ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อม

ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อม (อังกฤษ : environmental disaster) หมายถึงภัยพิบัติที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ซึงไม่รวมถึงภัยพิบัติธรรมชาติ ในกรณีนี้ ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทำให้เกิดความเสียที่ตามมาเป็นวงกว้างหรือที่ใช้เวลานาน ผลกระทบดังกล่าวรวมถึงการตายของสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) และระบบพืชพันธุ์ หรืออาจมีผลกระทบรุนแรงต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่อาจทำให้ต้องอพยพสู่ที่ปลอดภัยที่อื่น

ความยุ่งยากในการจำแนกประเภท แก้

กรณีตัวอย่างเช่นการมองว่าปัญหาการสร้างเขื่อน "เขื่อนซานเสียต้าป้า" หรือเขื่อนสามผา (Three Gorges Dam) นับเป็นภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งทำให้ต้องอพยพผู้คน 1 ล้านคนออกจากเขตน้ำท่วม ในขณะที่บางคนมองว่าเกิดประโยชน์เนื่องจากการช่วยป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดจากน้ำท่วมได้

บางคนอาจมองว่าการทำลายป่าในอเมริกาเหนือมีประโยชน์เนื่องจากเป็นการเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมและการใช้ที่ดินที่มีประโยชน์อื่นๆ ในไอร์แลนด์ การถากถางทำลายป่าทำให้เกิดพรุ (bogs) ที่มีผู้ชื่นชอบในความงามเฉพาะของมัน รวมทั้งยังเป็นที่เกิดพิตมอส (peat moss) ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ก็มีผู้มองในอีกด้านหนึ่งว่าเป็นการทำลายป่าซึ่งมีผลทางลบ

อีกตัวอย่างหนึ่งที่อาจเป็นการถากถางไม่เป็นกลางนักได้แก่การที่ซัดดัม ฮุสเซนคิดว่าการระบายน้ำออกจากหนองน้ำอัลฮาวิซห์ (Al-Hawizeh marsh) จะเป็นการกำจัดชนชาวมาดานเนืองจากพวกนี้เข้าข้างสหรัฐฯ ในสงครามอ่าวครั้งแรก อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่การลดจำนวนประชากรควายไบซันอเมริกันซึ่งเป็นความคิดของนายพลวิลเลียม เชอร์มานและพวกว่าเป็นวิธีที่ดีในการกำจัดชาวอินเดียนแดงที่อาศัยอยู่ใน “ที่ราบใหญ่” (Great Plains) ที่สามารถใช้เป็นที่รองรับการตั้งถิ่นฐานประชากรอเมริกันที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีการโต้เถียงกันว่าการถล่มของอาคารแฝดเวิร์ลเทรดในนิวยอร์กที่ทำให้เกิดฝุ่นละเอียดที่มีความเป็นพิษฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณว่าควรนับเป็นภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นภัยพิบัติทางอุตสาหกรรม

ความเสียหายของการเกิดดินเค็มในพื้นที่นา สืบเนื่องจากนากุ้งที่อยู่บนแผ่นดินระบายน้ำเสียที่เป็นน้ำเค็มสู่พื้นที่ทำนา และการทำลายป่าชายเลนเป็นจำนวนมากเพื่อทำนากุ้งในประเทศไทยนับเป็นตัวอย่างที่ดีของภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมเกษตรผิดประเภทและผิดวิธี

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้