ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย

ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนจากประเทศออสเตรเลียในการแข่งขันระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลีย มีชื่อเล่นคือ ซอกเกอร์รูส์ ในอดีตทีมชาติออสเตรเลียได้ร่วมแข่งขันในนามสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย ก่อนจะย้ายมาร่วมเล่นกับทีมอื่นในทวีปเอเชียภายใต้สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียใน ค.ศ. 2006[2][3] และเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียนตั้งแต่ ค.ศ. 2013

ออสเตรเลีย
Shirt badge/Association crest
ฉายาSocceroos
จิงโจ้ (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมฟุตบอลออสเตรเลีย
สมาพันธ์ย่อยเอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเกรแฮม อาร์โนลด์
กัปตันแมทิว ไรอัน
ติดทีมชาติสูงสุดมาร์ก ชวาร์เซอร์ (109)
ทำประตูสูงสุดทิม เคฮิลล์ (50)
รหัสฟีฟ่าAUS
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 24 ลดลง 1 (4 เมษายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด14 (กันยายน ค.ศ. 2009)
อันดับต่ำสุด102 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2014)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาตินิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ 3–1 ออสเตรเลีย ธงชาติออสเตรเลีย
(ดะนีดิน ประเทศนิวซีแลนด์; 17 มิถุนายน ค.ศ. 1922)
ชนะสูงสุด
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 31–0 อเมริกันซามัว ธงชาติอเมริกันซามัว
(ค็อฟส์ฮาร์เบอร์ ประเทศออสเตรเลีย; 11 เมษายน ค.ศ. 2001)
(สถิติโลกสำหรับการแข่งขันนานาชาติระดับสูง)
แพ้สูงสุด
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 0–8 แอฟริกาใต้ ธงชาติแอฟริกาใต้
(แอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย; 17 กันยายน ค.ศ. 1955)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1974)
ผลงานดีที่สุดรอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006 และ 2022)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม4 (ครั้งแรกใน 2007)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2015)
โอเอฟซีเนชันส์คัพ
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1980)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (1980,
1996, 2000, 2004)
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม4 (ครั้งแรกใน 1997)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (1997)
เว็บไซต์www.socceroos.com.au

ออสเตรเลียชนะเลิศการแข่งขันโอเอฟซีเนชันส์คัพ 4 สมัย และชนะเลิศเอเชียนคัพ 1 สมัย ใน ค.ศ. 2015 ในฐานะเจ้าภาพ ส่งผลให้พวกเขาเป็นชาติเดียวที่ชนะเลิศการแข่งขันของฟีฟ่าในสองสมาพันธ์ (สมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย และสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย) ออสเตรเลียเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 6 ครั้งใน ค.ศ. 1974, 2006, 2010, 2014, 2018 และ 2022 และ ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ อีก 4 ครั้ง

ประวัติ แก้

ยุคแรก แก้

 
การแข่งขันนัดแรกของทีมชาติออสเตรเลีย พบกับทีมชาตินิวซีแลนด์ใน ค.ศ. 1922

ฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียรวมตัวกันครั้งแรกใน ค.ศ. 1922 เพื่อร่วมแข่งขันทัวร์พบกับทีมชาตินิวซีแลนด์จำนวน 3 นัด[4] ผลการแข่งขันปรากฏว่าออสเตรเลียเสมอหนึ่งนัด และแพ้สองนัด และตลอดระยะเวลา 36 ปีหลังจากนั้น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกาใต้ได้ลงแข่งขันรายการทัวร์ (เกมกระชับมิตร) ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง[5] ในช่วงเวลาดังกล่าว ออสเตรเลียยังเป็นเจ้าภาพแข่งขันรายการทัวร์พบแคนาดา และอินเดียใน ค.ศ. 1924 และ 1938 ตามลำดับ[6][7] ออสเตรเลียพบกับความพ่ายแพ้ที่ขาดลอยที่สุด (นับรวมทุกรายการ) โดยแพ้ต่อทีมชาติอังกฤษด้วยผลประตู 0–17 ในการแข่งขันทัวร์วันที่ 30 มิถุนายน 1951[8] ออสเตรเลียไม่มีโอกาสร่วมแข่งขันรายการระดับนานาชาติเลยกระทั่งในโอลิมปิกฤดูร้อน 1956 ซึ่งพวกเป็นเจ้าภาพ ณ เมืองเมลเบิร์น อย่างไรก็ตาม การขาดผู้เล่นที่มีประสบการณ์ในการแข่งขันระดับสูงส่งผลให้พวกเขาไม่ประสบความสำเร็จ[9] และด้วยการเดินทางทางอากาศที่มีราคาต่ำลง ทำให้ออสเตรเลียได้ร่วมแข่งขันกับชาติอื่น ๆ ในต่างทวีปมากขึ้น แต่ด้วยสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ทำให้เกิดความยากลำบากในการเดินทาง ซึ่งผลต่อการพัฒนาทีมตลอดระยะเวลา 30 ปีต่อมา ความสำเร็จรายการแรกของพวกเขาคือการชนะเลิศฟุตบอลอิสรภาพของเวียดนามใต้ใน ค.ศ. 1967 แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศ[10]

ภายหลังจากตกรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 1966 และ 1970 แพ้ต่อเกาหลีเหนือ และอิสราเอลตามลำดับ ออสเตรเลียได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งแรกในฟุตบอลโลก 1974 ที่ประเทศเยอรมนีตะวันตก ก่อนจะตกรอบแบ่งกลุ่มโดยเสมอชิลี และแพ้สองนัดต่อเยอรมนีตะวันออก และ เยอรมนีตะวันตก และไม่สามารถยิงประตูในการแข่งขันได้เลยเนื่องจากทีมชุดนั้นเต็มไปด้วยผู้เล่นขาดประสบการณ์ และออสเตรเลียต้องห่างหายจากฟุตบอลโลกไปอีกหลายปี กระทั่งได้กลับมาเข้าร่วมอีกครั้งในฟุตบอลโลก 2006[11] โดยในช่วงเวลานั้น พวกเขาแพ้ในรอบคัดเลือกทุกครั้ง แพ้ต่อสกอตแลนด์ใน ค.ศ. 1986, แพ้อาร์เจนตินาใน ค.ศ. 1994 แพ้อิหร่านใน ค.ศ. 1998 และแพ้อุรุกวัยใน ค.ศ. 2002

พัฒนาทีม และเข้าร่วมสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย แก้

แม้จะล้มเหลวในฟุตบอลโลก แต่ออสเตรเลียทำผลงานได้ดีช่วงนั้นเมื่อพบกับทีมจากยุโรปและอเมริกาใต้ พวกเขาเอาชนะแชมป์โลกอย่างอาร์เจนตินา 4–1 ในรายการ Australian Bicentennial Gold Cup ใน ค.ศ. 1988[12] ถัดมาในฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ค.ศ. 1997 ออสเตรเลียเสมอกับบราซิล แชมป์ฟุตบอลโลก 1994 ตามด้วยการชนะอุรุกวัย 1–0 ผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศแต่แพ้บราซิล 0–6[13] และในการแข่งขันรายการเดียวกันใน ค.ศ. 2001 ออสเตรเลียเอาชนะแชมป์ฟุตบอลโลก 1998 อย่างฝรั่งเศสได้ในรอบแบ่งกลุ่ม และคว้าอันดับสามได้จากการชนะบราซิล 1–0[14] และยังบุกไปชนะอังกฤษ 3–1 ในเกมกระชับมิตรที่สนามบุลินกราวนด์ ซึ่งนัดนั้นเป็นการลงสนามในนามทีมชาติเกมแรกของเวย์น รูนีย์[15]

ในช่วงต้นปี 2005 มีรายงานว่า สหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลียได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการเข้าร่วมสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และเป็นการยุติช่วงเวลา 40 ปีในการเป็นสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย[16] นักวิจารณ์และแฟนบอลหลายคนรวมถึงอดีตกัปตันทีมชาติออสเตรเลีย จอห์นนี วอร์เรน เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดยกล่าวว่าเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานของทีมชาติออสเตรเลีย ในวันที่ 13 มีนาคม 2005 คณะกรรมการบริหารของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เชิญออสเตรเลียเข้าร่วมสมาพันธ์ และหลังจากสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียรับรองการย้ายออกของออสเตรเลีย สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติได้อนุมัติในวันที่ 30 มิถุนายน 2005 โดยมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2006 แม้ว่าก่อนหน้านั้นออสเตรเลียจะลงแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกในโซนโอเชียเนีย

 
การแข่งขันรอบเพลย์ออฟนัดสุดท้ายระหว่างออสเตรเลียและอุรุกวัยที่ซิดนีย์ เพื่อหาผู้ชนะเข้าสู่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ค.ศ. 2006

