อาจจะกลายเป็นศัพท์ Khormen ส่วนชื่อในภาษาอาร์มีเนียคือ Haiq

นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า คำว่า Kurmanji มาจากคำ 2 คำคือ kur (เด็กชาย) และ magi ซึ่งเป็นชื่อเผ่าโบราณในจักรวรรดิเมเดีย ซึ่งมีกล่าวอ้างถึงในไบเบิล คำเต็มคือ Kurên Magî ซึ่งหมายถึงเด็กแห่งมาคี นักวิชาการกลุ่มนี้เชื่อว่าเผ่ามาคีคือผู้พูดภาษาเคิร์ดดั้งเดิม[18]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Ethnologue - Kurmanji Kurdish". สืบค้นเมื่อ 3 February 2018.
  2. "Turkey - languages". สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
  3. "Social Contract - Sa-Nes". Self-Administration of North & East Syria Representation in Benelux. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2018. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
  4. "Rojava could be a model for all Syria". Salih Muslim. Nationalita. 29 July 2014. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
  5. Captain R. E. Jardine (1922). Bahdinan Kurmanji - A grammar of the Kurmanji of the Kurds of Mosul division and surrounding districts of Kurdistan. Baghdad: Government Press. p. ii.
  6. Ayfer Gokalp (August 2015). "Language and Literacy Practices of Kurdish Children Across Their Home and School Spaces in Turkey" (PDF). Arizona State University: 146. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-30. สืบค้นเมื่อ 19 March 2019. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. 7.0 7.1 Paul, Ludwig (2008). "Kurdish language I. History of the Kurdish language". ใน Yarshater, Ehsan (บ.ก.). Encyclopædia Iranica. London and New York: Routledge. สืบค้นเมื่อ 28 August 2013.
  8. Georg Krotkoff (1997). Humanism, Culture, and Language in the Near East. p. 299.
  9. "Ethnologue - Kurdish". สืบค้นเมื่อ 19 March 2019.
  10. E. S. Soane (1909). Notes on Kurdish Dialects. p. 906. ISBN 9788120617506. สืบค้นเมื่อ 22 March 2019.
  11. Thackston, W. M. "—Kurmanji Kurdish— A Reference Grammar with Selected Readings" (PDF). Harvard University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2023-01-08.
  12. Ehsan Yar-Shater. "Encyclopaedia Iranica". Encyclopaedia Iranica. University of California. 3 (5–8): 485.
  13. บางแหล่งระบุเป็นภาษา[11] หรือกลุ่มภาษาย่อย[12]
  14. Philip G. Kreyenbroek, Stefan Sperl (2005). The Kurds : a Contemporary Overview. Routledge. ISBN 1134907656.
  15. Sebastian Maisel (2018). The Kurds: An Encyclopedia of Life, Culture, and Society. pp. 164–165.
  16. "Yazidis i. General". สืบค้นเมื่อ 19 March 2019.
  17. Arakelova, Victoria (2001). "Healing Practices among the Yezidi Sheikhs of Armenia". Asian Folklore Studies. 60 (2): 319–328. doi:10.2307/1179060. JSTOR 1179060. As for their language, the Yezidis themselves, in an attempt to avoid being identified with Kurds, call it Ezdiki.
  18. Who Were the Magi?

แหล่งข้อมูลอื่น แก้