ฟุตบอลทีมชาติฟิลิปปินส์

ฟุตบอลทีมชาติฟิลิปปินส์ (ฟิลิปปินส์/ตากาล็อก: Pambansang koponan ng futbol ng Pilipinas) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศฟิลิปปินส์ในการแข่งขันระหว่างประเทศ ภายใต้การควบคุมโดยสหพันธ์ฟุตบอลฟิลิปปินส์ ทีมชาติฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในทีมฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย โดยลงแข่งขันระดับนานาชาติมาตั้งแต่ ค.ศ. 1913

ฟิลิปปินส์
Shirt badge/Association crest
ฉายาAzkals[1]
(สุนัขข้างถนน)
ตากาล็อก (ฉายาในภาษาไทย)
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลฟิลิปปิน
สมาพันธ์ย่อยเอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนโจเซฟ เฟร์เร
กัปตันนีล อีเทอริดจ์
ติดทีมชาติสูงสุดฟิล ยังฮัสแบนด์ (108)
ทำประตูสูงสุดฟิล ยังฮัสแบนด์ (52)
สนามเหย้ารีซัลเมโมเรียลสเตเดียม
รหัสฟีฟ่าPHI
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 141 ลดลง 2 (4 เมษายน 2024)[2]
อันดับสูงสุด111 (พฤษภาคม ค.ศ. 2018)
อันดับต่ำสุด195 (กันยายน – ตุลาคม ค.ศ. 2006)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ก่อนเป็นสมาชิกฟีฟ่า
ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 2–1 China ธงชาติสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)
(มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์; 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913)
ตอนเป็นสมาชิกฟีฟ่า
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 7–2 ฟิลิปปินส์ ธงชาติฟิลิปปินส์
(โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น; 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1930)
ชนะสูงสุด
ก่อนเป็นสมาชิกฟีฟ่า
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 2–15 ฟิลิปปินส์ ธงชาติฟิลิปปินส์
(โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น; 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1917)[3]
ตอนเป็นสมาชิกฟีฟ่า
ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 8–0 กัมพูชา ธงชาติกัมพูชา
(มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์; 24 มีนาคม ค.ศ. 2013)
แพ้สูงสุด
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 15–0 ฟิลิปปินส์ ธงชาติฟิลิปปินส์
(โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น; 28 กันยายน ค.ศ. 1967)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2019)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม, (2019)
เอเอฟซีแชลเลนจ์คัพ
เข้าร่วม3 (ครั้งแรกใน 2006)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (2014)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน
เข้าร่วม11 (ครั้งแรกใน 1996)
ผลงานดีที่สุดรอบรองชนะเลิศ (2010, 2012, 2014, 2018)

ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ฟิลิปปินส์มีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬาตะวันออกไกลร่วมกับญี่ปุ่นและจีน[4] ฟิลิปปินส์ไม่เคยเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย และเคยเข้าร่วมรายการเอเชียนคัพเพียงครั้งเดียวใน ค.ศ. 2019 ผลงานที่ดีที่สุดในการแข่งขันระดับนานาชาติ คือ เอเอฟซีชาเลนจ์คัพ 2014 ซึ่งพวกเขาจบด้วยอันดับรองชนะเลิศจากการแพ้ปาเลสไตน์[5]

ฟิลิปปินส์แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด โดยกีฬาที่คนฟิลิปปินส์นิยมมากที่สุดคือบาสเกตบอลและมวยสากล อันเป็นผลมาจากการปกครองของสหรัฐในอดีต ทำให้การพัฒนากีฬาฟุตบอลในประเทศขาดความต่อเนื่อง หลายครั้งที่ฟิลิปปินส์มีส่วนร่วมในรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนและจบเพียงอันดับสุดท้ายของกลุ่ม อย่างไรก็ตาม พวกเขาพัฒนาทีมขึ้นนับตั้งแต่ทศวรรษ 2010 การพัฒนากีฬาฟุตบอลเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยได้รับการสนับสนุนจากแฟนฟุตบอลในประเทศ ส่งผลให้พวกเขาได้ร่วมแข่งขันรายการใหญ่ระดับทวีปเป็นครั้งแรกในเอเชียนคัพ 2019

