ฟุตบอลทีมชาติอาเซอร์ไบจาน

ฟุตบอลทีมชาติอาเซอร์ไบจาน (อาเซอร์ไบจาน: Azərbaycan milli futbol komandası) เป็นทีมฟุตบอลประจำประเทศอาเซอร์ไบจาน อยู่ภายใต้การควบคุมของสมาคมสหพันธ์ฟุตบอลอาเซอร์ไบจาน สนามเหย้าของทีมชาติส่วนใหญ่ใช้สนามกีฬาโอลิมปิกบากู

ฟุตบอลทีมชาติอาเซอร์ไบจาน
ฉายาMilli (ทีมชาติ)
สมาคมAFFA
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนจานนี เด บิอาซี
กัปตันมักซิม เมดเวเดฟ
ติดทีมชาติสูงสุดเรชาด ซาดีกอฟ (111)
ทำประตูสูงสุดคุรบาน คุรบานอฟ (14)
สนามเหย้าสนามกีฬาโอลิมปิกบากู
รหัสฟีฟ่าAZE
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 112 เพิ่มขึ้น 1 (4 เมษายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด73 (กรกฎาคม ค.ศ. 2014)
อันดับต่ำสุด170 (มิถุนายน ค.ศ. 1994)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย 6–3 อาเซอร์ไบจาน ธงชาติอาเซอร์ไบจาน
(Gurjaani, จอร์เจีย; 17 กันยายน ค.ศ. 1992)[2][3]
ชนะสูงสุด
ธงชาติอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน 4–0 ลีชเทินชไตน์ ธงชาติลีชเทินชไตน์
(บากู อาเซอร์ไบจาน; 5 มิถุนายน ค.ศ. 1999)
ธงชาติอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน 5–1 ซานมารีโน ธงชาติซานมารีโน
(บากู อาเซอร์ไบจาน; 4 กันยายน ค.ศ. 2017)
แพ้สูงสุด
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 10–0 อาเซอร์ไบจาน ธงชาติอาเซอร์ไบจาน
(โอแซร์ ฝรั่งเศส; 6 กันยายน ค.ศ. 1995)[2] ฟุตบอลทีมชาติอาเซอร์ไบจานมีนัดกระชับมิตรครั้งแรกกับจอร์เจีย และอาร์มีเนีย ในปี ค.ศ. 1927 ในการแข่งขันชิงแชมป์ทรานส์คอเคซัสในจอร์เจีย[2]

อาเซอร์ไบจานเข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือกรายการสำคัญนับตั้งแต่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 จนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม อาเซอร์ไบจานยังไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกหรือฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปเลย

สนาม แก้

อาเซอร์ไบจานลงเล่นนัดเหย้าส่วนใหญ่ที่สนามกีฬาโอลิมปิกบากูแห่งใหม่ในบากู โดยย้ายมาจากสนามกีฬาตอฟิก บาห์รามอฟ ในปี ค.ศ. 2015 แต่สนามแห่งเก่าก็ยังคงใช้จัดการแข่งขันกระชับมิตรอยู่บ้าง สนามแห่งอื่น ๆ ที่ผ่านเกณฑ์ของยูฟ่า ได้แก่ สนามกีฬานครลังการาน, บักเซลล์อารีนา และดัลกาอารีนา[4][5]

สถิติผู้เล่น แก้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2018 (ตัวหนา หมายถึง ผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้กับทีมชาติ)

ผู้ทำประตูสูงสุด[6]
ชื่อ ช่วงปี ลงเล่น ประตู
1 คุรบาน คุรบานอฟ 1992–2005 68 14
2 Vagif Javadov 2006–ปัจจุบัน 58 9
3 Elvin Mammadov 2008–ปัจจุบัน 37 7
4 Branimir Subašić 2007–2013 40 7
5 รุฟ อาลีเยฟ 2010–ปัจจุบัน 45 7
6 Dimitrij Nazarov 2014–ปัจจุบัน 27 6
7 Zaur Tagizade 1997–2008 40 6
8 Nazim Suleymanov 1992–1998 24 5
9 Farrukh Ismayilov 1998–2007 34 5
10 Afran Ismayilov 2010–ปัจจุบัน 39 5
ผู้เล่นที่ลงเล่นมากที่สุด[6]
ชื่อ ช่วงปี ลงเล่น ประตู
1 เรชาด ซาดีกอฟ 2001–2017 111 5
2 Aslan Kerimov 1994–2008 80 0
3 Mahir Shukurov 2004–2015 76 4
4 Mahmud Gurbanov 1994–2008 75 1
5 Tarlan Ahmadov 1992–2005 75 0
6 Kamran Aghayev 2008–ปัจจุบัน 72 0
7 Gurban Gurbanov 1992–2005 68 14
8 Emin Agayev 1992–2005 65 1
9 Vüqar Nadirov 2004–ปัจจุบัน 61 4
10 Rahid Amirguliyev 2007–ปัจจุบัน 60 3

อ้างอิง แก้

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  2. 2.0 2.1 2.2 "World Football Elo Ratings: Azerbaijan". World Football Elo Ratings.
  3. "MİLLİNİN BÜTÜN OYUNLARI". AFFA (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2017.
  4. Матч Азербайджан-Финляндия пройдет в Лянкяране (ในภาษารัสเซีย)
  5. Milli komandamız yenidən Lənkəran stadionunda (ในภาษาอาเซอร์ไบจาน)
  6. 6.0 6.1 "Azerbaijan NT Top Stats". eu-football.info. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้