ภาษาพรัช (ब्रज भाषा; Braj Bhasa) หรือพรัช ภาษา หรือภาษาไทหาอาตี เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันใกล้เคียงกับภาษาฮินดี โดยมากมักถือเป็นสำเนียงของภาษาฮินดี และมีวรรณคดีภาษาฮินดีเขียนด้วยภาษานี้เป็นจำนวนมากก่อนจะเปลี่ยนไปใช้บบภาษาขาริโพลีลลเป็นสำเนียงมาตรฐานหลังจากได้รับเอกราช

Braj Bhasa
ब्रज भाषा
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย
ภูมิภาครัฐอุตตรประเทศ
จำนวนผู้พูด42,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรเทวนาครี
รหัสภาษา
ISO 639-2bra
ISO 639-3bra

มีผู้พูดมากกว่า 42,000 คน ในบริเวณ พรัช ภูมีที่เคยเป็นรัฐในสมัยมหาภารตะ หลักฐานจากศาสนาฮินดูโบราณเช่น ภควัตคีตา อาณาจักรของกษัตริย์กัมส์อยู่ในบริเวณพรัช (รู้จักในชื่อวิรัชหรือวิราฏ) ซึ่งเป็นดินแดนที่พระกฤษณะเกิดและใช้ชีวิตวัยเด็กที่นั่น บริเวณดังกล่าวนี้อยู่ในบริเวณอังคระ-มถุรา ซึ่งขยายออกไปได้ไกลถึงเดลฮี ในอินเดียสมัยใหม่ ดินแดนนี้อยู่ทงตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐอุตตรประเทศ ตะวันออกสุดของรัฐราชสถาน และทางใต้สุดของรัฐหรยณะ ปัจจุบัน พรัช ภูมีเป็นที่รู้จักในนามเขตวัฒนธรรมมากว่ารัฐในอดีต ภาษาพรัชเป็นภาษาพื้นเมืองของบริเวณนี้และมีกวีที่มีชื่อเสียงมากมาย ใกล้เคียงกับภาษาอวธีที่ใช้พูดในบริเวณใกล้เคียงคือเขตอวัธมาก

วรรณคดี แก้

วรรณคดีส่วนใหญ่เป็นวรรณคดีศักดิ์สิทธิ์บอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า นอกจากนั้นเป็นงานเขียนในมุมมองของผู้หญิงที่แต่งโดยกวีผู้ชาย ตัวอย่างได้แก่ พุทธจริต แต่งโดย จรยา ราม จันทรา ศุขลา บทกวีซูฟี แต่งโดย อามีร์ ขุสโร และงานเขียนของภักติ