ประวัติ แก้

ยุคแรก (1910–40) แก้

 
ทีมชาติฟิลิปปินส์ในการแข่งขันกีฬาตะวันออกไกล 1930

ในยุคแรก ทีมชาติฟิลิปปินส์ลงแข่งขันในรายการกีฬาตะวันออกไกล จัดแข่งขันครั้งแรกใน ค.ศ. 1913 และครั้งสุดท้ายใน ค.ศ. 1934 รายการดังกล่าวเป็นรายการระดับภูมิภาครายการแรกนับตั้งแต่บริติชโฮมแชมเปียนชิป ฟิลิปปินส์มักจะแข่งกับญี่ปุ่นและจีนเป็นส่วนมาก เอาชนะจีนด้วยผลประตู 3–1 ในการแข่งขันครั้งแรก ถัดมาในการแข่งขัน ค.ศ. 1917 พวกเขาพบกับชัยชนะด้วยผลประตูที่ขาดลอยที่สุดมาถึงปัจจุบัน โดยเอาชนะญี่ปุ่นด้วยผลประตู 15–2[6][7]

ภายหลังการแข่งขันกีฬาตะวันออกไกลยุติลง ฟิลิปปินส์ร่วมแข่งขันรายการเอเชียนส์เกมตะวันออก ใน ค.ศ. 1940 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 2600 ปีของการก่อตั้งจักรวรรดิญี่ปุ่นโดยจักรพรรดิจิมมุ พวกเขาจบอันดับสามตามหลังญี่ปุ่นซึ่งเป็นแชมป์ และจีน[8][9]

ตกต่ำ (1950–90) แก้

วงการฟุตบอลของฟิลิปปินส์เข้าสู่ยุคตกต่ำในช่วงทศวรรษ 1950 จากปัญหาการเงิน และพวกเขาแทบจะไม่ได้รับความสนใจจากสื่อเลยแม้จะเป็นเจ้าภาพรายการกระชับมิตรกับทีมต่างประเทศ แต่ในช่วงเวลานั้นทีมยังค้นพบผู้เล่นพรสวรรค์หลายคนจากการแข่งขันฟุตบอลลีกในมะนิลา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชุมชนชาวจีน-ฟิลิปปินส์ ทีมได้เข้าร่วมเอเชียนเกมส์ 1958 ที่กรุงโตเกียว มีผลงานโดดเด่นคือการชนะเจ้าภาพอย่างญี่ปุ่น 1–0 ในเกมที่ได้รับการวิจารณ์จากสื่อญี่ปุ่น[10] ทีมชาติฟิลิปปินส์ยังประสบปัญหาต่อเนื่องหลังจาก ค.ศ. 1958 ผู้เล่นคนสำคัญหลายรายได้ประกาศเกษียณตนเองจากการเล่นทีมชาติ สาเหตุหลักมาจากปัญหาเรื่องค่าตอบแทนที่ได้รับจากการรับใช้ชาติ ผู้เล่นตัวหลัก อาทิ เอ็ด โบคัมโป และ เอดูอาร์โด ปาเชโก ผันตัวไปเป็นนักบาสเกตบอลอาชีพเนื่องจากค่าตอบแทนที่สูงกว่า

ต่อมา รัฐสภาฟิลิปปินส์ผ่านพระราชบัญญัติสาธารณรัฐ 3135 ที่แก้ไขกฎบัตรของสหพันธ์กรีฑาสมัครเล่นแห่งฟิลิปปินส์ซึ่งมีบทบัญญัติหรือกฎ 60-40 ที่กำหนดให้ทีมมีผู้เล่นชาวจีน และผู้เล่นอื่นที่มีเชื้อสายต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 40[11] อันนำมาซึ่งผลกระทบในแง่ลบ โดยผู้สนับสนุนหลักหลายรายได้ถอนตัวจากการสนับสนุกลีก รวมถึงการได้รับเงินทุนที่น้อยลงจากชุมชนชาวจีน-ฟิลิปปินส์ กฎ 60-40 ได้รับการต่อต้านในวงกว้างในวาระการดำรงตำแหน่งของประธานสหพันธ์ฟุตบอลฟิลิปปินส์ จอห์นนี โรมูอัลเดซ ทำให้กฎดังกล่าวถูกยกเลิกภายหลัง ค.ศ. 1982 เมื่อมีการจัดระบบสหพันธ์ใหม่กลายเป็น PFF อย่างในปัจจุบัน[12]

