ภาพยนตร์ศึกษา (อังกฤษ: Film studies) เป็นสาขาวิชาทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีภาพยนตร์ ประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ และวิธีวิพากษ์ภาพยนตร์ บางครั้งก็เป็นส่วนหนึ่งในสื่อมวลชนศึกษา (Media studies) และมักถูกเปรียบเทียบได้กับสาขาโทรทัศน์ศึกษา ภาพยนตร์ศึกษาจะไม่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญทางด้านการผลิตภาพยนตร์มากนัก แต่เน้นทางด้านการสำรวจการเล่าเรื่อง (narrative) เชิงศิลปะ วัฒนธรรม ทางด้านเศรษฐกิจ และผลกระทบทางการเมืองต่อวงการภาพยนตร์ [1] ในมุมมองของแสวงหาค่านิยมทางสังคมและอุดมการณ์ ภาพยนตร์ศึกษาจะใช้วิธีเชิงวิพากษ์สำหรับการวืเคราะห์การผลิต กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี บริบทและการสร้างภาพยนตร์ [2] ในแง่นี้ภาพยนตร์ศึกษามีอยู่ในสาขาที่ผู้สอนมักไม่เป็นนักการศึกษาหรืออาจารย์หลักเสมอไป แต่จะเป็นผลงานภาพยนตร์ที่สำคัญของบุคคลจะทำหน้าที่ดังกล่าว นอกจากนี้ในการศึกษาภาพยนตร์ สายอาชีพที่เป็นไปได้ ได้แก่ นักวิจารณ์หรือทางด้านการผลิตภาพยนตร์ ทฤษฎีภาพยนตร์มักจะรวมถึงการศึกษาความขัดแย้งระหว่างสุนทรียศาสตร์ของงานฮอลลีวูดเชิงภาพและการวิเคราะห์เนื้อหาบทภาพยนตร์ โดยรวมการศึกษาในด้านภาพยนตร์กำลังเติบโตเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ วารสารวิชาการที่เผยแพร่ผลงานภาพยนตร์ศึกษา ได้แก่วารสาร Sight & Sound (สถาบันภาพยนตร์อังกฤษ), Screen (มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด), Cinema Journal (มหาวิทยาลัยเท็กซัส), Film Quarterly (มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย) และ Journal of Film and Video (มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์)

ห้องฉายภาพยนตร์ ที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ วอชิงตัน ดี.ซี.

ประวัติและความเป็นมา แก้

ภาพยนตร์ศึกษาเป็นสาขาทางวิชาการที่ก่อกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 หลังจากการประดิษฐ์ภาพเคลื่อนไหว (ในปลายศตวรรษที่ 19)  ภาพยนตร์ศึกษามุงคิดค้นเฉพาะทาง คือ การสร้างทฤษฎีภาพยนตร์ ซึ่งเป็นวิธีการและแนวทางของภาพยนตร์ในมุมมองทางศิลปะ และการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ (film historiography)  เนื่องจากภาพยนตร์สมัยใหม่เพิ่งกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์และอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เท่านั้น ผู้ผลิตภาพยนตร์และผู้กำกับภาพยนตร์รุ้นก่อนหน้านี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการวิเคราะห์ทางวิชาการซึ่งเกิดขึ้นในรุ่นต่อ ๆ ไป

ในยุคแรก ๆ โรงเรียนภาพยนตร์มุ่งเน้นที่การผลิตและการวิจารณ์เชิงจิตวิสัยกับภาพยนตร์มากกว่าวิธีการเชิงวิพากษ์ ประวัติศาสตร์ และทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาเชิงวิชาการ ตั้งแต่ที่มีการสร้างภาพยนตร์ขึ้นมา แนวคิดของภาพยนตร์ศึกษาได้ขยายตัวไปในการวิเคราะห์แง่มุมที่เป็นทางการของภาพยนตร์ขณะที่มีการสร้างภาพยนตร์ไปด้วย สถาบันภาพยนตร์แห่งเกราสิมอฟ (Gerasimov Institute of Cinematography) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในมอสโกเมื่อปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในโลกที่ให้เน้นเรื่องภาพยนตร์ ในสหรัฐอเมริกาก็มีวิทยาลัยศิลปะภาพยนตร์ (School of Cinematic Arts, SCA) มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ. ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) เป็นสถานศึกษาทางด้านภาพยนตร์แห่งแรก ซึ่งสร้างขึ้นตามข้อตกลงกับสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences) ทั้งยังเป็นสถาบันแรกที่เปิดหลักสูตรสาขาวิชาทางภาพยนตร์ในปี พ. ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) แต่ก็ยังไม่มีความแตกต่างเฉพาะที่จะถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มคิดค้นและพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีหลักสูตรที่แบ่งแยกระหว่างวิธีการนามธรรมและหลักปฏิบัติในยุคแรกนี้  

