ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก.

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (อังกฤษ: Kor Royal Cup) หรือชื่อเดิม ถ้วยใหญ่ (เปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2505) เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานระดับชั้นที่ 1 ของประเทศไทย โดยจัดการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2459 พร้อมกับ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. หรือ ถ้วยน้อย โดย สโมสรกรมมหรสพ ได้ตำแหน่งชนะเลิศในรายการนี้เป็นสโมสรแรก

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก.
ก่อตั้ง2459
ยุติ2559
ประเทศ ไทย
สมาพันธ์เอเอฟซี
จำนวนทีม2 (ตั้งแต่ 2539)
ระดับในพีระมิด1 (2459-2538)
ทีมชนะเลิศสุดท้ายบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (สมัยที่ 4)
(2559)
ชนะเลิศมากที่สุดทหารอากาศ
(12 สมัย)

ต่อมาได้มีการเปลื่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขัน ในปี พ.ศ. 2539 เมื่อ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีการจัดการแข่งขัน ไทยลีก ขึ้น ทำให้มีการปรับปรุงให้เป็นการแข่งขันในรูปแบบซูเปอร์คัพ โดยเป็นการแข่งขันระหว่าง สโมสรชนะเลิศของลีก กับ สโมสรชนะเลิศ ไทยเอฟเอคัพ (ต่อมา เมื่อมีการว่างเว้นการแข่งขัน เอฟเอ คัพ ในปี 2545 จึงได้นำสโมสรรองชนะเลิศของลีกมาทำการแข่งขันแทน จนถึงปี 2552)

ต่อมาในปี 2560 ได้มีการยกเลิก การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. โดยแปรสภาพเป็นการแข่งขัน ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับการแข่งขัน ถ้วย ก. เหมือนเช่นที่ผ่านมา[1]

ประวัติ แก้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรครั้งแรกในประเทศ โดยมีชื่อการแข่งขันว่า การแข่งขันฟุตบอลสำหรับพระราชทานถ้วยทองของหลวง ขึ้นเมื่อปี 2458 โดยสโมสรที่เข้าร่วม ส่วนใหญ่เป็นสโมสรของทหาร ตำรวจ เสือป่า และข้าราชบริพาร[2]

ต่อมา เมื่อมีการสถาปนา คณะฟุตบอลแห่งสยาม เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2459 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลแด่สโมสรชนะเลิศ ก็คือ ถ้วยใหญ่ และ ถ้วยน้อย ให้แก่คณะฯ เพื่อจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร ชิงถ้วยพระราชทานประจำปี ณ สนามเสือป่า โดยสโมสรชนะเลิศจะได้นำไปครอบครองเป็นเวลา 1 ปี โดยเริ่มต้นจัดขึ้น ในช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน[3]

เปลื่ยนชื่อการแข่งขัน แก้

ต่อมา ในปี 2505 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ขอพระราชทานถ้วยพระราชทานเพิ่มเติม คือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อ ฟุตบอลถ้วยใหญ่ และ ฟุตบอลถ้วยน้อย เป็น ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. โดยยึดหลักตามแบบ ฟุตบอลลีกของประเทศอังกฤษในขณะนั้น[2]

ปรับปรุงการแข่งขัน แก้

ต่อมาในปี 2539 เมื่อ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีการปรับปรุงการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร ให้มีความเป็นมืออาชีพ จึงได้มีการแข่งขัน ไทยแลนด์ลีก ขึ้น โดยได้ยก การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. เป็นการแข่งขันในรูปแบบซูเปอร์คัพ โดยจะนำ สโมสรชนะเลิศของลีก กับ สโมสรชนะเลิศ ไทยเอฟเอคัพ มาทำการแข่งขันแบบนัดเดียวรู้ผล ในสนามที่เป็นกลางแทน (รูปแบบเดียวกับ เอฟเอ คอมมูนิตี ชีลด์ ของอังกฤษ) จนกระทั่งในปี 2545 จึงได้มีการนำสโมสรรองชนะเลิศของลีก มาทำการแข่งขัน โดยจะจัดขึ้นก่อนหน้า การแข่งขันลีก ประมาณ 1 สัปดาห์