ทีมชาติฟิลิปปินส์ประสบกับความพ่ายแพ้ที่ย่อยยับที่สุดในขณะนั้นในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 1962 ที่กรุงจาการ์ตา แพ้ต่อมาเลเซียด้วยผลประตู 1–15 ก่อนที่สถิติอันย่ำแย่ดังกล่าวจะถูกทำลายในรอบคัดเลือกฟุตบอลโอลิมปิกฤดูร้อน 1968 เมื่อพวกเขาแพ้ญี่ปุ่น 0–15 บุคลากรต่างชาติหลายรายถูกว่าจ้างให้เข้ามาช่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาทีม อลัน โรเจอร์ ชาวอังกฤษ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ฝึกสอนหลังจากทีมแพ้มาเลเซีย รวมถึงการแต่งตั้ง ฆวน กูติยัส ชาวสเปน หลังจากทีมแพ้ญี่ปุ่น[13] และในช่วงต้นทศวรรษ 1960 สหพันธ์ฟุตบอลฟิลิปปินส์ได้ร่วมมือกับ ซานมิเกล คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทฟิลิปปินส์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในการค้นหานักกีฬาคุณภาพดีและทีมงานผู้ฝึกสอนคุณภาพเพื่อพัฒนาวงการกีฬา รวมถึงการจ้างนักศึกษาแพทย์ชาวสเปนซึ่งเชี่ยวชาญด้านฟุตบอล ได้แก่ ฟรานซิสโก เอสคาร์เต, เอนรีเก เดอ ลา มาตา, เคลาดิโอ ซันเชซ และ ฆวน กูติยัส[14]

ใน ค.ศ. 1971 ฆวน กูติยัส ผู้ฝึกสอนได้คัดเลือกผู้เล่นต่างชาติห้าคนมาร่วมทีมชาติชุดใหญ่ ประกอบด้วยชาวสเปนสี่คนและชาวจีนหนึ่งคน ทีมชาติฟิลิปปินส์ร่วมแข่งขันรายการนานาชาติหลายรายการในขณะนั้น รวมถึง เมอร์เดกา ทัวร์นาเมนท์, จาการ์ตาทัวร์นาเมนท์ และ โคเรียคัพ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และยังมีผลงานไม่ดีในการพบกับทีมชาติไทย, สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ และทีมต้องประสบปัญหาเดิมอีกครั้ง เมื่อผู้เล่นสเปนตัวหลักจำนวนสี่คนถอนตัวจากการเล่นทีมชาติ และผันตัวไปเล่นบาสเกตบอลแทน ก่อนที่ทีมเริ่มจะกลับมาพัฒนาขึ้นโดยการคุมทีมของผู้ฝึกสอนชาวเยอรมัน เอ็คฮาร์ด เคราท์ซูน พาทีมจบอันดับ 4 ซีเกมส์ 1991 ที่มะนิลา เอาชนะมาเลเซียในรอบชิงชนะเลิศ 1–0 นอร์แมน เฟกิเดโร เป็นผู้ทำประตู[15]

ทศวรรษ 2000 แก้

 
ฟิล ยังฮัสแบนด์ เจ้าของสถิตินักเตะที่ลงสนามมากที่สุด และทำประตูมากที่สุดตลอดกาลของทีมชาติฟิลิปปินส์ ได้รับการยกย่องให้เป็นตำนานทีมชาติ[16][17]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 ทีมชาติฟิลิปปินส์ตกไปอยู่อันดับ 195 ตามการจัดอันดับโดยฟีฟ่า ถือเป็นอันดับที่ย่ำแย่ที่สุดนับตั้งแต่มีการก่อตั้งทีม[18] ก่อนจะทำอันดับขึ้นสู่อันดับ 171 ในปลายปีนั้น จากผลงานในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007 รอบคัดเลือก[19] พวกเขาชนะสามนัดรวดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทีม ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบสุดท้าย อริสตัน แคสลิบ ผู้ฝึกสอนในขณะนั้นตั้งเป้าหมายพาทีมผ่านรอบแบ่งกลุ่มเพื่อเข้าสู่รอบรองชนะเลิศให้ได้ ในขณะที่ จอห์นนี โรมูอัลเดซ ประธานสหพันธ์ไม่ต้องการตั้งความหวังสูงเกินไปโดยมองว่าพวกเขายังเปรียบเสมือนทีมรองบ่อน โดยก่อนหน้านี้พวกเขาเพิ่งชนะในการแข่งขันรอบสุดท้ายครั้งแรกในรอบแบ่งกลุ่ม ค.ศ. 2004[20]

