ฟอรามินิเฟอรา (อังกฤษ: Foraminifera) เป็น Order อยู่ใน Class Sarcodina โดย Class นี้แบ่งออกเป็น 2 order คือ Order Foraminifera และ Order Radiolaria อยู่ในไฟลัมโปรโตซัว (Phylum Protrzoa)

เป็นพวกที่มีขนาดใหญ่กว่าโปรโตซัวชนิดอื่น มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ < 1 มม. ถึง 190 มม. อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม แต่โดยทั่วไปแล้วจะอาศัยอยู่ในน้ำทะเล เป็นพวก planktonic พบมากในทะเลเขตร้อนหรือเขตอบอุ่น พวกนี้มีประมาณ 3,000 species มีช่วงอายุตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิกจนถึงยุคปัจจุบัน เป็นพวกที่มีความสำคัญมากในกลุ่มจุลซากดึกดำบรรพ์ (microfossil) ด้วยเหตุผล คือ หนึ่งพบมากในหินและมีมากชนิด สองเป็นพวกที่ให้ข้อมูลมากเกี่ยวกับอายุของชั้นหิน ทำให้ช่วยในการศึกษาสภาพแวดล้อมของการตกตะกอนในอดีต

สัณฐานวิทยา แก้

ในส่วนที่เป็นเนื้อ เรียก Cytoplasm ส่วนที่อยู่ด้านนอกเรียก Ectoplasm ส่วนที่อยู่ด้านในเรียก Endoplasm ซึ่งภายในจะมี nuclei อยู่

Ectoplasm : ทำหน้าที่สร้างส่วนที่แข็ง ปกคลุมส่วนที่ถูกสร้าง ของแข็งส่วนที่สร้างขึ้นมาเรียกว่า Test ซึ่งประกอบด้วย SiO2, Chitin, CaCo3, FeS2

Cytoplasm : ใน Foraminifera บางทียื่นออกมานอก Test เรียกส่วนนี้ว่า Pseudopodia ซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวและกินอาหาร ส่วนที่แข็งของฟอรามินิเฟอรา

ขนาด : มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ < 1 มม. ถึง 190 มม.

ส่วนประกอบ : ส่วนประกอบที่แข็งแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ

  1. เกิดจากการสร้างสารพวก chitinous test, calcareous test
  2. เกิดจากการสร้างที่มีสารอื่นทาปะปนกัน เช่น agglutinated test chamber แรกสุดเรียก proloculus , ที่ปลายสุดเป็นรูเปิดเรียกว่า aperture ภายในมี septa กั้นเป็นช่องเรียกว่า chamber, รอยต่อของ septa กับ inner wall เรียกว่า suture รูปร่างของ aperture มีหลายแบบ เช่น กลม รี มน, ส่วนที่เป็นฝาปิด aperture เรียกว่า lip ผิวของเปลือกถ้าเรียบ เรียกว่า imperforate, ผิวของเปลือกถ้ามีรูพรุน เรียกว่า perforate

นิเวศวิทยา แก้

ฟอรามินิเฟอราส่วนมากอาศัยในสภาพแวดล้อมตามก้นทะเล (Bentonic environment) แต่มีฟอรามินิเฟอราบางพวกที่อาศัยอย่างอิสระเหนือท้องทะเล หรือตามผิวตะกอนในขณะที่บางพวกจะใช้ pseudopodia หรือ calcareous secretion เกาะติดกับหิน เปลือกหอยและสาหร่ายทะเล ฟอรามินิเฟอราส่วนมากอาศัยอยู่ในน้ำทะเลที่มีความเค็ม แต่จะพบฟอรามินิเฟอราที่อาศัยอยู่ในน้ำกร่อยตามชายฝั่งทะเล พวกที่มีเปลือกแบบ porcellaneous จะเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบ hyperhaline เช่น lagoons ที่มีค่าความเค็มมากกว่า 35 ppm ส่วนพวกที่มีเปลือกเป็นแบบ agglutinates และ hyalines จะชอบน้ำที่มีความเค็มน้อย เช่น น้ำกร่อยตาม lagoons และ estuaries นอกจากนี้แล้วยังสามารถพบในสภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้อีก

ฟอรามินิเฟอรายังสามารถใช้เป็นตัวบอกความลึกของน้ำได้อีกด้วย เนื่องจากชนิดของมันขึ้นกับอุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจน แสงสว่าง และอื่นๆ โดยทั่วไปพวกที่มีเปลือกแบบ porcellaneous จะอาศัยบริเวณน้ำตื่น ในขณะที่พวกอื่นๆ จะอาศัยในบริเวณที่น้ำลึกกว่า พวกที่มีเปลือกแบบ agglutinated จะอาศัยบริเวณที่มีน้ำลึกระหว่าง 4,000 - 5,000 เมตร การกระจายตัวทางธรณีวิทยา (Geological distribution)

เชื่อกันว่าฟอรามินิเฟอรามีมาตั้งแต่สมัยแคมเบรียนแต่ไม่พบซากดึกดำบรรพ์นักธรณีวิทยาเริ่มพบซากดึกดำบรรพ์ในหินปูนยุคออร์โดวิเชียน ไซลูเรียน และดีโวเนียน ในยุคเพอร์เมียนและคาร์บอนิเฟอรัสพบมากและมีรูปร่างต่างกันค่อนข้างมาก ยุคไทรแอสซิกพบมากเช่นกัน แต่ยังไม่มากเท่าเพอร์เมียนและคาร์บอนิเฟอรัส ส่วนยุคจูแรสซิกพบมาก และไปมากที่สุดในยุคครีเทเชียส ซึ่งฟอรามินิเฟอราในยุคนี้ถือว่าเป็นต้นตระกูลของฟอรามินิเฟอราในยุคปัจจุบัน

ฟอรามินิเฟอราเป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่ใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบชั้นหิน ใช้ในการหาแหล่งน้ำมัน จากหลักฐานเชื่อกันว่าฟอรามินิเฟอราเป็นสัตว์ที่มีชีวิตโดยการล่องลอยไปตามผิวน้ำ เมื่อตายไปก็จะตกทับถมเป็นตะกอนที่เรียกว่า foraminifera ooze ซึ่งเชื่อว่าเป็นบ่อเกิดของน้ำมัน

ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์ฟอรามินิเฟอราที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ 5 – 20 มม. แสดงว่าฟอรามินิเฟอราพวกนี้เกิดในทะเลเขตอบอุ่นและเปลือกเป็นแบบ calcareous test ส่วนฟอรามินิเฟอราที่เป็น arenaceous test จะเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำเย็น

อ้างอิง แก้

สุรพงษ์ เลิศทัศนีย์. “ไฟลัมไปรโตซัว” ใน บรรพชีวินวิทยาทั่วไป. หน้า 45-50. ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่