ฟาโรห์ดเจดเคเปอร์เร

ดเจดเคเปอร์เอว (หรือ ดเจดเคเปอร์อู) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งทรงครองราชย์เป็นเวลาประมาณ 2 ปี นับตั้งแต่ราวประมาณ 1772 จนถึง 1770 ปีก่อนคริสตกาล[1][2] ตามนักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรฮอล์ท และดาร์เรล เบเกอร์ พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์ที่ 17 ของราชวงศ์[1][2] ดเจดเคเปอร์เอวเป็นพระนามฮอรัสของฟาโรห์พระองค์ดังกล่าว ส่วนพระนามครองราชย์และพระนามประสูติของพระองค์กลับไม่ปรากฏ

หลักฐานยืนยัน แก้

หลักฐานยืนยันร่วมสมัย แก้

ปรากฏหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับรัชสมัยของฟาโรห์ดเจดเคเปอร์เอว คือ ตราประทับจำนวนสิบเอ็ดดวง จากป้อมปราการอียิปต์ที่แก่งน้ำตกแม่น้ำไนล์แห่งที่สองในนิวเบีย รอยประทับตราจำนวนสิบรอยถูกพบที่อูโรนาร์ติ โดยมีความใกล้เคียงกับรอยประทับตราของฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาบาว และฟาโรห์มาอาอิบเร เชชิ[3]ส่วนอีกรอบตราประทับหนึ่งถูกค้นพบในมิร์กิซซา[2]

นอกจากรอยตราประทับแล้ว ยังปรากฏหลักฐานยืนยันของพระองค์ คือ พระบรรจถรณ์แห่งโอซิริส ซึ่งเป็นประติมากรรมหินบะซอลต์สีดำขนาดมหึมาที่เป็นภาพเทพโอซิริสทรงประทับนอนอยู่บนแท่น พระบรรจถรณ์แห่งโอซิริสถูกพบในหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ดเจอร์แห่งราชวงศ์ที่หนึ่ง ซึ่งชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเป็นหลุมฝังพระศพของเทพโอซิริส[2] ประติมากรรมชิ้นดังกล่าวอยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ โดยสันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสาม ฟาโรห์อีกพระองค์หนึ่ง คือ ฟาโรห์เคนดเจอร์ โดยลีฮี แต่การศึกษาจารึกเมื่อไม่นานมานี้ได้ยืนยันให้เห็นว่าเดิมปรากฏพระนามว่า ดเจดเคเฟอร์เอว อยู่แล้ว ส่วนพระนามประสูตินั้นได้ถูกลบไปในสมัยโบราณ แต่ก็ยังพอที่จะอ่านได้บางส่วน[1]

บันทึกพระนามตูริน แก้

ฟาโรห์ดเจดเคเปอร์เอวทรงไม่ได้ถูกกล่าวถึงในบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามฟาโรห์ที่รวบรวมในช่วงต้นสมัยรามเสส โดยเป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับประวัติศาสตร์ของช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ซึ่งไรฮอล์ทได้ให้เสนอความเห็นว่า รัชสมัยของฟาโรห์ดเจดเคเปอร์เอว (เช่นเดียวกับรัชสมัยของฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาบาว ผู้ซึ่งทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้า และฟาโรห์เซบคาย ซึ่งทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ ซึ่งทั้งหมดไม่ได้อยู่ในบันทึกพระนามแห่งงตูริน) ได้สูญหายไปแล้วในส่วนที่เสียหายของเอกสารที่คัดลอกบันทึกพระนามดังกล่าว[1] แต่ข้อสันนิษฐานจะต้องเป็นจริงเมื่อฟาโรห์คาบาวทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์ฮอร์ และฟาโรห์เซบคายทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 7 แต่ในบันทึกพระนามได้ระบุว่าฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 7 ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงต่อจากฟาโรห์ฮอร์ (คอลัมน์ที่ 7 บรรทัดที่ 17 และ 18)[1]

พระราชวงศ์และรัชสมัย แก้

ไรฮอล์ทได้กล่าวว่า ฟาโรห์ดเจดเคเปอร์เอวเป็นพระอนุชาของฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาบาว ผู้ซึ่งทรงครองราชย์ก่อนหน้าพระองค์และเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ฮอร์ อาวอิบเร และไรฮอล์ทได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับพระองค์จากหลักฐานยืนยันตราประทัยจากอูโรนาร์ติและพระบรรจถรณ์แห่งโอซิริส โดยตราประทับดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าฟาโรห์คาบาวและฟาโรห์ดเจดเคเปอร์เอวทรงปกครองในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ในขณะที่พระนามที่หลงเหลืออยู่ของพระองค์บนพระบรรจถรณ์แห่งโอซิริสได้แสดงให้เห็นว่าพระองค์เริ่มต้นด้วย ฮอร์อู (hrw) ซึ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าพระองค์ของฟาโรห์ดเจดเคเปอร์เอวบ่งบอกถึงความเกี่ยวพันธ์ของพระองค์ต่อฟาโรห์ฮอร์ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าฟาโรห์คาบาวทรงครองราชย์ต่อจากฟาโรห์ฮอร์ ไรฮอล์ทจึงอนุมานได้ว่า ฟาโรห์ดเจดเคเปอร์เอวเป็นพระอนุชาและทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์คาบาว[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 86-87
  3. Kim Ryholt: The Date of Kings Sheshi and Yaqubhar and the Rise of the Fourteenth Dynasty, in The Second Intermediate Period (Thirteenth-Seventeenth Dynasties), Current Research, Future Prospects, Marcel Maree ed., Orientalia Lovaniensia Analecta 192, Leuven, Peeters, 2010, pp. 109–126