ทีมชาติฟิลิปปนส์ตกรอบแรกในการแข่งขันรอบสุดท้ายตามที่สหพันธ์คาดการณ์ โดยทำได้เพียงเสมอหนึ่งนัดและแพ้สองนัด นำไปสู่การลาออกของแคสลิบ[21] และสหพันธ์ฟุตบอลฟิลิปปินส์ได้ปฏิเสธการเข้าร่วมฟุตบอลโลก 2006 และ 2010 รอบคัดเลือก[22] โดยมีการเปิดเผยว่าสหพันธ์ต้องการมุ่งเน้นไปที่การแข่งขันภายในประเทศและระดับภูมิภาคมากกว่า[23] พวกเขาไม่ได้เข้าร่วม เอเอฟซีชาเลนจ์คัพ 2008 ด้วยผลต่างประตูได้เสียที่เป็นรอง รวมถึงตกรอบคัดเลือกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2008 แดน พาลามี นักธุรกิจ และผู้อุปถัมภ์กีฬาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมใน ค.ศ. 2009 โดยทีมชาติยังคงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลานั้น พาลามีได้ใช้เงินทุนส่วนตัวลงทุนเพื่อพัฒนาทีม นับตั้งแต่รับหน้าที่ดูแลทีมชาติ เขาได้คิดแผนชื่อว่า "โครงการ 100" ซึ่งมีแผนจะทำให้ทีมเป็นหนึ่งใน 100 ทีมชาติที่ดีที่สุดในโลกในแง่ของการจัดอันดับฟีฟ่า ชาวฟิลิปปินส์ที่เกิดในต่างประเทศหลายคนถูกเรียกมาเล่นให้กับทีมชาติ[24] มีผู้เล่นที่โดดเด่นที่สุดในช่วงเวลานั้นคือ ฟิล ยังฮัสแบนด์ ลูกครึ่งชาวอังกฤษ-ฟิลิปปินส์ ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเจ้าของสถิตินักเตะที่ลงสนามมากที่สุด และทำประตูประตูมากที่สุดตลอดกาลของทีมชาติฟิลิปปินส์

พัฒนาทีม (2010–20) แก้

 
การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก ระหว่างฟิลิปปินส์และเกาหลีเหนือ ณ กรุงเปียงยาง เกมจบลงโดยเสมอกัน 0–0
 
ผู้เล่นฟิลิปปินส์ฉลองการเข้าร่วมเอเชียนคัพ 2019 เป็นครั้งแรก

ทีมชาติฟิลิปปินส์มีขวัญกำลังใจที่ดีในการลงแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2010 ภายใต้ผู้ฝึกสอน ไซมอน แมคเมเนมี พาทีมผ่านรอบแบ่งกลุ่ม เข้าสู่รอบรองชนะเลิศเป็นครั้งแรก โดยมีชัยชนะที่สำคัญคือการชนะเจ้าภาพร่วมอย่างเวียดนาม 2–0 ได้รับการยกย่องเป็นนัดที่มีผลการแข่งขันเหนือความคาดหมายที่สุดนัดหนึ่งในประวัติศาสตร์รายการ[25] และสื่อในประเทศฟิลิปปินส์ยกย่องว่าเป็น "ปาฏิหาริย์แห่งฮานอย"[26] และแม้จะแพ้อินโดนีเซียในรอบรองชนะเลิศด้วยผลประตูรวมสองนัด 0–2 แต่ก็ได้รับเสียงชื่นชมอย่างมาก โดยรายการนี้เป็นการปลุกกระแสความสนใจกีฬาฟุตบอลภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น แม้จะมีบาสเกตบอลเป็นกีฬาประจำชาติมาหลายปี[27]

