ภควา (บาลี: भगवा Bhagavā) (กัตตุการกเอกพจน์ของ ภควนฺตุ/ภควนฺตฺ (ลง -สิ วิภัตติ), จาก ภค + -วนฺตุ/-วนฺตฺ ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต) หรือ ภควานฺ (สันสกฤต: भगवान्; Bhagavān) เป็นสมัญญาของพระเจ้าในศาสนาแบบอินเดีย โดยพุทธศาสนิกชนใช้คำนี้หมายถึงพระพุทธเจ้า[1] ชาวฮินดูลัทธิไวษณพใช้หมายถึงองค์อวตารของพระวิษณุ (เช่น พระกฤษณะ) ลัทธิไศวะใช้หมายถึงพระศิวะ[2][3] แม้แต่ชาวฮินดูที่ไม่ได้บูชาเทพเจ้าองค์ใดโดยเฉพาะก็ใช้คำนี้หมายถึงพระเป็นเจ้าแบบนามธรรม โดยทั่วไปจึงแปลว่าคำนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้า[4]

ในศาสนาพุทธ มีการใช้คำนี้ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีรวมทั้งคัมภีร์ชั้นหลังในเถรวาท มหายาน และวัชรยาน[5][6] นิยมแปลเป็นภาษาไทยว่าพระผู้มีพระภาค ส่วนในศาสนาฮินดูไม่ปรากฏคำนี้ในคัมภีร์พระเวท แต่ใช้ในคัมภีร์ยุคหลัง เช่น ภควัทคีตา ปุราณะ เป็นต้น[3] บางสำนักถือว่าคำนี้มีมีความหมายเหมือนกับ อีศวร เทวดา หริ ประภู[7] และในบางลัทธิก็ใช้คำนี้เรียกอาจารย์ผู้นำลัทธิด้วย

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. Buswell, Robert E.; Lopez, Donald S. (2014). The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton: Princeton University Press. p. 108.
  2. James Lochtefeld (2000), "Bhagavan", The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Vol. 1: A–M, Rosen Publishing. ISBN 978-0823931798, page 94
  3. 3.0 3.1 Friedhelm Hardy (1990), The World's Religions: The Religions of Asia, Routledge, ISBN 978-0415058155, pages 79-83
  4. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 864
  5. John Campbell (2009), Vajra hermeneutics: A study of Vajrayana scholasticism in the "Pradipoddyotana", PhD Thesis accepted by Columbia University (Advisor: Robert Thurman), page 355
  6. Peter Harvey, Buddhism, Bloomsbury Academic, ISBN 978-0826453501, page 4
  7. V.S.Apte. The Practical Sanskrit-English Dictionary. Digital Dictionaries of South Asia. p. 118. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-16. สืบค้นเมื่อ 2017-03-24.
บรรณานุกรม