ภาพยนตร์อเมริกัน

ภาพยนตร์อเมริกัน (อังกฤษ: American movie หรือ อังกฤษ: cinema of the United States) หรือเรียกอีกชื่อว่า ภาพยนตร์ฮอลลีวูด (Hollywood) ถือว่าสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ มาตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 ด้วยสไตล์อันโดดเด่นของภาพยนตร์อเมริกันคือ ภาพยนตร์คลาสสิกฮอลลีวูด ที่พัฒนาขึ้นระหว่างปี 1917 ถึง 1960 และภาพยนตร์ที่สร้างเอกลักษณ์ก็สร้างขึ้นในยุคนี้ ขณะที่พี่น้องตระกูลลูมิแอร์จากฝรั่งเศส ได้รับเครดิตว่าเป็นผู้ให้กำเนิดภาพยนตร์สมัยใหม่[1] ภาพยนตร์อเมริกันสามารถสร้างความโดดเด่นได้อย่างรวดเร็ว และเป็นแรงผลักดันอย่างชัดเจนให้กับอุตสาหกรรมตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในสหรัฐสร้างรายได้ประจำปีได้สูงกว่าประเทศอื่น ๆ ได้สร้างภาพยนตร์จำนวนมาก มีภาพยนตร์ภาษาอังกฤษมากกว่า 800 เรื่อง ออกฉายในแต่ละปี[2] ขณะที่ภาพยนตร์ในอังกฤษมี 299 เรื่อง แคนาดา 206 เรื่อง และออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ก็ผลิตภาพยนตร์ในภาษาเดียวนี้ แต่ก็ไม่ถือว่าอยู่ในระบบภาพยนตร์ฮอลลีวูด ถึงกระนั้นภาพยนตร์ฮอลลีวูดก็ถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์สหชาติ[3] ภาพยนตร์คลาสสิกฮอลลีวูด ได้สร้างขึ้นเป็นหลายภาษา และใช้ชื่ออื่น โดยมากเป็นภาษาสเปนและฝรั่งเศส

ภาพยนตร์ฮอลลีวูดถือเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[4] และถือได้ว่าเป็นที่กำเนิดภาพยนตร์หลากหลายแนว ทั้งตลก รัก โลดโผน เพลง สยองขวัญ บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ และภาพยนตร์มหากาพย์

ในปี 1878 เอดเวิร์ด มายบริดจ์ ได้สาธิตอำนาจของภาพยนตร์เคลื่อนไหว ในปี 1894 ได้มีการจัดแสดงภาพยนตร์เพื่อการค้าครั้งแรกของโลกที่นครนิวยอร์ก โดยใช้วิธีคิเนโตสโคปของทอมัส เอดิสัน สหรัฐยังผลิตภาพยนตร์ผนวกเสียงเรื่องแรกของโลก เรื่อง The Jazz Singer ในปี 1927 ได้กลายเป็นบรรทัดฐานในการพัฒนาภาพยนตร์เสียงในทศวรรษต่อมา ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 อุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกันตั้งอยู่ในรัศมี 30 ไมล์บริเวณสตูดิโอของฮอลลีวูด ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ผู้กำกับ ดี. ดับเบิลยู. กริฟฟิท ถือเป็นผู้พัฒนาภาพยนตร์ ส่วนภาพยนตร์เรื่อง Citizen Kane (1941) มักได้รับคำอ้างจากนักวิจารณ์ว่าเป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุด[5]

สตูดิโอใหญ่ ๆ ในฮอลลีวูด ได้สร้างภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด และมียอดขายตั๋วหนังมากที่สุดในโลก อย่างเช่น เรื่อง The Birth of a Nation (1915), Gone with the Wind (1939), The Ten Commandments (1956), The Sound of Music (1965), The Exorcist (1973), Jaws (1975), Star Wars (1977), E.T. the Extra-Terrestrial (1982), Jurassic Park (1993), Titanic (1997), Gladiator (2000), The Dark Knight (2008), Avatar (2009), Marvel's The Avengers (2012), Star Wars: The Force Awakens (2015), Jurassic World (2015), Black Panther (2018) และ Avengers: Endgame (2019) ยิ่งไปกว่านั้นภาพยนตร์ฮอลลีวูดหลายเรื่องทำรายได้บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิศนอกสหรัฐมากกว่าเสียอีก ปัจจุบันสตูดิโอได้ผลิตภาพยนตร์หลายร้อยเรื่อยทุก ๆ ปี ทำให้สหรัฐเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่มีผลงานมากที่สุดในโลกและเป็นผู้นำด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว

อ้างอิง แก้

  1. "The Lumière Brothers, Pioneers of Cinema". History Channel. สืบค้นเมื่อ January 15, 2017.
  2. UIS. "UIS Statistics". data.uis.unesco.org.
  3. Hudson, Dale. Vampires, Race, and Transnational Hollywoods. Edinburgh University Press, 2017. Website เก็บถาวร 2019-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. The earliest documented account of an exhibition of projected motion pictures in the United States was in June 1894 in Richmond, Indiana by Charles Francis Jenkins
  5. Village Voice: 100 Best Films of the 20th century (2001) เก็บถาวร มีนาคม 31, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Filmsite.org; "Sight and Sound Top Ten Poll 2002". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2012.. BFI. Retrieved June 19, 2007.