ฟรันเชสโก บอร์โรมีนี

ฟรันเชสโก บอร์โรมีนี (อังกฤษ: Francesco Borromini) หรือ ฟรันเชสโก กัสเตลลี (Francesco Castelli) เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1599 ที่หมู่บ้านบิสโซเน (Bissone) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1667 เป็นประติมากรและสถาปนิกบาโรกที่มีชื่อเสียงในกรุงโรม เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17

ฟรันเชสโก บอร์โรมีนี
เกิด25 กันยายน ค.ศ. 1599
บิสโซเน
เสียชีวิต3 ธันวาคม ค.ศ. 1667
โรม
อาชีพประติมากรและสถาปนิก

ชีวิตเบื้องต้น แก้

บอร์โรมีนีเป็นบุตรของช่างสลักหินชื่อโจวันนี โดเมนีโก กัสเตลลี (Giovanni Domenico Castelli) และอานัสตาเซีย การ์โรโว (Anastasia Garovo) บอร์โรมีนีเริ่มอาชีพเป็นช่างสลักหินตามพ่อ แต่ต่อมาก็ย้ายไปมิลานเพี่อไปเรียนและฝึกงานเพิ่ม บอร์โรมีนีบางทีก็รู้จักกันในชื่อ "บิสโซเน" ซึ่งเรียกตามชื่อหมู่บ้านที่เกิดใกล้เมืองลูกาโน (Lugano) ที่อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ส่วนที่พูดภาษาอิตาลี เมื่อบอร์โรมีนีย้ายไปทำงานที่โรมเมื่อ ค.ศ. 1619 ก็เปลี่ยนชื่อจากสกุลเดิม "กัสเตลลี" เป็น "บอร์โรมีนี" และเริ่มทำงานกับการ์โล มาแดร์โน (Carlo Maderno) ผู้เป็นญาติห่าง ๆ ที่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ เมื่อมาแดร์โนสิ้นชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1629 บอร์โรมีนีก็เข้าทำงานภายใต้จัน โลเรนโซ แบร์นีนี ขยายและตกแต่งด้านหน้าวังบาร์เบรีนี (Palazzo Barberini) ที่มาแดร์โนเริ่มไว้จนเสร็จ

วัดซานการ์ลีโน แก้

 
ด้านหน้าวัดซานการ์ลีโน

งานสำคัญชิ้นแรกที่บอร์โรมีนีได้รับจ้างคือการบูรณะภายในวัดซานการ์ลีโน และวัดซานการ์โลอัลเลกวัตโตรฟอนตาเน เมื่อ ค.ศ. 1634 ถึง ค.ศ. 1637 ด้านหน้าวัดก็ตกแต่งโดยบอร์โรมีนีแต่มาทำเมื่อบั้นปลายของชีวิต อาจจะเป็นได้ว่าสาเหตุที่บอร์โรมีนีเปลียนชื่อคงเป็นเพราะวัดนี้อุทิศให้นักบุญการ์โล บอร์โรเมโอ (San Carlo Borromeo)

บอร์โรมีนีเลี่ยงการใช้เส้นเรียบและรูปวงกลมง่าย ๆ แบบศิลปะคลาสสิกแต่จะใช้รูปไข่ที่โค้งบิดภายใต้โดมรูปไข่ ในรูปแบบกากบาทและรูปแปดเหลี่ยมภายใต้หลังคาสลักเสลา (coffered) ซึ่งทำให้สิ่งก่อสร้างมีลักษณะคล้ายตะเกียงที่เป็นแหล่งที่แสงส่องเข้ามาได้ในบริเวณภายในที่มืด[1] วัดที่ทำเป็นวัดที่เล็กเมื่อเทียบกับมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์[2]