แฟรงก์ ฟารินา ผู้ฝึกสอนได้ลาออกหลังจากทำผลงานย่ำแย่ในฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2005 และ คืส ฮิดดิงก์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ฝึกสอนคนใหม่ ออสเตรเลียซึ่งเป็นทีมอันดับ 49 ของโลกในขณะนั้นต้องแข่งขันกับทีมอันดับ 18 อย่างอุรุกวัยในรอบเพลย์ออฟเพื่อเข้าสู่ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายปี 2006 ภายหลังจากออสเตรเลียชนะจาไมกา 5–0 ในเกมกระชับมิตร พวกเขาลงแข่งนัดแรกกับอุรุกวัยและแพ้ 0–1 ก่อนจะกลับไปเล่นนัดที่สองที่ซิดนีย์[17] และพวกเขาเอาชนะได้ 1–0 เช่นกันจากประตูของ มาร์ค เบรสชาโน ทำให้ต้องต่อเวลาพิเศษ แต่ก็ไม่สามารถทำประตูเพิ่มกันได้ และออสเตรเลียชนะการดวลจุดโทษไป 4–2 ส่งผลให้พวกเขาเป็นชาติแรกที่ได้แข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายโดยชนะจุดโทษในเพลย์ออฟ[18] และเป็นการกลับไปแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในรอบ 32 ปี

โกลเดน เจเนอเรชั่น แก้

ออสเตรเลียลงแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในฐานะทีมที่มีอันดับโลกต่ำสุดเป็นอันดับสองในการแข่งขันครั้งนั้น แม้อันดับของพวกเขาจะดีขึ้นจากการทำผลงานได้ดีในการเสมอเนเธอร์แลนด์ 1–1 รวมถึงการชนะทีมแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอย่างกรีซ ซึ่งแข่งขันกันที่สนามคริกเก็ตเมลเบิร์น ความจุกว่า 100,000 ที่นั่งและตั๋วได้ถูกขายหมดทุกที่นั่ง ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มเอฟร่วมกับบราซิล, ญี่ปุ่น และโครเอเชีย ออสเตรเลียลงสนามนัดแรกเอาชนะญี่ปุ่น 3–1 จากสองประตูของ ทิม เคฮิลล์ และหนึ่งประตูจาก จอห์น อลอยซี่ และเป็นการสร้างสถิติใหม่โดยออสเตรเลียทำประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้เป็นครั้งแรก, เป็นชัยชนะครั้งแรกในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายของทีมจากโอเชียเนีย รวมทั้งเป็นครั้งแรกในฟุตบอลโลกที่มีการทำสามประตูในช่วงเจ็ดนาทีสุดท้ายของการแข่งขัน[19] ออสเตรเลียแพ้บราซิล 0–2 ในนัดต่อมา แต่เอาชนะโครเอเชียได้ในนัดสุดท้าย 1–0 ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ก่อนจะแพ้อิตาลี 0–1 ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายจากการเสียจุดโทษซึ่งเป็นลูกปัญหาในช่วงท้ายเกม[20] ฮิดดิงก์ประกาสลาออก แต่ครั้งนี้ก็ถือเป็นความสำเร็จของออสเตรเลีย โดยพวกเขาได้รับรางวัลทีมยอดเยี่ยมของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียในปีนั้น[21] และทีมชุดนั้นยังได้รับการยกย่องเป็น โกลเดน เจเนอเรชัน จากการสร้างประวัติศาสตร์ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกในฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรก[22]

ออสเตรเลียร่วมแข่งขัน เอเชียนคัพ 2007 เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของ เกรแฮม อาร์โนลด์ โดยผู้เล่น 15 คนอยู่ในชุด โกลเดน เจเนอเรชั่น ที่สร้างชื่อในฟุตบอลโลก พวกเขาอยู่ในกลุ่มเอร่วมกับโอมาน (เสมอ 1–1 ), ไทย (ชนะ 4–0) และ อิรัก (แพ้ 1–3) ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายแต่แพ้จุดโทษญี่ปุ่น ก่อนที่อาร์โนลด์จะคุมทีมนัดสุดท้ายในเกมกระชับมิตรที่พวกเขาแพ้อาร์เจนตินา 0–1 และเขาถูกแทนที่โดย ปิม เฟอร์เบก ชาวดัดซ์ ในเดือนธันวาคม 2007[23]

ออสเตรเลียลงแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชียเป็นครั้งแรกในรอบคัดเลือก - เอเอฟซี รอบที่ 3 พวกเขาอยู่ร่วมกับกาตาร์, อิรัก และจีน และผ่านเข้ารอบในฐานะทีมอันดับหนึ่ง ตามด้วยการเป็นที่หนึ่งอีกครั้งในรอบคัดเลือกรอบที่ 4 ซึ่งอยู่ร่วมกับญี่ปุ่น, บาห์เรน, กาตาร์ และอุซเบกิสถาน โดยผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งที่ยังเหลือการแข่งขันอีกสองนัด โดยจบการแข่งขันด้วยการมีคะแนนมากกว่าทีมอันดับสองอย่างญี่ปุ่น 5 คะแนน

