อินเตร์ลิงกวา

(เปลี่ยนทางจาก ภาษาอินเทอร์ลิงกวา)

อินเตร์ลิงกวา (Interlingua; รหัสภาษา ISO 639: ia, ina) เป็นภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติที่พัฒนาในช่วง ค.ศ. 1937 ถึง 1951 โดยองค์การภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ ซึ่งจัดให้เป็นหนึ่งในภาษาที่มีการใช้งานมากที่สุดในบรรดาภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติทั้งหมด[2] ศัพท์ ไวยากรณ์ และคุณสมบัติในภาษานี้มาจากภาษาธรรมชาติมากกว่าภาษาที่มีการวางแผน วรรณกรรมอินเตร์ลิงกวายังคงทำให้ผู้พูดภาษากลุ่มโรมานซ์ร้อยล้านคนสามารถเข้าใจได้[3] ถึงแม้ว่าจะมีผู้พูดจริงเพียงไม่กี่ร้อยคนก็ตาม[1]

อินเตร์ลิงกวา
interlingua
โลโก
ออกเสียง/inteɾˈliŋɡwa/
สร้างโดยองค์การภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ
วันที่ค.ศ. 1951
การจัดตั้งและการใช้ศัพท์สากลทางวิทยาศาสตร์; ภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ
ผู้ใช้ภาษาเขียน 1,500 คน  (2000)[1]
จุดประสงค์
ระบบการเขียนอักษรละติน
ที่มาต้นตอภาษา: อังกฤษ, ฝรั่งเศส, อิตาลี, โปรตุเกส และสเปน พร้อมกับอ้างอิงจากภาษาควบคุมอื่น ๆ (โดยหลักคือเยอรมันและรัสเซีย)
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบไม่มี
รหัสภาษา
ISO 639-1ia
ISO 639-2ina
ISO 639-3ina
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

อินเตร์ลิงกวามีรูปแบบไวยากรณ์ส่วนใหญ่เรียบง่าย[4][5] ที่มีศัพท์ทั่วไปจากกลุ่มภาษายุโรปตะวันตก[6] ทำให้อย่างน้อยเป็นภาษาที่เรียนรู้ง่ายสำหรับผู้ที่ภาษาแม่เป็นภาษาต้นตอของศัพท์และไวยากรณ์อินเตร์ลิงกวา[7] ในทางตรงกันข้าม ภาษานี้ยังเป็นตัวช่วยแนะนำภาษาธรรมชาติได้อย่างรวดเร็วด้วย[2]

ชื่ออินเตร์ลิงกวามาจากศัพท์ภาษาละตินว่า inter หมายถึง "ระหว่าง" กับ lingua หมายถึง "ลิ้น" หรือ "ภาษา"

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Fiedler, Sabine (1999). "Phraseology in planned languages". Language Problems and Language Planning. John Benjamins Publishing Company. 23 (2): 175–187. doi:10.1075/lplp.23.2.05fie. ISSN 0272-2690. OCLC 67125214.
  2. 2.0 2.1 Gopsill, F. P. (1990). International languages: a matter for Interlingua. Sheffield, England: British Interlingua Society. ISBN 0-9511695-6-4. OCLC 27813762.
  3. Yeager, Leland B. (1991). "Le linguistica como reclamo pro Interlingua" [Linguistics as an advertisement for Interlingua]. Interlinguistica e Interlingua: Discursos public. Beekbergen, Netherlands: Servicio de Libros UMI.
  4. See Gopsill, F. P. Interlingua: A course for beginners. Part 1. Sheffield, England: British Interlingua Society, 1987. Gopsill, here and elsewhere, characterizes Interlingua as having a simple grammar and no irregularities.
  5. The Interlingua Grammar suggests that Interlingua has a small number of irregularities. See Gode (1955).
  6. Gode, Alexander (1971). "Introduction". Interlingua-English: A dictionary of the international language (Revised ed.). New York: Continuum International Publishing Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-27.
  7. Breinstrup, Thomas, Preface, Interlingua course for beginners, Bilthoven, Netherlands: Union Mundial pro Interlingua, 2006.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้