งานของบอร์โรมีนีชิ้นนี้เต็มไปด้วยวงโค้งเว้าและวงโค้งนูนที่เล่นกับทรงรูปไข่และทางเดินสู่แท่นบูชา[3][4] บอร์โรมีนี "ออกแบบกำแพงสานกันไปมาราวกับว่ากำแพงมิได้ทำด้วยหินแต่วัสดุที่ยืดหยุ่นเลื้อยไปตามที่ว่าง พร้อมกับเครื่องตกแต่งของคันของผนัง" (Trachtenberg & Hyman) การตกแต่งจะเป็นทรงเรขาคณิตมากกว่าจะประดิดประดอยอ่อนช้อยด้วยรูปปั้นตกแต่ง[5]กว่างานของแบร์นีนีที่วัดซานตันเดรอาอัลกวีรีนาเล (Sant'Andrea al Quirinale) ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก วัดซานตันเดรอาอัลกวีรีนาเลจะมีประติมากรรมแบบนาฏกรรมผสมผสานกับสถาปัตยกรรมในแบบที่เรียกกันว่า "bel composto" นาฏกรรมของวัดซานการ์ลีโนจะเป็นทรงเรขาคณิต ส่วนที่อ่อนช้อยจะอยู่ที่ด้านหน้าของวัดที่มาทำทีหลัง เมื่อ ค.ศ. 1662 ค.ศ. 1667[6]

ซานตัญเญเซอินอาโกเน แก้

 
ลานและด้านหน้าของ Sant'Ivo alla Sapienza

เมื่อบอร์โรมีนีทำวัดซานตัญเญเซอินอาโกเน (Sant'Agnese in Agone) ก็กลับผังที่การ์โล ไรนัลดี (Carlo Rainaldi) วางไว้แต่แรก เดิมทางเข้าจะอยู่ทางถนนซานตามารีอาเดลลานีมา (Santa Maria dell'Anima) ด้านหน้าวัดขยายเลยไปถึงส่วนหนึ่งของวังแพมฟิลจ (Palazzo Pamphilj) ทำให้สามารถสร้างหอระฆังเพิ่มได้อีกสองหอแต่ละหอก็มีนาฬิกา หอหนึ่งเป็นเวลาโรมัน อีกหอหนึ่งเป็นเวลายุโรป (tempo ultramontano)

แต่ในที่สุดบอร์โรมีนีก็ไม่ได้รับสัญญาต่อก่อนที่จะสร้างเสร็จเพราะสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 มาสิ้นพระชนม์เสียก่อนเมื่อปี ค.ศ. 1655 สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 ซึ่งเป็นพระสันตะปาปาองค์ใหม่ต่อสัญญาให้กับคาร์โล ไรนัลดีแทนที่ แต่ลักษณะงานของวัดนี้ก็ยังถือกันว่าเป็นแนวคิดของบอร์โรมีนี

วัดซานตีโวอัลลาซาปีเอนซา แก้

ระหว่าง ค.ศ. 1640 ค.ศ. 1650 บอร์โรมีนีออกแบบวัดซานตีโวอัลลาซาปีเอนซา (Sant'Ivo alla Sapienza) และลาน (courtyard) ใกล้กับวังมหาวิทยาลัยโรม ที่ตั้งของวัดก็เหมือนสิ่งก่อสร้างอื่นในกรุงโรมคือตั้งอยู่ในที่แคบซึ่งทำให้เป็นปัญหาต่อการออกแบบ บอร์โรมีนีจึงต้องจัดให้หน้าวัดหันเข้าสู่ลานลึกด้านหน้าของตัววัง หอคอยและยอดดูแปลกตาตามลักษณะที่ทำให้บอร์โรมีนีแตกต่างจากสถาปนิกคนอื่น ภายในทางเดินสู่แท่นบูชาอยู่กลางวัดล้อมรอบไปด้วยคูหาโค้งเข้าออกที่มองขึ้นไปสู่โดมที่ตกแต่งด้วยปูนปั้นรูปดาวและลวดลายตกแต่งเรขาคณิตเป็นรูปดาวหกแฉก จากตรงกลางขอบเพดานเมื่อมองขึ้นไปจะเหมือนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสองอันซ้อนกันเป็นรูปหกเหลี่ยม แต่สามมุมเป็นแบบหยัก อีกสามมุมเป็นโค้งเว้าปาด