มิชชาเอล ไวส์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ฝึกสอนในปีต่อมา ทีมผ่านรอบคัดเลือก เอเอฟซีชาเลนจ์คัพ 2012 และทีมยังพบชัยชนะในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก เอาชนะศรีลังกา 4–0[28] ก่อนจะแพ้คูเวตทั้งสองนัดในรอบที่สอง ฟิลิปปินส์ยังชนะการแข่งขันรายการพิเศษ พีช คัพ ซึ่งพวกเขาเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นการชนะเลิศถ้วยรางวัลแรกนับตั้งแต่การชนะเลิศกีฬาตะวันออกไกล ค.ศ. 1913 ทีมยังทำผลงานยอดเยี่ยมต่อเนื่อง ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2012 ได้อีกครั้ง แต่แพ้เจ้าภาพอย่างสิงคโปร์ไปอย่างสูสีด้วยผลประตูรวมสองนัด 0–1 ตามด้วยการคว้ารองแชมป์ เอเอฟซีชาเลนจ์คัพ 2014 และผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2014 อีกครั้งก่อนจะแพ้ไทยด้วยผลประตูรวมสองนัด 0–3[29] โดยสามารถยันเสมอที่มะนิลาด้วยผลประตู 0–0

โทมัส ดูลีย์ เข้ามาเป็นผู้ฝึกสอนตั้งแต่ ค.ศ. 2014–2018 พาทีมคว้าชัยชนะเกมเยือนในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกเป็นครั้งแรก โดยชนะกาตาร์ที่กรุงโดฮา ก่อนจะตกรอบที่สอง แม้จะผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกรอบที่ 3 ของเอเชียนคัพ ฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 ร่วมกับพม่า แต่พวกเขากลับไปมีผลงานย่ำแย่อีกครั้งโดยตกรอบแบ่งกลุ่มและไม่ชนะทีมใด เสมอสองนัด และแพ้หนึ่งนัด ตามด้วยการตกรอบฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก แต่พวกเขาได้ร่วมแข่งขันรายการใหญ่ระดับทวีปอย่างเอเชียนคัพ 2019 เป็นครั้งแรก แต่ตกรอบแรกโดยแพ้ทั้งสามนัด และสก็อตต์ คูเปอร์ เข้ามาเป็นผู้ฝึกสอนจนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน แก้

ฟิลิปปินส์มีความคาดหวังในการพัฒนาทีมอย่างต่อเนื่อง จากการประเดิมแข่งขันเอเชียนคัพครั้งแรก พวกเขาร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย โดยตกรอบจากการชนะได้สามนัด และตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนสองครั้งติดต่อกันในปี 2020 และ 2022

ภาพลักษณ์ แก้

ผู้สนับสนุน แก้

 
แฟนฟุตบอลทีมชาติฟิลิปปินส์

แฟนฟุตบอลของฟิลิปปินส์จัดตั้งกลุ่มเชียร์อย่างเป็นทางการในนาม อุลตร้า ฟิลิปปินส์[30] รวมถึงกลุ่ม The Kaholeros ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแฟนบอลในทวิตเตอร์ การรวมตัวกันของกลุ่มุอุลตร้า ฟิลิปปินส์ในฐานะทีมเยือนครั้งแรกนั้นไม่ใช่เกมฟุตบอล แต่เป็นการร่วมให้กำลังทีมสมาคมรักบี้ โดยรวมตัวกับ Philippine Air Force F.C. แฟนคลับทั้งสองกลุ่มผลัดกันเชียร์และร้องเพลงให้ทีมชาติในระหว่างเกม

ชุดแข่งขัน แก้

ชุดทีมเหย้า

 
 
 
 
 
 
 
 
 
2010–11
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2011
 
 
 
 
 
 
 
2012
 
 
 
 
 
 
2012–13
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2013
 
 
 
 
 
 
 
 
2013–2015
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2015–2016
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2016–2017
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2018
 
 
 
 
 
 
2019

ชุดทีมเยือน

 
 
 
 
 
 
2010–11
 
 
 
 
 
 
 
 
2011
 
 
 
 
 
 
2012–13
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2013
 
 
 
 
 
 
 
 
2013–2015
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2015–2016
 
 
 
 
 
 
 
2016–2017
 
 
 
 
 
 
 
 
2018
 
 
 
