ฤาษีภฤคุ หรือ ภฤคุ (สันสกฤต: Bhṛgu) เป็นฤาษีในศาสนาฮินดู หนึ่งในเจ็ดสัปตฤษีผู้ยิ่งใหญ่ และหนึ่งในคณะประชาบดี (ผู้ช่วยสร้างเอกภพ) สร้างขึ้นมาโดยพระพรหม[1] ภฤคุเป็นผู้ประพันธ์ ภฤคุสังหิตา งานเขียนดาราศาสตร์ฮินดู (ชโยติษ) ถือกันว่าภฤคุเป็น มนัสบุตร ("ผู้เกิดจากความคิด") ของพระพรหม รูปคำเวษณ์ของชื่อภฤคุ ภารควะ เป็นคำที่ใช้เรียกลูกศิษย์ของภฤคุ ในมนูสมฺริติระบุว่าภฤคุเป็นผู้อาศัยร่วมชาติเดียวกับพระมณู ปฐมาจารย์ของมนุษยชาติในคติฮินดู[2] ภฤคุตั้งอาศรมอยู่ริมแม่น้ำสาขาหนึ่งของแม่น้ำทฤษัทวตี ใกล้กับเขาโทศี ในรัฐพรหมวรรต[3] ที่ซึ่งปัจจุบันคือแถบพรมแดนรัฐหรยาณากับรัฐราชสถาน ในประเทศอินเดีย[4] ภฤคุมีภรรยาสามนาง โดยมีหนึ่งในผู้สืบเชื้อสายคือ ชมทัคนิ บิดาของฤษีปรศุราม หนึ่งในอวตารของพระวิษณุ[5][6][7]

ภฤคุ
ภฤคุ
ภาพเขียนฤาษีภฤคุ
ส่วนเกี่ยวข้องสัปตฤษี
ที่ประทับรุทรปรยาค
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองขยาติ, กาวยามาตา และ ปุโลมา
บุตร - ธิดา
บิดา-มารดา

ตำนาน แก้

ในภควัทคีตา พระกฤษณะเคยกล่าวว่าในบรรดาฤษีทั้งปวง ฤาษีภฤคุเป็นตัวแทนของความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า[8]

การทดสอบความอดทนของตรีมูรติ แก้

ในภาควตปุราณะ หนึ่งในคัมภีร์ของลัทธิไวษณวะซึ่งบูชาพระวิษณุเป็นใหญ่ ระบุไว้ว่า ครั้นหนึ่ง บรรดาฤษีผู้ยิ่งใหญ่ได้มารวมตัวกันริมแม่น้ำสรัสวตีเพื่อเข้าร่วมในมหายัญบูชา สันตะและฤษีทั้งปวงไม่สามารถตัดสินได้ว่าในบรรดาเทพสูงสุดสามองค์ (ตรีมูรติ ได้แก่ พระพรหม พระศิวะ และพระวิษณุ) นั้น เทพองค์ใดยิ่งใหญ่ที่สุด และคู่ควรกับการถวายยัญ ("บูชายัญ") ที่ซึ่งเป็นประธานตา (Pradhanta; ยิ่งใหญ่สูงสุด) ในบรรดาเหล่าบรรดาสันตะและฤษีผู้ยิ่งใหญ่ ทั้งหมดได้ตัดสินใจให้ภฤคุเป็นผู้ทดสอบและตัดสินว่าเทพองค์ใดในสามองค์ยิ่งใหญ่ที่สุด[9]

มหาฤษีภฤคุเริ่มจากการเดินทางไปพบพระพรหม (บิดาของภฤคุ) ผู้ซึ่งกำลังท่องสวดพระเวทและใช้เวลาอยู่กับพระสรัสวตี พระมเหสี จึงไม่ได้สนใจภฤคุ ภฤคุโกรธมากและเริ่มก่นด่าพระพรหม พระพรหมจึงโมโห ภฤคุเลยรีบเดินทางต่อไปยังเขาไกรลาศเพื่อพบพระศิวะ ผู้ซี่งกำลังสนทนากับพระปารวตี พระมเหสี พระศิวะรำคาญและโกรธมากแต่ก็มีพระปารวตีคอยปรามไว้ ภฤคุจึงหนีออกมาและเดินทางต่อไปยังไวกูณฐ์ ที่ประทับของพระวิษณุ[9][10]