 
การแข่งขันระหว่างออสเตรเลียและเยอรมนีที่สนามกีฬาโมเสสมาบีดา ในฟุตบอลโลก 2010 รอบแบ่งกลุ่ม

ออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มดีในฟุตบอลโลก 2010 ร่วมกับเยอรมนี, กานา และเซอร์เบีย พวกเขาลงแข่งขันนัดแรกแพ้เยอรมนี 0–4 ปิม เฟอร์เบก ได้รับการวิจารณ์ถึงการจัดตัวผู้เล่นและการวางแผน โดยเขาไม่ส่งผู้เล่นตำแหน่งกองหน้าลงไปเป็น 11 ตัวจริงแม้แต่คนเดียวในนัดนั้น[24] เอสบีเอส สื่อของออสเตรเลียนำเสนอข่าวเรียกร้องให้ทำการปลดเฟอร์เบก[25] ออสเตรเลียเสมอกานาในนัดที่สอง 1–1 ปิดท้ายด้วยการชนะเซอร์เบีย 2–1 แต่ไม่เพียงพอต่อการเข้ารอบ เฟอร์เบกถูกแทนที่โดย โฮลเกอร์ โอซีค[26] ซึ่งพาทีมทำผลงานยอดเยี่ยมในเอเชียนคัพ 2011 ผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศก่อนจะแพ้ญี่ปุ่น 0–1 ในช่วงต่อเวลา

ใน ค.ศ. 2012 ออสเตรเลียตอบรับการร่วมแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันออก[27] และเดินทางไปแข่งขันรอบคัดเลือกที่ฮ่องกงและคว้าอับดับหนึ่งได้โดยมีคะแนนเหนือฮ่องกง, เกาหลีเหนือ, กวม และไต้หวัน แต่พวกเขาจบอันดับสุดท้ายในการแข่งขันรอบสุดท้าย ตามหลังญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และ จีน[28] ต่อมาในวันที่ 23 สิงหาคม 2013 ออสเตรเลียได้รับสถานะเป็นสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียนในทางนิตินัย[29] กระนั้น พวกเขาไม่ได้ร่วมแข่งขันรายการสำคัญกับชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน เนื่องจากมาตรฐานทีมที่เหนือกว่าทีมอื่น ๆ มาก[30]

ออสเตรเลียเตรียมความพร้อมสำหรับฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก โดยลงเล่นเกมกระชับมิตรหลายนัด และทำผลงานยอดเยี่ยม พบสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (เสมอ 0–0), เยอรมนี (ชนะ 2–1), นิวซีแลนด์ (ชนะ 3–0), เซอร์เบีย (เสมอ 0–0) และเวลส์ (ชนะ 2–1) ลงแข่งขันรอบคัดเลือกรอบที่สามและจบอันดับหนึ่ง ก่อนจะจบด้วยอันดับสองในรอบที่สี่ได้สิทธิ์แข่งขันฟุตบอลโลก 2014[31] ต่อมาออสเตรเลียแพ้สองนัดติดต่อกันในเกมกระชับมิตรกับบราซิล และฝรั่งเศส 0–6 ทั้งสองนัด และโอซีคลาออก

สายเลือดใหม่ และแชมป์เอเชียนคัพ (2015–ปัจจุบัน) แก้

 
ทีมชาติออสเตรเลียในเอเชียนคัพ 2015 ซึ่งพวกเขาคว้าแชมป์ได้ในฐานะเจ้าภาพ

แองเจลอส พอสเตคูกลู เข้ามาคุมทีมต่อ ซึ่งได้รับมอบหมายให้สร้างทีมขึนใหม่เนื่องจากที่ผ่านมาสหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลียมองว่าทีมชุดนี้พึ่งพานักเตะแกนหลักในยุค โกลเดน เจเนอเรชั่น มากเกินไป พอสเตคูกลูคุมทีมนัดแรกเอาชนะคอสตาริกา 1–0 ในเกมกระชับมิตรจากประตูของทิม เคฮิลล์[32] ในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย พวกเขาอยู่กลุ่มบีร่วมกับแชมป์เก่าอย่างสเปน, รองแชมป์เก่าอย่างเนเธอร์แลนด์ รวมถึงชิลี พวกเขาแพ้ชิลีในนัดแรก 1–3 โดยเสียสองประตูในช่วง 15 นาทีแรก และสู้กับเนเธอร์แลนด์ได้สูสีในนัดที่สองแต่ก็แพ้ 2–3 ปิดท้ายด้วยการแพ้สเปน 0–3 แต่แฟน ๆ ของออสเตรเลียก็ยกย่องทีมจากการทำผลงานได้ดีแม้อยู่ในกลุ่มที่หนักร่วมกับทีมชั้นนำอีกสามทีม และได้รับการยกย่องว่าทีมชุดนี้จะเป็นสายเลือดใหม่หรือ โกลเดน เจเนอเรชั่น ยุคใหม่[33]