สถาบันภาพยนตร์ Babelsberg ในประเทศเยอรมัน (เยอรมัน: Deutsche Filmakademie Babelsberg) ได้ก่อตั้งขึ้นในยุคไรช์ที่สามในปี พ. ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) อาจารย์ที่ให้การศึกษาในยุคนั้น ได้แก่ ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวออสเตรีย Willi Forst และนักแสดงชาวเยอรมัน Heinrich George ในการสำเร็จการศึกษาที่สถาบันนี้นักศึกษต้องสร้างภาพยนตร์ของตัวเอง

การเคลื่อนไหวออกจากการผลิตภาพยนตร์ที่ฮอลลีวูดในยุคทศวรรษที่ 50 เป็นการนำวงการภาพยนตร์ไปสู่ความเป็นอิสระทางศิลปะมากขึ้น เป็นการสร้างทฤษฎีผู้แต่ง (Auteur theory) ซึ่งยืนยันว่าภาพยนตร์นั้นเป็นวิสัยทัศน์และศิลปะของผู้กำกับภาพยนตร์  ทำให้เกิดการกระตุ้นให้มีภาพยนตร์ศึกษาและกลายเป็นเรื่องที่สนใจกันอย่างมากในทางวิชาการทั่วโลกในทศวรรษที่ 60 ในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) นักวิจารณ์ภาพยนตร์ โรบิน วูด มีงานเขียนเกี่ยวกับอัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก กล่าวว่า ภาพยนตร์ของฮิตช์ค็อกมีเนื้อหาของความซับซ้อนเหมือนกับบทละครของเช็คสเปียร์ [3]  ในทำนองเดียวกัน ฌอง-ลุค โกดาร์ด (Jean Luc Godard) นักเขียนบทความในนิตยสาร Cahiers du Cinema ในฝรั่งเศส เขียนไว้ว่า "เจอร์รี ลูวิส [นักแสดงตลก นักแสดง นักร้อง นักมนุษยธรรม ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน] ... เป็นคนเดียวในฮอลลีวูดที่ทำอะไรๆ ที่แตกต่าง คนเดียวที่ไม่ได้ตกอยู่ในประเภทใดที่ตั้งกันไว้ อยู่ในบรรทัดฐานใดๆ หลักการใดๆ ... ลูอิสเป็นคนเดียวในวันนี้ที่ทำภาพยนตร์อย่างกล้าหาญ [4]  เมื่อมีงบประมาณที่เหมาะสม มีจำนวนนักศึกษาลงทะเบียนที่แน่นอน และความสนใจในสาขามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหลายแห่งก็ได้สร้างบุคลากรที่มีความสามารถและเปิดโครงการหลักสูตรภาพยนตร์ศึกษาที่แตกต่างกันไป

ในความเป็นจริงไม่มีบุคคลใดคนหนึ่งที่สร้างหลักเกณฑ์สำหรับภาพยนตร์ศึกษา ชุมชนที่กำลังเติบโตในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และนักวิชาการได้เริ่มวิพากษ์ จัดทำเอกสารและวิเคราะห์ภาพยนตร์ต่างๆ จนในที่สุดก็ได้แนวทางที่สอดคล้องกับแนวคิดของภาพยนตร์ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในสายศิลปศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา  ด้วยความสำเร็จในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 บุคคลสำคัญในวงการภาพยนตร์กลายเป็นแหล่งทุนสำหรับคณะหรือสถาบันที่มุ่งเน้นทางด้านภาพยนตร์ เพื่อสร้างสถานที่เฉพาะสำหรับภาพยนตร์ศึกษาและพัฒนาโปรแกรมวิชาจนเป็นรูปเป็นร่าง ตัวอย่างเช่น จอร์จ ลูคัสได้บริจาคเงินจำนวน 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับวิทยาลัยศิลปะภาพยนตร์ (School of Cinematic Arts) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ. 2549 [5]