กระทั่งในปี 2553 ที่ได้กลับมาจัดการแข่งขัน ไทยเอฟเอคัพ จึงมีการปรับปรุงอีกครั้ง ให้เป็นการแข่งขันก่อนเปิดฤดูกาล ระหว่างสโมสรชนะเลิศ ไทยพรีเมียร์ลีก แข่งขันกับ สโมสรชนะเลิศ ไทยเอฟเอคัพ หรือถ้าหากสโมสรชนะเลิศทั้ง 2 รายการเป็นสโมสรเดียวกัน ก็จะแข่งกับสโมสรรองชนะเลิศของไทยพรีเมียร์ลีกแทน[4] ด้านการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. , ค. และ ง. จะเป็นเป็นการแข่งขันประจำฤดูกาล ในระดับชั้นรองลงมาของ โซนกรุงเทพฯ ตามลำดับ โดยสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ถ้วยพระราชทานประเภท ข. จะได้เลื่อนชั้นไปแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โซนกรุงเทพฯ ในฤดูกาลถัดไป

ในปี 2559 สมาคมฯ ได้ทำการยุบการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข., ค. และ ง. โดยรวมกันเป็น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 3[5] ต่อมา ทางสมาคมฯ ได้โอน ถ้วยพระราชทานประเภท ก. ไปเป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ไทยลีก ถ้วยพระราชทานประเภท ข. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ค. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 2 และ ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ง. เป็นถ้วยสำหรับแชมป์ ดิวิชั่น 3 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน สิ้นสุดลง แต่รูปแบบการแข่งขันยังคงเดิม แต่ได้มีการเปลี่ยนชื่อการแข่งขัน และ ถ้วยรางวัล ในนามการแข่งขัน ไทยแลนด์ แชมเปียนส์คัพ โดยเริ่มตันจัดในปี 2560 เป็นต้นไป[1]

รายนามสโมสรชนะเลิศ แก้

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยใหญ่ (2459-2504) และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (2505-2538) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรสูงสุดของประเทศ[6]

ฟุตบอลถ้วยใหญ่ (2459-2504) แก้

ครั้งที่ ประจำปี สโมสรชนะเลิศ
1 2459 กรมมหรสพ
2 2460 มหาดเล็กหลวง
3 2461 มหาดเล็กหลวง
4 2462 มหาดเล็กหลวง
5 2463 จุฬาลงกรณ์ฟุตบอลสโมสร
6 2464 โรงเรียนนายร้อยทหารบก
7 2465 โรงเรียนนายร้อยทหารบก
8 2466 โรงเรียนนายเรือ
9 2467 โรงเรียนนายเรือ
ปี 2468 ไม่มีการแข่งขัน
10 2469 กองเดินรถ
11 2470 กองเดินรถ
12 2471 สวนกุหลาบวิทยาลัย
13 2472 สวนกุหลาบวิทยาลัย
14 2473 อัสสัมชัญ
15 2474 ไปรษณีย์
ปี 2475 - 2490 ไม่มีการแข่งขัน
16 2491 บางรัก
17 2492 อัสสัมชัญ
ปี 2493 ไม่มีการแข่งขัน
18 2494 ชายสด
19 2495 ทหารอากาศ
20 2496 ทหารอากาศ
21 2497 จีนแคะ
22 2498 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์ฯ
23 2499 สโมสรไหหลำแห่งประเทศไทย
24 2500 ทหารอากาศ
25 2501 ทหารอากาศ
26 2502 ทหารอากาศ
27 2503 ทหารอากาศ
28 2504 ทหารอากาศ

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (2505-2538) แก้

ครั้งที่ ปี ทีมที่ชนะเลิศ
29 2505 ทหารอากาศ
30 2506 ทหารอากาศ
31 2507 ธนาคารกรุงเทพ
32 2508 ตำรวจ
33 2509 ธนาคารกรุงเทพ
34 2510 ธนาคารกรุงเทพ - ทหารอากาศ (ชนะเลิศร่วมกัน)
35 2511 ตำรวจ
36 2512 ธนาคารกรุงเทพ
37 2513 การท่าเรือแห่งประเทศไทย
38 2514 ราชวิถี
39 2515 ราชประชานุเคราะห์
40 2516 ราชประชานุเคราะห์
41 2517 การท่าเรือแห่งประเทศไทย
42 2518 ราชวิถี
43 2519 การท่าเรือแห่งประเทศไทย
44 2520 ราชวิถี
45 2521 การท่าเรือแห่งประเทศไทย
46 2522 การท่าเรือแห่งประเทศไทย
47 2523 ราชประชา
48 2524 ธนาคารกรุงเทพ
49 2525 ราชประชา
50 2526 ทหารบก
51 2527 ธนาคารกรุงเทพ
52 2528 การท่าเรือแห่งประเทศไทย
53 2529 ธนาคารกรุงเทพ
54 2530 ทหารอากาศ
55 2531 ธนาคารกรุงไทย
56 2532 ธนาคารกรุงเทพ
57 2533 การท่าเรือแห่งประเทศไทย
58 2534 ธนาคารกสิกรไทย
59 2535 ธนาคารกสิกรไทย
60 2536 ธนาคารกสิกรไทย
61 2537 ธนาคารกรุงเทพ
62 2538 ธนาคารกสิกรไทย