ออสเตรเลียแพ้เบลเยียมในเกมกระชับมิตร 0–2 ก่อนจะคว้าชัยชนะนัดแรกในรอบสิบเดือน และเป็นชัยชนะนัดที่สองของพอสเตคูกลูในนัดที่ชนะซาอุดีอาระเบีย 3–2 ที่ลอนดอน ก่อนจะเสมอสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแพ้สองนัดต่อกาตาร์และญี่ปุ่น ส่งผลให้อันดับโลกของพวกเขาร่วงไปอันดับที่ 94 และ 102 ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีม[34]

ออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2015 โดยเป็นการร่วมแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่สามติดต่อกัน ในสองนัดแรกของรอบแบ่งกลุ่ม พวกเขาเอาชนะคูเวต (4–1) และโอมาน (4–0) ได้อย่างง่ายดาย ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที แม้จะแพ้เกาหลีใต้ (1–3) ในนัดสุดท้ายที่บริสเบน ตามด้วยการชนะจีน 2–0 ในรอบก่อนรองชนะเลิศจากสองประตูของ ทิม เคฮิลล์ และชนะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในรอบรองชนะเลิศ 2–0 ผ่านเข้าชิงชนะเลิศสองสมัยติดต่อกัน และเอาชนะเกาหลีใต้ 2–1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ คว้าแชมป์เป็นสมัยแรก[35] และได้สิทธิ์แข่งขัน ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 แต่ตกรอบแบ่งกลุ่ม

ออสเตรเลียผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลก 2018 และแบร์ต ฟัน มาร์ไวก์[36] อดีตผู้ฝึกสอนทีมชาติเนเธอร์แลนด์เข้ามารับตำแหน่งต่อจากพอสเตคูกลู ใน ค.ศ. 2017[37] และเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2018 ภายหลังการประกาศรายชื่อนักเตะที่จะลงแข่งขันฟุตบอลโลก สหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลียประกาศว่า เกรแฮม อาร์โนลด์ จะรับหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนภายหลังจบฟุตบอลโลก 2018 ไปจนถึงฟุตบอลโลก 2022[38] ในฟุตบอลโลก 2018 ออสเตรเลียอยู่ร่วมกลุ่มกับเดนมาร์ก, ฝรั่งเศส และเปรู ในนัดแรกพวกเขาแพ้ฝรั่งเศส 1–2 โดยได้รับความชื่นชมจากผลงาน[39] และยังเล่นได้อย่างยอดเยี่ยม เสมอเดนมาร์กในนัดที่สอง 1–1[40] ก่อนจะตกรอบโดยแพ้เปรูในนัดสุดท้าย 0–2[41]

ฟัน มาร์ไวก์ ลาออกเพื่อเปิดทางให้กับ อาร์โนลด์ ด้วยความคาดหวังว่าออสเตรเลียจะทำผลงานได้ดีและป้องกันแชมป์เอเชียนคัพได้ในปี 2019 พวกเขาอยู่ร่วมกลุ่มกับจอร์แดน, ซีเรีย และ ปาเลสไตน์ พวกเขาแพ้ในนัดแรกต่อจอร์แดนอย่างเหนือความคาดหมาย 0–1[42] แต่ยังเข้าสู่รอบต่อไปจากการชนะในสองนัดถัดมาที่พบกับ ปาเลสไตน์ (3–0) และ ซีเรีย (3–2)[43] ตามด้วยการชนะจุดโทษอุซเบกิสถานในรอบ 16 ทีมสุดท้าย[44] แต่พวกเขาแพ้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เจ้าภาพ 0–1 ในรอบก่อนรองชนะเลิศที่สนามกีฬาฮัซซาอ์ บิน ซายิด สนามเดียวกับที่พวกเขาแพ้จอร์แดนในนัดเปิดสนาม[45]

ในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2 ออสเตรเลียชนะรวด 8 นัดผ่านเข้าสู่รอบที่ 3 อย่างง่ายดาย โดยในรอบที่ 3 นี้พวกเขาอยู่ร่วมกับซาอุดีอาระเบีย, ญี่ปุ่น, โอมาน, จีน และ เวียดนาม แต่พวกเขาจบอันดับสาม ส่งผลให้ต้องไปแข่งขันรอบที่ 4 พบกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเอาชนะไปได้ 2–1 ผ่านเข้าไปพบเปรูในรอบเพลย์ออฟระหว่างสมาพันธ์ ก่อนจะเอาชนะในการดวลจุดโทษตัดสินหลังจากเสมอกัน 0–0 ส่งผลให้พวกเขาผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเป็นครั้งที่ 6[46] ออสเตรเลียอยู่ร่วมกลุ่มกับฝรั่งเศส, เดนมาร์ก และ ตูนิเซีย ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 และผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้อาร์เจนตินา 1–2

ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2023 ออสเตรเลียผ่านรอบแบงกลุ่มในฐานะแชมป์กลุ่มด้วยการมีเจ็ดคะแนน ตามด้วยการชนะอินโดนีเซียด้วยผลประตู 4–0 แต่พวกเขาแพ้เกาหลีใต้ในรอบก่อนรองชนะเลิศในช่วงต่อเวลา 1–2

ชื่อเรียก แก้

 
เครื่องบินโบอิง 747-400 ลายซอกเกอร์รูส์ของสายการบินควอนตัส ผู้สนับสนุนหลักของทีมชาติออสเตรเลีย

ทีมชาติออสเตรเลียมีฉายาที่เรียกกันทั่วไปว่า ซอกเกอร์รูส์ (Socceroos) คิดค้นโดย โทนี ฮาลสเดต ผู้สื่อข่าวชาวออสเตรเลียในปี 1967 ในการรายงานข่าวของเขาในขณะทีมร่วมแข่งขันรายการพิเศษที่เวียดนามในช่วงสงครามเวียดนาม และนับตั้งแต่นั้นชื่อนี้ก็เป็นที่นิยมเรียกทั้งในกลุ่มผู้สนับสนุนในประเทศ และสหพันธ์ฟุตบอลออสเตรเลีย ชื่อนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของชาวออสเตรเลียในการใช้ภาษาพูดในประเทศ[47] รวมถึงความนิยมในการใช้ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย (Australian English) ในการตั้งชื่อทีมกีฬา[48] และชื่อนี้ยังสื่อความหมายถึงจิงโจ้ (Kangaroo) ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศ

คำว่า รูส์ ยังเป็นที่นิยมในการเรียกทีมกีฬาระดับชาติอื่น ๆ ของออสเตรเลียเช่น Hockeyroos ใช้สำหรับทีมฮอกกี้หญิงทีมชาติออสเตรเลีย และในปัจจุบันสายการบินควอนตัสเป็นผู้สนับสนุนหลักของทีมชาติออสเตรเลีย จึงนิยมเรียกกันว่าควอนตัสซอกเกอร์รูส์

ผลงาน แก้

ฟุตบอลโลก แก้

  • 1930-1962 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1966-1970 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 1974 - รอบแรก
  • 1978-2002 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2006 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย
  • 2010 - รอบแรก
  • 2014 - รอบแรก
  • 2018 - รอบแรก
  • 2022 - รอบ 16 ทีมสุดท้าย

คอนเฟเดอเรชันส์คัพ แก้

  • 1992, 1995 - ไม่ได้เข้าร่วม
  • 1997 - รองชนะเลิศ
  • 1999 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2001 - อันดับสาม
  • 2003 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
  • 2005 - รอบแรก
  • 2017 - รอบแรก

โอเอฟซีเนชันส์คัพ แก้

  • ชนะเลิศ - 1980, 1996, 2000, 2004
  • อันดับสอง - 1998, 2002
  • ไม่ได้เข้าร่วม - 1973

เอเชียนคัพ แก้

  • 2007 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2011 - รองชนะเลิศ
  • 2015 - ชนะเลิศ
  • 2019 - รอบก่อนรองชนะเลิศ
  • 2023 - รอบก่อนรองชนะเลิศ

นักเตะชุดปัจจุบัน แก้

รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[49][50]

ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับ   ตูนิเซีย

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK แมทิว ไรอัน (กัปตัน) (1992-04-08) 8 เมษายน ค.ศ. 1992 (32 ปี) 77 0   โคเปนเฮเกน
12 1GK Redmayne, AndrewAndrew Redmayne (1989-01-13) 13 มกราคม ค.ศ. 1989 (35 ปี) 4 0   ซิดนีย์
18 1GK Vukovic, DannyDanny Vukovic (1985-03-27) 27 มีนาคม ค.ศ. 1985 (39 ปี) 4 0   เซ็นทรัล โคสต์ มารีเนอส์