เมื่อไปถึง ปรากฏว่าพระวิษณุกำลังบรรทมอยู่บนอนันตนาคราช ภฤคุจึงเตะเข้าที่อกของพระวิษณุเพื่อปลุกให้ตื่นด้วยความโมโห พระวิษณุตื่นขึ้นจากบรรทม ทักทายฤษี และค่อย ๆ นวดเท้าของฤษีพร้อมทั้งถามอย่างห่วงใยว่าภฤคุเจ็บหรือไม่ที่เตะตนไปก่อนหน้า ขณะกำลังนวดเท้าให้ พระวิษณุทำลายตาที่สามซึ่งอยู่บนเท้าของภฤคุ อันเป็นตัวแทนของความเย่อหยิ่งยโสของฤษี ฤษีรับรู้ได้อย่างทรมานว่าตนได้พลั้งวางตนด้วยความยโสไป และได้ขอการอภัยจากพระวิษณุ พระวิษณุให้อภัย และในที่สุดฤษีภฤคุจึงประกาศให้พระวิษณุเป็นเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสามตรีมูรติ[9]

อ้างอิง แก้

  1. Narada said.. The Mahabharata translated by Kisari Mohan Ganguli (1883 -1896), Book 2: Sabha Parva: Lokapala Sabhakhayana Parva, section:XI. p. 25 And Daksha, Prachetas, Pulaha, Marichi, the master Kasyapa, Bhrigu, Atri, and Vasistha and Gautama, and also Angiras, and Pulastya, Kraut, Prahlada, and Kardama, these Prajapatis, and Angirasa of the Atharvan Veda, the Valikhilyas, the Marichipas; Intelligence, Space, Knowledge, Air, Heat, Water, Earth, Sound, Touch, Form, Taste, Scent; Nature, and the Modes (of Nature), and the elemental and prime causes of the world – all stay in that mansion beside the Lord Brahma. And Agastya of great energy, and Markandeya, of great ascetic power, and Jamadagni and Bharadwaja, and Samvarta, and Chyavana, and exalted Durvasa, and the virtuous Rishyasringa, the illustrious 'Sanatkumara' of great ascetic merit and the preceptor in all matters affecting Yoga..."
  2. Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 78.
  3. Mahabharta, Van Parv, page 1308, Geeta Press, Gorakhpur
  4. Sudhir Bhargava, "Location of Brahmavarta and Drishadwati river is important to find earliest alignment of Saraswati river" Seminar, Saraswati river-a perspective, Nov. 20–22, 2009, Kurukshetra University, Kurukshetra, organised by: Saraswati Nadi Shodh Sansthan, Haryana, Seminar Report: pages 114–117
  5. Subodh Kapoor (2004). A Dictionary of Hinduism: Including Its Mythology, Religion, History, Literature, and Pantheon. Cosmo Publications. pp. 185–. ISBN 978-81-7755-874-6.
  6. George Mason Williams (2003). Handbook of Hindu Mythology. ABC-CLIO. pp. 160–161. ISBN 978-1-57607-106-9.
  7. Yves Bonnefoy; Wendy Doniger (1993). Asian Mythologies. University of Chicago Press. pp. 82–83. ISBN 978-0-226-06456-7.
  8. Bhagavad Gītā – Chapter 10 Verse 25
  9. 9.0 9.1 9.2 Satish 2014.
  10. "Sage Bhrigu testing the Trimurti – ISKCON VRINDAVAN" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-01.

บรรณานุกรม แก้