ภาษามรู (Mru language) หรือภาษามารู ภาษามูรุง มีผู้พูดทั้งหมด 51,230 คน พบในบังกลาเทศ 30,000 คน (พ.ศ. 2550) ในตำบลบันดัรบัน พบในอินเดีย 1,230 คน (พ.ศ. 2524) ในรัฐเบงกอลตะวันตก พบในพม่า 20,000 คน (พ.ศ. 2542) ในรัฐยะไข่ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต กลุ่มภาษาทิเบต-พม่า สาขามรู รากศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาชีนสำเนียงมโร 13% เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม เขียนด้วยอักษรละติน เป็นภาษาที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นภาษาตาย [4]

ภาษามรู
Mrung
คำว่า โกว์ ("หมู่บ้าน") ในอักษรมรู[1]
ภูมิภาคบังกลาเทศ, พม่า, อินเดีย
ชาติพันธุ์ชาวมรู
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (50,000 คน อ้างถึง1999–2007)[2]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรมรู, อักษรละติน
รหัสภาษา
ISO 639-3mro
ชาวมรูอาศัยในบริเวณตอนล่างทางขวามือของแผนที่บังกลาเทศ

ภาษานี้เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มทิเบต-พม่าที่จัดจำแนกได้ยาก เป็นภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาพม่า ภาษาเมยเทยในอินเดีย และยังใกล้เคียงกับภาษาชีน[5] แม้ว่าจะเคยจัดจำแนกเป็นส่วนหนึ่งของภาษาชีน แต่ภาษามรูก็มีความใกล้ชิดกับกลุ่มภาษาพม่า-โลโลในระดับหนึ่ง [6] ทางยูเนสโกจัดให้ภาษานี้อยู่ในกลุ่มภาษาที่ "ใกล้สูญหายอย่างมาก"[7]

อ้างอิง แก้

  1. Hosken, Martin; Everson, Michael (24 March 2009). "N3589R: Proposal for encoding the Mro script in the SMP of the UCS" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2 August 2014.
  2. ภาษามรู ที่ Ethnologue (21st ed., 2018)  
  3. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Mruic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  4. UNESCO, "Bangladesh: Some endangered languages (information from Ethonologue, UNESCO)" เก็บถาวร 2012-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, June 2010.
  5. Encyclopædia Britannica, Article: Sino-Tibetan Languages
  6. Peiros, Ilia. 1997. "Lolo–Burmese linguistic archaeology." เก็บถาวร 2012-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Mon–Khmer Studies 27: 233-48. (Mon–Khmer Studies Journal website)
  7. Evans, Lisa (2011-04-15). "Endangered languages: the full list". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.

อ่านเพิ่ม แก้