 
 
 
2019

ชื่อเรียก แก้

รายชื่อรหัสประเทศโดยฟีฟ่า ของฟิลิปปินส์คือ PHI โดยตัวย่อดังกล่าวถูกใช้ทั้งในฟีฟ่า, สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน[31] องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน กำหนดรหัสประเทศคือ PHL อย่างไรก็ตาม ทีมชาติฟิลิปปินส์มักเป็นที่รู้ในชื่อย่อ RP ซึ่งเป็นคำย่อของชื่อทางการของประเทศคือ Republika ng Pilipinas ซึ่งสื่อท้องถิ่นมักใช้เมื่อพูดถึงทีมว่า "RP Booters" หรือ "RP สิบเอ็ด" หมายถึงผู้เล่นทั้งสิบเอ็ดคนในทีม

ในปลายเดือนตุลาคม 2010 กรมการต่างประเทศได้ตัดสินใจเปลี่ยนตัวย่ออย่างเป็นทางการของประเทศจาก "RP" เป็น "PH" หรือ "PHL" เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO[32] ทีมชาติฟิลิปปิส์ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "Azkals" ชื่อนี้ตั้งขึ้นเมื่อชุมชนฟุตบอลออนไลน์ของฟิลิปปินส์เสนอชื่อเล่นว่า Calle Azul (ภาษาสเปน ซึ่งหมายถึงสีของชุดแข่งของพวกเขา) ซึ่งต่อมาได้แก้ไขเป็น Azul Calle ย่อเป็น AzCal และในที่สุดก็กลายเป็น Azkal ซึ่งเป็นคำที่ คล้ายกับคำว่า Askal ในภาษาฟิลิปีโน แปลว่า สุนัขข้างถนน[33]

พวกเขายังเป็นที่รู้จักกันในนาม "ดาวสามดวง" (Tri–Stars) ซึ่งได้มาจากดาวสามดวงบนธงชาติฟิลิปปินส์ แม้ว่าชื่อเล่นนี้จะไม่ค่อยเป็นที่นิยม[34]

สนามแข่ง แก้

สนามแข่งขันของทีมชาติฟิลิปปินส์
สนาม ความจุ ที่ตั้ง ใช้งานล่าสุด
  สนามกีฬาฟิลิปปิน 20,000 จังหวัดบูลาคัน v    ไทย
(25 พฤศจิกายน 2016; ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016)
  รีซัลเมโมเรียลสเตเดียม 12,873 มะนิลา v    ทาจิกิสถาน
(27 มีนาคม 2018; เอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก – รอบที่ 3)
  ปานาอัดปาร์กแอนด์สเตเดียม 9,825 บาโคโลด v    จีน
(15 ตุลาคม 2019; ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก)
  สนามกีฬาเซบู นครเซบู v    มาเลเซีย
(27 April 2014; กระชับมิตร)
  สนามกีฬากีริโน 5,000 จังหวัดอีโลโคสซูร์ v    Perth Glory FC
(26 June 2016; กระชับมิตร)

สถิติการแข่งขัน แก้

สถิติของทีมชาติฟิลิปปินส์ในฟุตบอลโลก
ปี ค.ศ. รอบสุดท้าย รอบคัดเลือก
รอบ แข่ง ชนะ เสมอ แพ ได้ เสีย รอบ แข่ง ชนะ เสมอ แพ ได้ เสีย
  1930 ถึง
  1938
ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน
  1950 ถอนตัว[35]
  1954 ถึง
  1962
ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน
  1966 ไม่ได้รับการยอมรับ[35]
  1970 ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน
  1974 ถอนตัว[35]
  1978 ถึง
  1994
ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน
  1998 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก รอบแรก 3 0 0 3 0 10
   2002 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก รอบแรก 6 0 1 5 2 29
  2006
  2010
ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน
  2014 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก รอบที่ 2 4 1 1 2 6 6
  2018 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก รอบที่ 2 8 3 1 4 8 12
  2022 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก รอบที่ 2 8 3 2 3 12 11
ทั้งหมด 0/21 - - - - - - 29 7 5 17 28 68

