ฟาโรห์โฮเทปอิบเร

โฮเทปอิบเร เกเมา ซีฮาร์เนดจ์เฮรีเทฟ (หรือ เซโฮเทปอิบเรที่ 1 หรือ เซโฮเทปอิบเรที่ 2 ขึ้นอยู่กับนักวิชาการ) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสามในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง

พระราชวงศ์ แก้

พระนามเต็ม "เกเมา ซิฮาร์เนดจ์เฮริเตฟ" มีความหมายว่า "พระราชโอรสแห่งเกเมา, ฮอรัส ผู้ซึ่งทรงถือครองพระราชอำนาจของพระองค์" และมีความเป็นไปได้ว่า พระองค์น่าจะเป็นพระราชโอรสของผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์นามว่า อเมนิ เกเมา และเป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 และรีฮอล์ตได้เสนอความเห็นเพิ่มเติมว่า พระราชบัลลังก์ของพระองค์ในภายหลังได้ตกแก่ฟาโรห์พระนามว่า อิยูฟนิ ซึ่งอาจจะเป็นพระเชษฐาธิราชหรือพระราชปิตุลาของพระองค์ หลังจากรัชสมัยที่มีระยะเวลาอันสั้นของฟาโรห์อิยูฟนิ พระราชบัลลังก์ก็ตกเป็นของพระราชนัดดาอีกพระองค์หนึ่งของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 5 พระนามว่า อเมนิ อันเตฟ อเมนเอมฮัตที่ 6[4]

หลักฐานรับรอง แก้

มีการค้นพบรูปสลักที่อุทิศให้แด่เทพพทาห์และปรากฏพระนามว่าในเมืองกันฏิร แต่ไม่ทราบตำแหน่งต้นกำเนิด วิหารและบล็อกหินจากอัล-อะเฏาเลาะที่ปรากฏพระนามของพระองค์ ขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ไคโร (Temp 25.4.22.3)[5] และพระองค์ยังเป็นที่ทราบจากกระบองที่ใช้ในพิธีซึ่งพบใน "หลุมฝังพระศพของเจ้าแห่งแพะ" ในเมืองเอบลา ทางเหนือของประเทศซีเรียในปัจจุบัน[6] กระบองดังกล่าวเป็นของขวัญจากฟาโรห์โฮเทปอิบเรให้แก่กษัตริย์แห่งเอบลาพระนามว่า อิมเมยา ผู้ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยเดียวกันกับพระองค์[7] บางครั้งฟาโรห์โฮเทปอิบเรได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้โปรดให้สร้างพระราชวังที่เพิ่งค้นพบใหม่ในเมืองเทล เอ็ด-ดับอ์ (หรือ เมืองอวาริสในสมัยโบราณ)[8]

การสันนิษฐาน แก้

คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ นักไอยคุปต์วิทยาได้ระบุว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่หกของราชวงศ์ ซึ่งทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาตั้งแต่หนึ่งถึงห้าปี (หรือ อาจจะสามปี) ระหว่าง 1791 - 1788 ปีก่อนคริสตกาล[1][2] หรือ เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท และเดทเลฟ ฟรานเคอ ได้เสนอความเห็นว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่เก้าแห่งราชวงศ์ที่สิบสาม[9][10]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 120-121
  2. 2.0 2.1 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800-1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997
  3. Labib Habachi: Khatâ'na-Qantîr: Importance in Annales du Service des Antiquités de l'Égypte, Nr. 52 (1952), p. 460
  4. See Ryholt (1997), pp. 73, 208, 214-215 and 284
  5. See Ryholt (1997), p. 338, File 13/6
  6. Ryholt, K. "Hotepibre - A Supposed Asiatic King in Egypt with Relations to Ebla", Bulletin of the American Schools of Oriental Research 311, 1998, pp. 1–6.
  7. Matthiae, Paolo (2010). Ebla. La città del trono (ภาษาอิตาลี). Einaudi. pp. 218, 303, 349. ISBN 978-88-06-20258-3.
  8. Matthiae, Paolo (1997). "Ebla and Syria in the Middle Bronze Age". ใน Oren, Eliezer D. (บ.ก.). The Hyksos: new historical and archaeological perspectives. The University of Philadelphia, The University Museum. ISBN 0924171464., pp. 397-398.
  9. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt 1964, p. 39–40, 231–32 (XIII 8)
  10. Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46, Mainz am Rhein (1997)