ฟาโรห์เซเคเปอร์เอนเร

เซเคเปอร์เอนเร เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสี่ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ และดาร์เรล เบเกอร์ กล่าวว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ยี่สิบสองของราชวงศ์ ส่วนเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธมองว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สิบเจ็ด[1][2][3] ในฐานะกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่สิบสี่ พระองค์จะทรงปกครองครอบคลุมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะไปถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันตกด้วย โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอวาริส[1]

หลักฐานยืนยัน แก้

นอกเหนือจากฟาโรห์เนเฮซิ, ฟาโรห์เนบเซนเร และฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร พระองค์เป็นหนึ่งในฟาโรห์จำนวนสี่พระองค์จากราชวงศ์ที่สิบสี่ที่ยังคงหลงเหลือหลักฐานเกี่ยวกับพระองค์อยู่นอกเหนือจากในบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามของฟาโรห์ที่รวบรวมในช่วงต้นสมัยรามเสส[2] อันที่จริงแล้ว ยังปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระองค์อีกชิ้น คือ ตราประทับสคารับเพียงชิ้นที่ปรากฏพระนามของพระองค์ ซึ่งเป็นตราประทับที่บริจาคโดยอาเทอร์ เซอร์ริดจ์ ฮันท์ และไม่ทราบที่มา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แอชโมเลียน[1][2]

ตำแหน่งตามลำดับเวลา แก้

ตำแหน่งตามลำดับเวลารัชสมัยของพระองค์ในราชวงศ์ที่สิบสี่นั้นยังคงหลงเหลืออยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งกล่าวถึงพระองค์ในคอลัมน์ 9 บรรทัดที่ 16 (ในการอ่านแบบการ์ดิเนอร์ 8.16)[4] ตามการตีความบันทึกพระนามฯ ครั้งล่าสุดโดยไรโฮลท์ พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 2 เดือน และอีก 1 ถึง 5 วัน ในการศึกษาที่เชื่อถือได้ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับบันทึกพระนามฯ อลัน การ์ดิเนอร์ได้อ่านระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์ว่า 2 ปี[4] แต่ไรโฮลท์ยืนยันว่าจำนวนปีของรัชสมัยของพระองค์ในบันทึกพระนามนั้นไม่มีเลย[1] ในบันทึกพระนาม ปรากฏพระนามเพียงบางส่วนของผู้ปกครองก่อนหน้าว่า "[...]เร" และสืบพระราชบัลลังก์ต่อโดยฟาโรห์ดเจดเคเรวเร[1]

ตราประทับมีรูปแบบขด ซึ่งพบได้ทั่วไปในช่วงราชวงศ์ที่สิบสองถึงสิบสี่ และอาจจะใช้ลักษณะของตราประทับเพื่อเป็นหลักฐานสนับสนุนตำแหน่งตามลำดับเวลาและรัชสมัยของพระองค์ได้

ในทางกลับกัน มีการถกเถียงถึงตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่นอนของพระองค์ ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ และดาร์เรล เบเกอร์กล่าวไว้ พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ยี่สิบสองของราชวงศ์ที่สิบสี่[1] อย่างไรก็ตาม การตีความบันทึกพระนามฯ ใหม่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสี่โดยไรโฮลท์นั้นยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ เช่น มันเฟรด เบียตัค และเยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ เชื่อว่าราชวงศ์ที่สิบสี่สถาปนาขึ้นเพียงไม่นานก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์เนเฮซี หรือราวประมาณ 1710 ปีก่อนคริสตกาล แทนที่จะเป็น 1805 ปีก่อนคริสตกาล ตามที่เสนอโดยไรโฮลท์ ในกรณีดังกล่าว พระองค์จะเป็นเพียงผู้ปกครองพระองค์ที่สิบเจ็ดแห่งราชวงศ์ที่สิบสี่ได้เท่านั้น[5][6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  2. 2.0 2.1 2.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 374
  3. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, available online see p. 110-111
  4. 4.0 4.1 Alan Gardiner, editor. Royal Canon of Turin. Griffith Institute, 1959. (Reprint 1988. ISBN 0-900416-48-3)
  5. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  6. Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46, Mainz am Rhein, 1997