ภาพยนตร์ศึกษายุคใหม่ แก้

 ในปัจจุบัน ภาพยนตร์ศึกษามีอยู่ทั่วโลกเป็นสาขาวิชาหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ทุ่มเทให้กับสาขาเฉพาะทาง ภาพยนตร์ศึกษาได้เติบโตขึ้นในหลายด้านเพื่อครอบคลุมวิธีการจำนวนมากของการสอนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทางศิลปศาสตร์หลายแห่งมีหลักสูตรที่มุ่งเน้นเฉพาะการวิเคราะห์ภาพยนตร์ .[6] นอกจากนี้ ยังมีความหลากหลายของภาพยนตร์ศึกษามากขึ้น โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วสหรัฐอเมริกายังมีการสอนทฤษฎีภาพยนตร์ด้วย โปรแกรมการศึกษาหลายแห่งยังเชื่อมโยงภาพยนตร์ศึกษากับสาขาวิชาสื่อและโทรทัศน์ซึ่งนำความรู้ทุกส่วนจากการผลิตภาพเป้นแนวทาง  เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและเติบโตมากขึ้น เช่น ภาพยนตร์ 3 มิติ และ YouTube ภาพยนตร์จึงถูกนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมในการสอนในฐานะสื่อหลักเพื่อสะท้อนทางวัฒนธรรมและศิลปะทั่วโลก เนื่องจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของการศึกษาค้นคว้าในสาขาภาพยนตร์ศึกษา จึงได้มีการจัดหลักสูตรใหม่ ๆ หลากหลายสำหรับการวิเคราะห์ของวิธีวิพากษ์วิธีต่าง ๆ ที่ใช้กันในภาพยนตร์ [7]  แม้ว่าแต่ละสถาบันจะมีอำนาจในการสร้างเนื้อหาการศึกษา แต่ผู้เรียนมักจะคาดหวังว่าจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเชิงแนวคิดในภาพยนตร์ ความรู้ทางวรรณกรรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์รูปแบบและวัจนลีลาของภาพยนตร์ การรับรู้ทางความรู้สึกในมิติเชิงอุดมการณ์ของภาพยนตร์ และความตระหนักในเรื่องความหมายของการสื่อสาร และทิศทางที่เป็นไปได้ของภาพยนตร์ในอนาคต [8]

หลักสูตรโดยทั่วไป แก้

โดยทั่วไป หลักสูตรของโปรแกรมภาพยนตร์ศึกษาในระดับอุดมศึกษามักมีเนื้อหาวิชาเรียน ดังนี้ (แต่ไม่จำกัดเพียงเท่านี้)

  • แนะนำภาพยนตร์ศึกษา 
  • วิธีการของภาพยนตร์ศึกษา
  • การวิเคราะห์ภาพยนตร์
  • ประวัติภาพยนตร์และสื่อ
  • การวิเคราะห์โดยเน้นที่
  1. ความสนใจกับช่วงเวลา
  2. ความสนใจกับการสร้างระดับภูมิภาค
  3. ความสนใจกับประเภทของภาพยนตร์
  4. ความสนใจกับผู้สร้าง
  • วิธีและแบบแผนของการผลิตภาพยนตร์

หลักสูตรสาขาภาพยนตร์ศึกษามีวิชาเรียนให้เลือกหลากหลาย ทั้งยังมีวิชาเอกและวิชารองในสถาบันต่างๆ .[9][10][11]

ภาพยนตร์ศึกษาในสหรัฐอเมริกา แก้

ในสหรัฐอเมริกามหาวิทยาลัยมีการเปิดสอนหลักสูตรเฉพาะทาง เน้นที่ภาพยนตร์ศึกษา มีวิทยาลัยที่มุ่งมั่นกับโปรแกรมวิชาเอกหรือวิชารอง ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 144 แห่งทั่วประเทศี่มีหลักสูตรภาพยนตร์ศึกษาเป็นวิชาเอก คาดว่าจะมีการเติบโตมากขึ้นในแต่ละปีและมีความสนใจใหม่ๆ ในภาพยนตร์ศึกษา  สถาบันที่เสนอปริญญาภาพยนตร์ศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรศิลปะหรือการสื่อสารจะแตกต่างจากสถาบันที่มีโปรแกรมสาขาวิชาภาพยนตร์ศึกษาโดยเฉพาะ หลักสูตรนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น สามารถวิเคราะห์ภาพยนตร์ได้หลากหลายประเภท ในสหรัฐอเมริกาในการสำเร็จการศึกษาเพื่อปริญญาภาพยนตร์ศึกษา ผู้เรียนมักมีเป้าหมายเพื่อการประกอบอาชีพในการผลิตภาพยนตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำกับและผลิตภาพยนตร์ [12]  โดยทั่วไปการเรียนการสอนจะผสมผสานรูปแบบใหม่ๆ ชองสื่อด้วย เช่น โทรทัศน์และสื่อใหม่ [13] ผู้ที่ศึกษาภาพยนตร์ต้องการความสามารถทางด้านการวิเคราะห์ภาพยนตร์เป็นจำนวนมากที่เผยแพร่ในสหรัฐอเมริกาทุก ๆ ปี ในแง่มุมทางวิชาการมากขึ้น หรือเพื่อทำความเข้าใจประวัติความเป็นมาของวงการภาพยนตร์ในทางศิลปะ ภาพยนตร์สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของยุคได้ไม่เพียงแต่ในประเทศเท่านั้น แต่ทั่วโลก