ผู้ฝึกสอน แก้

ตำแหน่ง รายชื่อ[36]
ผู้จัดการทีม   แดน พาลามี
หัวหน้าผู้ฝึกสอน   โทมัส ดูลีย์
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน   สจ๊วต ฮอลล์
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน   Joey Baroja
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู   Marvin Realpe
นักกายภาพบำบัด   Albert Graterol

นักเตะชุดปัจจุบัน แก้

รายชื่อผู้เล่น 27 คน สำหรับการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020 ระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 - 1 มกราคม พ.ศ. 2565[37]
จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ทีมชาติและจำนวนประตูที่ยิงได้นับถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 หลังแข่งขันกับ มัลดีฟส์

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1GK Quincy Kammeraad (2001-02-01) 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 (23 ปี) 0 0   ADT
1GK Kevin Ray Mendoza (1994-09-29) 29 กันยายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 1 0   Kuala Lumpur City
1GK แบรนด์ ชิปมันน์ (1994-07-05) 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 (29 ปี) 3 0   ราชบุรี มิตรผล

2DF อมานี อกีนัลโด (1995-04-24) 24 เมษายน ค.ศ. 1995 (29 ปี) 38 0   หนองบัว พิชญ
2DF Justin Baas (2000-03-16) 16 มีนาคม ค.ศ. 2000 (24 ปี) 6 0   ยูไนเต็ดซิตี
2DF Matthew Custodio (1997-07-29) 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 0 0   ADT
2DF Mar Diano (1997-07-24) 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี) 1 0   ADT
2DF Yrick Gallantes (2001-01-14) 14 มกราคม ค.ศ. 2001 (23 ปี) 1 0   ADT
2DF Christian Rontini (1999-07-20) 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 (24 ปี) 1 0   ADT
2DF Jesper Nyholm (1993-09-10) 10 กันยายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 0 0   Djurgårdens IF
2DF ไดซูเกะ ซาโตะ (1994-09-20) 20 กันยายน ค.ศ. 1994 (29 ปี) 49 3   สุพรรณบุรี
2DF มาร์ติน สตูเบิล (1988-06-09) 9 มิถุนายน ค.ศ. 1988 (35 ปี) 46 3
2DF Jefferson Tabinas (1998-08-07) 7 สิงหาคม ค.ศ. 1998 (25 ปี) 3 0   มิโตะ ฮอลลีฮอก

3MF Oliver Bias (2001-06-15) 15 มิถุนายน ค.ศ. 2001 (22 ปี) 3 0   ADT
3MF Dennis Chung (2001-01-04) 4 มกราคม ค.ศ. 2001 (23 ปี) 0 0   ADT
3MF Kenshiro Daniels (1995-01-13) 13 มกราคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 22 1   คายา–อีโลอีโล
3MF Harry Föll (1998-03-02) 2 มีนาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 0 0   FC 08 Villingen
3MF เควิน อินเกรโซ (1993-02-10) 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (31 ปี) 29 3   บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
3MF Oskari Kekkonen (1999-09-24) 24 กันยายน ค.ศ. 1999 (24 ปี) 0 0   ADT
3MF Amin Nazari (1993-04-26) 26 เมษายน ค.ศ. 1993 (30 ปี) 2 0   ยูไนเต็ดซิตี
3MF Mike Ott (1995-03-02) 2 มีนาคม ค.ศ. 1995 (29 ปี) 24 3   ยูไนเต็ดซิตี
3MF เอียน แรมซีย์ (1988-02-27) 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 (36 ปี) 33 5   หนองบัว พิชญ
3MF Sandro Reyes (2003-03-29) 29 มีนาคม ค.ศ. 2003 (21 ปี) 0 0   ADT
3MF Stephan Schröck (กัปตันทีม) (1986-08-21) 21 สิงหาคม ค.ศ. 1986 (37 ปี) 47 6   ยูไนเต็ดซิตี

4FW Ángel Guirado (1984-12-09) 9 ธันวาคม ค.ศ. 1984 (39 ปี) 42 12   Alhaurín de la Torre
4FW Bienvenido Marañón (1986-05-15) 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1986 (37 ปี) 0 0   ยูไนเต็ดซิตี
4FW แพทริค ไรเซลท์ (1988-06-05) 5 มิถุนายน ค.ศ. 1988 (35 ปี) 64 10   สุพรรณบุรี

