ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47

การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562 โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 4 ทีม คือ ไทย (เจ้าภาพ), เวียดนาม, อินเดีย และกือราเซา[1] และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ครั้งที่ 43 ที่จัดขึ้นนอกกรุงเทพมหานคร โดยครั้งนี้จะแข่งขันกันที่จังหวัดบุรีรัมย์[2]

คิงส์คัพ 2019
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพไทย ประเทศไทย
เมืองจังหวัดบุรีรัมย์
วันที่5 – 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ทีมธงชาติไทย ไทย
ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม
ธงชาติอินเดีย อินเดีย
ธงชาติกูราเซา กูราเซา (จาก 2 สมาพันธ์)
สถานที่ช้างอารีนา (ใน 1 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศธงชาติกูราเซา กูราเซา (สมัยที่ 1)
รองชนะเลิศธงชาติเวียดนาม เวียดนาม
อันดับที่ 3ธงชาติอินเดีย อินเดีย
อันดับที่ 4ธงชาติไทย ไทย
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน4
จำนวนประตู(2 ประตูต่อนัด)
2018
2022

ทีมที่เข้าร่วม แก้

ประเทศ สมาคม สมาพันธ์ อันดับโลกฟีฟ่า1 ผลงานที่ดีที่สุดครั้งที่ผ่านมา
  ไทย (เจ้าภาพ) เอฟเอ ไทยแลนด์ เอเอฟซี 114 ชนะเลิศ (สิบห้าสมัย; สมัยล่าสุด: 2017)
  กูราเซา2 เอฟเอฟเค คอนคาแคฟ 82 ครั้งแรก
  อินเดีย อินเดีย เอฟเอ เอเอฟซี 101 อันดับ 3 (1977)
  เวียดนาม วีเอฟเอฟ เอเอฟซี 98 รองชนะเลิศ (2006)
  • 1 อันดับโลกฟีฟ่า ณ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562.[3]
  • 2 กือราเซา แทนที่ เอลซัลวาดอร์ ที่ขอถอนทีมออกจากการแข่งขัน. เอลซัลวาดอร์ทีมตัวเองแทนที่ จีน ซึ่งตอนแรกก็วางแผนที่จะได้เข้าร่วมการแข่งขัน.[4]

สถานที่แข่งขัน แก้

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยืนยันว่า การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพครั้งที่ 47 นี้จะไม่แข่งขันที่สนามราชมังคลากีฬาสถานอย่างเช่น 3 ครั้งก่อนหน้า เพราะอยู่ในช่วงการปรับปรุงสำหรับรองรับการเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ. 2563 และจะใช้สนามในต่างจังหวัดที่ผ่านมาตรฐาน A-Class ของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย และเดินทางได้สะดวกในการจัดการแข่งขันครั้งนี้แทน[5] โดยเบื้องต้นมี 3 สนามที่ถูกเสนอให้พิจารณาเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันครั้งนี้ คือ มิตรผลสเตเดียม ในจังหวัดราชบุรี, ช้างอารีนา ในจังหวัดบุรีรัมย์ และสนามกีฬากลางในจังหวัดสุพรรณบุรี[6] สุดท้าย ในวันที่ 5 เมษายน สมาคมฯ จึงเลือกช้างอารีนาเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันครั้งนี้[2]

จังหวัดบุรีรัมย์
ช้างอารีนา
(ธันเดอร์คาสเซิลสเตเดียม)
14°58′0″N 103°5′46″E / 14.96667°N 103.09611°E / 14.96667; 103.09611 (ช้างอารีนา)
ความจุ: 32,600 ที่นั่ง
 

ผู้เล่น แก้

นัด แก้

เวลาทั้งหมดเป็นเวลาท้องถิ่น, เวลาอินโดจีน (UTC+7)

กฎกติกาการแข่งขัน แก้

  • 90 นาที.
  • การดวลลูกโทษ ถ้าในกรณีที่จำเป็นโดยไม่มีการต่อเวลาพิเศษ.
  • เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้สูงสุด 3 คน.

สายการแข่งขัน แก้

  รอบรองชนะเลิศ นัดชิงชนะเลิศ
5 มิถุนายน - บุรีรัมย์
   กูราเซา  3  
   อินเดีย  1  
 
8 มิถุนายน - บุรีรัมย์
       กูราเซา  1 (5)
     เวียดนาม  1 (4)
นัดชิงอันดับที่ 3
5 มิถุนายน - บุรีรัมย์ 8 มิถุนายน - บุรีรัมย์
   ไทย  0    อินเดีย  1
   เวียดนาม  1      ไทย  0

รอบรองชนะเลิศ แก้


นัดชิงอันดับที่ 3 แก้

นัดชิงชนะเลิศ แก้

อันดับการแข่งขัน แก้

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน สรุปผลงาน
1   กูราเซา 2 1 1 0 4 2 +2 4 แชมเปียนส์
2   เวียดนาม 2 1 1 0 2 1 +1 4 รองชนะเลิศ
3   อินเดีย 2 1 0 1 2 3 −1 3 อันดับ 3
4   ไทย (H) 2 0 0 2 0 2 −2 0 อันดับ 4
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
(H) เจ้าภาพ.

การถ่ายทอดสด แก้

ประเทศ สถานีโทรทัศน์ สตรีมมิงอย่างเป็นทางการ อ้างอิง
  อินเดีย Star Sports 3 Hotstar [7][8]
  ไทย ไทยรัฐทีวี [8][9]
  เวียดนาม VTC Digital Television [8][10]

อ้างอิง แก้

  1. สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (9 เมษายน 2562). "สมาคมฯ ยืนยัน กือราเซา ตอบรับเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอล คิงส์ คัพ ครั้งที่ 47". fathailand.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-14. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (5 เมษายน 2562). "คณะกรรมการเลือกสนาม "ช้าง อารีนา" จัดฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 47". fathailand.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-06. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. FIFA.com. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking - Ranking Table - FIFA.com". FIFA.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  4. Lam, Thoa (9 May 2019). "Vietnam to play Thailand in first King's Cup game". VN Express. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
  5. สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (22 มีนาคม 2562). "นายกสมาคมฯ ขอบคุณทัพ "ช้างศึก" สร้างผลงานให้แฟนบอลชาวไทยมีรอยยิ้ม". fathailand.org. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. สยามกีฬารายวัน (1 เมษายน 2562). "ศึกฟุตบอลคิงส์ คัพ รู้สังเวียน 5 เม.ย.นี้". siamsport.co.th. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "King's Cup 2019: India vs Curacao live stream, updates, when and where to watch". Fox Sports Asia. 5 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-04. สืบค้นเมื่อ 6 June 2019.
  8. 8.0 8.1 8.2 "King's Cup 2019: Thailand vs Vietnam live stream, updates, when and where to watch". Fox Sports Asia. 5 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-04. สืบค้นเมื่อ 6 June 2019.
  9. "King's Cup 2019: Thailand vs India live stream, updates, when and where to watch". Fox Sports Asia. 8 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 9 June 2019.
  10. "King's Cup 2019: Vietnam vs Curacao live stream, updates, when and where to watch". Fox Sports Asia. 8 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 9 June 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้