2 2DF มิล็อช เดเกเน็ก (1994-04-28) 28 เมษายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 40 1   โคลัมบัส ครูว์
3 2DF Atkinson, NathanielNathaniel Atkinson (1999-06-13) 13 มิถุนายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 6 0   ฮาร์ตออฟมิดโลเธียน
4 2DF Rowles, KyeKye Rowles (1998-06-24) 24 มิถุนายน ค.ศ. 1998 (25 ปี) 5 0   ฮาร์ตออฟมิดโลเธียน
5 2DF Karačić, FranFran Karačić (1996-05-12) 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 12 1   เบรชชา
8 2DF Wright, BaileyBailey Wright (1992-07-28) 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 (31 ปี) 27 2   ซันเดอร์แลนด์
16 2DF แอซิซ เบอิช (1990-12-16) 16 ธันวาคม ค.ศ. 1990 (33 ปี) 55 2   ดันดี ยูไนเต็ด
19 2DF Souttar, HarryHarry Souttar (1998-10-22) 22 ตุลาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 12 6   สโตกซิตี
20 2DF Deng, ThomasThomas Deng (1997-03-20) 20 มีนาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 2 0   อัลบิเร็กซ์ นีงาตะ
24 2DF King, JoelJoel King (2000-10-30) 30 ตุลาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี) 4 0   โอเดนเซ

10 3MF Hrustic, AjdinAjdin Hrustic (1996-07-05) 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 (27 ปี) 21 3   เฮลแลส เวโรนา
13 3MF แอรอน มอย (1990-09-15) 15 กันยายน ค.ศ. 1990 (33 ปี) 55 7   เซลติก
14 3MF McGree, RileyRiley McGree (1998-11-02) 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 (25 ปี) 13 1   มิดเดิลส์เบรอ
17 3MF Devlin, CameronCameron Devlin (1998-06-07) 7 มิถุนายน ค.ศ. 1998 (25 ปี) 1 0   ฮาร์ตออฟมิดโลเธียน
22 3MF แจ็กสัน เออร์วิน (1993-03-07) 7 มีนาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี) 51 7   ซังต์ เพาลี
26 3MF Baccus, KeanuKeanu Baccus (1998-06-07) 7 มิถุนายน ค.ศ. 1998 (25 ปี) 3 0   เซนต์ เมียร์เรน

6 4FW Tilio, MarcoMarco Tilio (2001-08-23) 23 สิงหาคม ค.ศ. 2001 (22 ปี) 5 0   เมลเบิร์น ซิตี
7 4FW แมทิว เล็กกี (1991-02-04) 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 (33 ปี) 75 13   เมลเบิร์น ซิตี
9 4FW Maclaren, JamieJamie Maclaren (1993-07-29) 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 (30 ปี) 27 8   เมลเบิร์น ซิตี
11 4FW Mabil, AwerAwer Mabil (1995-09-15) 15 กันยายน ค.ศ. 1995 (28 ปี) 31 8   กาดิซ
15 4FW Duke, MitchellMitchell Duke (1991-01-18) 18 มกราคม ค.ศ. 1991 (33 ปี) 23 9   ฟาจาโน โอกายามะ
21 4FW Kuol, GarangGarang Kuol (2004-09-15) 15 กันยายน ค.ศ. 2004 (19 ปี) 2 0   เซ็นทรัล โคสต์ มารีเนอส์
23 4FW Goodwin, CraigCraig Goodwin (1991-12-16) 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (32 ปี) 12 2   แอดิเลด ยูไนเต็ด
25 4FW Cummings, JasonJason Cummings (1995-08-01) 1 สิงหาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี) 2 1   เซ็นทรัล โคสต์ มารีเนอส์

อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง แก้

อ้างอิง แก้

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  2. "Our History". Socceroos (ภาษาอังกฤษ). 2017-08-22.
  3. "Australia gets President's blessing to join AFC in 2006". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2005-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  4. "Australia Vs New Zealand 1922". www.ozfootball.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  5. "Australian Socceroos". web.archive.org. 2014-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. "1923 Australia Men's National Team Results". www.ozfootball.net.
  7. "1938 Australia Men's National Team Results". www.ozfootball.net.
  8. "Australia Vs England 1951". www.ozfootball.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  9. Gillespie, James; Tyrrell, Ian (2001). "Deadly Enemies: Tobacco and Its Opponents in Australia". Labour History (81): 224. doi:10.2307/27516824. ISSN 0023-6942.
  10. "As Socceroos face moment of truth, let's remember our football triumph of 1967". theconversation.com.
  11. "The World Cup Dream - Australian football timeline". web.archive.org. 2014-12-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-17. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  12. "Socceroo 1988 Matches". www.ozfootball.net.
  13. "Socceroo 1997 Matches". www.ozfootball.net.
  14. "Socceroo 2001 Matches". www.ozfootball.net.
  15. "Socceroos win 3-1 against England". The Age (ภาษาอังกฤษ). 2003-02-14.
  16. "Goal at last: Australia joining Asia". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2005-03-11.
  17. "FIFA.com - Aloisi ends Aussie wait". web.archive.org. 2013-02-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  18. "From the Terraces: It's Us Against The World- by Jay Nair". web.archive.org. 2012-10-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  19. "Australia 3-1 Japan" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-06-12. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  20. "Italy 1 Australia 0: Totti makes most of referee's penalty present". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2006-06-26.
  21. "Ref's Room • Information". web.archive.org. 2013-12-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  22. Foster, Craig (2012-07-21). "Socceroos' golden generation has much to teach our youth". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
  23. "Verbeek is new Socceroos coach". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2007-12-06.
  24. Lynch, Michael (2010-06-13). "Verbeek takes blame for Socceroos defeat". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
  25. https://www.theaustralian.com.au/sport/world-cup-2010/craig-foster-sack-pim-verbeek-immediately/story-fn4l4sip-1225880401600
  26. "Motorsport Video |Motorsport Highlights, Replays, News, Clips". FOX SPORTS (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
  27. "Australia sets sights on East Asia Cup : The World Game on SBS". web.archive.org. 2013-09-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  28. "Rookie Socceroos selected for East Asian Cup". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2012-11-22. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  29. "Australia joins ASEAN Football Federation | Goal.com". www.goal.com.
  30. Bossi, Dominic (2019-01-31). "Socceroos seeking entrance into 2020 Suzuki Cup". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
  31. "Super-sub Kennedy sends Australia to Brazil : The World Game on SBS". web.archive.org. 2013-12-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-05. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  32. Lynch, Michael (2013-11-19). "Positive signs emerge for Socceroos as bold new era begins in earnest". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
  33. "News". Football Australia (ภาษาอังกฤษ). 2017-09-19.
  34. "FIFA rankings: Socceroos hit their first century as Japan emerges as Asia's top side". Fox Sports (ภาษาอังกฤษ). 2014-11-27.
  35. "Aussies win dramatic Asian Cup final". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  36. Bossi, Dominic (2018-01-25). "FIFA World Cup 2018: Bert van Marwijk appointed new Socceroos coach". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
  37. "Socceroos go Dutch for World Cup with Van Marwijk appointment". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2018-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  38. "No surprises as Graham Arnold takes on impossible Socceroos job | Jonathan Howcroft". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-03-08.
  39. Howcroft, Jonathan; Howcroft, Jonathan (2018-06-16). "France 2-1 Australia: World Cup 2018 – as it happened". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  40. "Denmark vs. Australia 2018 World Cup: A 1-1 tie keeps the Socceroos alive". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  41. Broun, Alex. "Football news: Andre Carrillo and Luis Advíncula both get an 8 as Peru cruise past Australia 2-0 on World Cup bow - Sport360 News". sport360.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  42. OPTA (2019-01-06). "AFC Asian Cup 2019: Australia 0 Jordan 1: Champions stunned in Group B opener". mykhel.com (ภาษาอังกฤษ).
  43. "Socceroos hold out spirited Syria 3-2 to progress in Asian Cup". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2019-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
  44. "Australia 0 Uzbekistan 0 (aet, 4-2 on penalties): Ryan heroics see holders hobble onwards". beIN SPORTS (ภาษาอังกฤษ).
  45. "Asian Cup 2019: UAE v Australia as it happened - UAE win 1-0 thanks to Ali Mabkhout strike". The National. 2019-01-25.
  46. "Socceroos vs Peru result: Australia earns World Cup berth after winning playoff on penalties". www.sportingnews.com (ภาษาอังกฤษ).
  47. "O'Neill wants to lose Roos in the name of progress". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2005-01-14.
  48. "Soccer's Australian name change". The Age (ภาษาอังกฤษ). 2004-12-16.
  49. "SOCCEROOS SQUAD ANNOUNCED: FIFA World Cup Qatar 2022™". Football Australia. 8 November 2022.
  50. "Martin Boyle withdrawn from Socceroos' FIFA World Cup Qatar 2022™ squad". Socceroos. สืบค้นเมื่อ 20 November 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้