อ้างอิง แก้

  1. John Duerden (5 October 2015). "'We could be the second Argentina': Tom Dooley on coaching the Philippines | Football". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 October 2015.
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  3. Motoaki Inukai 「日本代表公式記録集2008」 Japan Football Association p.206
  4. "Far Eastern Games". www.rsssf.com.
  5. MOORE, By ROY. "Azkals forced to settle for second place at 2014 AFC Challenge Cup". GMA News Online (ภาษาอังกฤษ).
  6. "News | Asian Cup". web.archive.org. 2014-12-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-25. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. "Philippine Daily Inquirer - Google ค้นคลังข่าว". news.google.com.
  8. Collins, Sandra (2014). 1940 TOKYO GAMES – COLLINS: Japan, the Asian Olympics and the Olympic Movement. Routledge. pp. 179–180. ISBN 978-1317999669.
  9. "2600th Anniversary of the Japanese Empire 1940 (Tokyo)". www.rsssf.com.
  10. Ochoa, Francis T. J. (2011-06-25). "PH football renaissance feeding off Azkals' rise". INQUIRER.net (ภาษาอังกฤษ).
  11. Philippine Football: Its Past, Its Future (ภาษาอังกฤษ). University of Asia and the Pacific. 2016. ISBN 978-621-8002-29-6.
  12. "Philippine Football Federation". web.archive.org. 2015-02-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. "Manila Standard - Google ค้นคลังข่าว". news.google.com.
  14. "History of Football in the Philippines". web.archive.org. 2006-02-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-04. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. "New Straits Times - Google ค้นคลังข่าว". news.google.com.
  16. "Philippines legend Phil Younghusband announces retirement". the-AFC (ภาษาอังกฤษ).
  17. Neil (2019-11-18). "Azkals legend Phil Younghusband hangs up his boots". BusinessWorld Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  18. "FIFA.com". web.archive.org. 2007-07-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-05. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  19. "ROBB.01". AFF - The Official Website Of The Asean Football Federation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-01-04.
  20. "FindArticles.com | CBSi". findarticles.com.
  21. "Soccer-Philippines coach to quit national team, coach youngsters". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2007-02-22. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  22. "Record entries for SA World Cup" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2007-03-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  23. "FIFA.com - Philippines making Asian waves". web.archive.org. 2008-06-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-27. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  24. Wilson, Jonathan; Auclair, Philippe; Smyth, Rob; Lowe, Sid; Macintosh, Iain; Montague, James; Hunter, Graham; Delaney, Miguel; Vickery, Tim (2014-03-03). The Blizzard - The Football Quarterly: Issue Twelve (ภาษาอังกฤษ). Blizzard Media Ltd.
  25. "FIFA.com - Philippines stun defending champions". web.archive.org. 2010-12-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-10. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  26. Tupas, Cedelf P. (2012-11-27). "PH eleven remembers the miracle of Hanoi". INQUIRER.net (ภาษาอังกฤษ).
  27. "'AZKALS' seek morale support". web.archive.org. 2015-04-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  28. "FIFA.com - 2014 FIFA World Cup Brazil™". web.archive.org. 2011-06-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-29. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.
  29. News, G. M. A. "Azkals fall to superior Thailand, 3-nil, to bow out of Suzuki Cup semis". GMA News Online (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  30. "September 2013 DMM Podcast: an interview with Hans Clevers". Disease Models & Mechanisms. 6 (5): e1–e1. 2013-09-01. doi:10.1242/dmm.013961. ISSN 1754-8411.
  31. "FIFA.com - Philippines (PHI)". web.archive.org. 2007-06-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  32. Lee-Brago, Pia. "DFA junks 'RP' for 'PH' or 'PHL'". Philstar.com.
  33. "Limpag: I started a joke... | Sun.Star". web.archive.org. 2011-04-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-06. สืบค้นเมื่อ 2021-12-29.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  34. "Football (Soccer) Team Nicknames". www.topendsports.com.
  35. 35.0 35.1 35.2 "History of the FIFA World Cup Preliminary Competition (by year)" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-08.
  36. "Technical Staff". The Philippine Azkals Official Website (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  37. "Azkals gear up for AFF Suzuki Cup 2020". The Azkals. 27 November 2021. สืบค้นเมื่อ 27 November 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้