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (2539-2559) แก้

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (2539-2559) ในการแข่งขันฟุตบอลระบบซูเปอร์คัพ[2]

สโมสรชนะเลิศลีก กับ สโมสรชนะเลิศ ไทยเอฟเอคัพ (2539-2542) แก้

ครั้งที่ ปี ทีมที่ชนะเลิศ ในฐานะ ผลการแข่งขัน ทีมรองชนะเลิศ ในฐานะ
63 2539 ทหารอากาศ แชมป์เอฟเอคัพ 1 – 1
(ดวลจุดโทษ 5-4)
ธนาคารกรุงเทพ แชมป์ไทยลีก
64 2540 สินธนา แชมป์เอฟเอคัพ 1 – 0 ทหารอากาศ แชมป์ไทยลีก
65 2541 สินธนา แชมป์ไทยลีก 1 – 1
(ดวลจุดโทษ 6-4)
ธนาคารกรุงเทพ แชมป์เอฟเอคัพ
66 2542 ธนาคารกสิกรไทย แชมป์เอฟเอคัพ 4 – 1 ทหารอากาศ แชมป์ไทยลีก

สโมสรชนะเลิศลีก กับ สโมสรรองชนะเลิศลีก (2543-2551) แก้

ครั้งที่ ปี ทีมที่ชนะเลิศ
67 2543 บีอีซี เทโรศาสน
68 2544 โอสถสภา
69 2545 ธนาคารกรุงไทย
70 2546 ธนาคารกรุงไทย
71 2547/48 พนักงานยาสูบ
72 2549 โอสถสภา เอ็ม-150
73 2550 ชลบุรี เอฟซี
74 2551 ชลบุรี เอฟซี

สโมสรชนะเลิศลีก กับ สโมสรชนะเลิศ ไทยเอฟเอคัพ (2553-2559) แก้

ครั้งที่ ปี ชนะเลิศ ผู้ทำประตู ผล ผู้ทำประตู รองชนะเลิศ
75 2552 เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด โคเน่ โมฮัมเหม็ด 67'
ดักโน่ เซียก้า 81'
2 – 0 การท่าเรือไทย
76 2553 ชลบุรี เอฟซี สุรีย์ สุขะ 65'
เอกพันธ์ อินทเสน 85'
2 – 1 คริสเตียน ควาคู 88' เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด
77 2555 ชลบุรี เอฟซี อดุลย์ หละโสะ 45'
ลูโดวิค ทาคาม 95'
2 – 2
(จุดโทษ 4 - 3)
ธีราทร บุญมาทัน 31'
แฟร้งค์ อาเชียมปง 33'
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
78 2556 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด รัมเซส บุสโตส 5',83' 2 – 0 เอสซีจี เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
79 2557 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เจย์ ซิมป์สัน 80' 1 – 0 เอสซีจี เมืองทองฯ ยูไนเต็ด
80 2558 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ดิโอโก หลุยส์ ซานโต 57' 1 – 0 บางกอกกล๊าส
81 2559 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ดิโอโก หลุยส์ ซานโต 14'
อันเดรส ตูเญซ (จุดโทษ) 65'
จักรพันธ์ แก้วพรม 83'
3 – 1 อดิศักดิ์ ไกรษร 78' เอสซีจี เมืองทองฯ ยูไนเต็ด

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 http://www.smmsport.com/reader.php?news=191882 เก็บถาวร 2017-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ชื่อใหม่ถ้วยใหม่! Thailand Champions Cup กิเลนหวดสุโขทัย - SMMSPORT.com
  2. 2.0 2.1 2.2 http://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-12-23-04/35-2017-07-19-13-29-52 บทความ เรื่อง "ถ้วยใหญ่แห่งสยามประเทศ" - SiamFootball
  3. http://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_85.htm ๘๕. คณะฟุตบอลแห่งชาติสยาม (๕) - วชิราวุธวิทยาลัย
  4. https://sport.mthai.com/other/5833.html เก็บถาวร 2020-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฟุตบอล ชิงถ้วยพระราชทาน ก ประจำปี 2553 - MThai.com
  5. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/41244 “ทนายอ๊อด” เตรียมยื่นร้อง กกท. หลังส.บอลจัด ดี3 - PPTV 36
  6. http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=64633.10;wap2 เก็บถาวร 2021-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำหรับคนที่ไม่รู้จักบอลถ้วยพระราชทาน ก ข ค ง นั้น ก็อย่ามาดูบอลไทยเลย ... - ไทยแลนด์สู้ๆ

ดูเพิ่ม แก้