ภาพยนตร์ศึกษาในประเทศต่างๆ  แก้

ภาพยนตร์ศึกษาทั่วโลกมีอยู่มากกว่า 20 ประเทศ เนื่องจากต้นทุนสูงของการผลิตภาพยนตร์ ประเทศในโลกที่สามจึงถูกทิ้งห่างจากการภาพยนตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษา แม้ว่าประเทศที่เจริญรุ่งเรืองกว่านี้จะมีความสามารถในการศึกษาภาพยนตร์ในทุกด้านของภาพยนตศึกษาร์ก็ตาม การบรรยายเกี่ยวกับภาพยนตร์สามารถพบได้ในสถาบันการศึกษาทั่วโลก และมักเป็นความสนใจระดับนานาชาติกับสุนทรียภาพของภาพยนตร์ที่เทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ตัวอย่างเข่น เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์เป็นงานที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก [14]  แม้ว่ากิจกรรมพวกนี้จะเป็นเรื่องของการประชาสัมพันธ์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และไม่ได้มีอยู่ภายในสถาบันการศึกษาก็ตาม การวิเคราะห์และวิธีวิพากษ์ภาพยนตร์ก็ถูกนำไปใช้ในเวทีนานาชาติ

ภาพยนตร์ศึกษาในประเทศไทย  แก้

บุคคลสำคัญในภาพยนตร์ศึกษา แก้

บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาทางด้านภาพยนตร์เป็นอาจารย์และผู้ผลิตภาพยนตร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 หมวดใหญ่ ได้แก่ บุคคลในการผลิตภาพยนตร์ และบุคคลในด้านการวิจารณ์ภาพยนตร์

การสร้างภาพยนตร์ แก้

การวิจารณ์ภาพยนตร์ แก้

  • André Bazin (ฝรั่งเศส)
  • Éric Rohmer (ฝรั่งเศส)
  • ฟร็องซัว ทรูว์โฟ (ฝรั่งเศส)
  • Andrew Sarris (สหรัฐอเมริกา)
  • David Bordwell (สหรัฐอเมริกา)
  • Christian Metz (ฝรั่งเศส)
  • Gene Shalit (สหรัฐอเมริกา)
  • James Agee (สหรัฐอเมริกา)
  • Jean-Luc Godard (ฝรั่งเศส-สวิส)
  • Leonard Maltin (สหรัฐอเมริกา)
  • Pauline Kael (สหรัฐอเมริกา)
  • Robin Wood (อังกฤษ)
  • Roger Ebert (สหรัฐอเมริกา)
  • Scott Buchanan (สหรัฐอเมริกา)
  • Walter Benjamin (เยอรมัน)
  • Jonathan Rosenbaum (สหรัฐอเมริกา)
  • Siegfried Kracauer (เยอรมัน)
  • Linda Williams (สหรัฐอเมริกา)
  • Richard Dyer (อังกฤษ)
  • Laura Mulvey (อังกฤษ)
  • Jeanine Basinger (สหรัฐอเมริกา)
  • Kristin Thompson (สหรัฐอเมริกา)

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Dyer, Richard. "Introduction." Film Studies: Critical Approaches. Oxford: Oxford UP, 2000. 1-8. Print.
  2. Sikov, Ed. "Introduction." Introduction pg.1-4. Film Studies: an Introduction. New York: Columbia UP, 2010. Print. Google Books
  3. Grant, Barry Keith. Film Study in the Undergraduate Curriculum. New York: Modern Language Association of America, 1983.15. Print.
  4. Jim Hillier, ed. (1987). Cahiers du Cinema 1960–1968 New Wave, New Cinema, Re-evalutating Hollywood (Godard in interview with Jacques Bontemps, Jean-Louis Comolli, Michel Delahaye, and Jean Narboni). Harvard University Press. p. 295. ISBN 9780674090651. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. Abramowitz, Rachel (2010). "LA's Screen Gems". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2010. สืบค้นเมื่อ 18 October 2010.
  6. "Major:Film Studies". Collegeboard.com. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 18 October 2010.
  7. Grieveson, Lee. "Cinema Studies." Inventing Film Studies. Durham: Duke UP, 2008. 67. Print.
  8. Dix, Andrew. Beginning Film Studies. Manchester UP. 2-14. Print.Google Books
  9. "Film Studies Program". Yale University. 2010. สืบค้นเมื่อ 25 October 2010.
  10. "Film and Media Studies". Georgetown University. 2010. สืบค้นเมื่อ 25 October 2010.
  11. "USC School of Cinematic Arts". University of Southern California. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2010. สืบค้นเมื่อ 25 October 2010.
  12. Polan, Dana, and Haidee Wasson. "Young Art, Old Colleges." Inventing Film Studies. Durham: Duke UP, 2008. Print.
  13. "History of Film Studies in the United States and at Berkeley." Film Studies. Web. 11 Nov. 2010. <"Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-11-11.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)>.
  14. Dargis, Manohla. "Cannes International Film Festival". New York Times.