ห้องสวดมนต์ของวัดเซนต์ฟิลลิปเนรี แก้

วัดเซนต์ฟิลลิปเนรี (Saint Phillip Neri) เองมีวัดบาโรกที่ตกแต่งอย่างสวยงามอยู่แล้ว แต่ด้วยความศรัทธาจึงขยายเพิ่มเติมโดยการสร้างห้องสวดมนต์ฟิลลิปปีนี (Oratorio dei Fillipini) และที่อยู่อาศัยติดกับวัดซานตามารีอาอินวัลลีเชลลา (Santa Maria in Vallicella) แบบผังของบอร์โรมีนีชนะการแข่งขันและได้รับสัญญาก่อสร้าง 13 ปี ห้องสวดมนต์ใช้งานได้เมื่อ ค.ศ. 1640 ห้องสมุดมาเสร็จเอาเมื่อ ค.ศ. 1643 ภายในเป็นการเล่นการตกแต่งด้วยเสาและเสาติดผนังอย่างซับซ้อนตามลักษณะสิ่งก่อสร้างของบอร์โรมีนี

งานอื่น ๆ แก้

 
การฉลองสำหรับพระราชินีคริสตินนาแห่งสวีเดนที่วังบาร์เบรินิ เมื่อวันที 28 กุมภาพันธ์ 1656 ภาพเขียนโดย Filippo Lauri and Filippo Gagliardi
  • ภายในมหาวิหารเซนต์จอห์น แลเทอรัน (Basilica of St. John Lateran),
  • ชาเปลสปาดา (Cappella Spada) ที่วัดซานจีโรลาโมเดลลาการีตา (San Girolamo della Carità) (ไม่ทราบผู้สร้างแน่นอน)
  • วังสปาดา (Palazzo Spada) - perspective ลวงตา
  • วังบาร์เบรีนี (Palazzo Barberini) - หน้าต่างชั้นบนและบันไดรูปไข่
  • ชาเปลสปาดา (Cappella Spada) ที่วัดซานตีอาปอสโตลี (Santi Apostoli) เมืองเนเปิลส์ - แท่นบูชาฟีลามารีโน (Filamarino Altar)
  • วัดซานตันเดรอาเดลลาฟรัตเต (Sant'Andrea delle Fratte)
  • ห้องสวดมนต์ฟิลลิปปีนี (Oratorio dei Fillipini)
  • Collegio de Propaganda Fide [7]
  • วัดซานตามารีอาเดย์เซตเตโดโลรี (Santa Maria dei Sette Dolori)
  • วัดซานจิโอวานนีอินโอเลโอ (San Giovanni in Oleo) - ซ่อม
  • วังจุสตีเนียนี (Palazzo Giustiniani) (ร่วมกับการ์โล ฟอนตานา)
  • ด้านหน้าวังฟัลโกนีเอรี (Palazzo Falconieri)
  • วัดซานตาลูซีอาอินเซลชี (Santa Lucia in Selci)
  • มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ - ประตูสู่ชาเปล Blessed Sacrament

บั้นปลาย แก้

เมื่อฤดูร้อนปี ค.ศ. 1667 บอร์โรมีนีเป็นโรคทางเส้นประสาทและโรคดีเปรสชัน ในที่สุดบอร์โรมีนีก็ฆ่าตัวตายที่โรมหลังจากเสร็จงานที่ชาเปลฟาลโคเนียริที่วัดซานจิโอวานนีเดอิฟิโอเรนทินิ (San Giovanni dei Fiorentini) ซึ่งเป็นที่ฝังร่างของบอร์โรมีนีเอง

The primary inscription on Borromini's tomb, in San Giovanni dei Fiorentini, reads:

เกร็ด แก้

  • รูปของบอร์โรมีนีพิมพ์บนเงิน 100 ฟรังก์สวิสเมื่อราวค.ศ. 1980 [8]

อ้างอิง แก้

  1. Electric lighting has blurred this intended effect.
  2. Its whole façade would fit into one of the piers of Saint Peter's, Siegfried Giedion pointed out in Space, Time and Architecture (1941 etc.).
  3. "Plan of San Carlo alle Quattro Fontane (USC)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2008-01-05.
  4. S. Carlo alle Quattro Fontane
  5. Borromini was working within the slender means of his patrons, the Spanish order of Discalced Trinitarians (Giedion).
  6. "San Carlo alle Quattro Fontane". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-08. สืบค้นเมื่อ 2008-01-05.
  7. http://www.romeartlover.it/Vasi164a.htm
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-08-25. สืบค้นเมื่อ 2008-01-05.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหาวิหารเซ็นต์จอห์น แลเทอรัน   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ซานตัญเญเซอินอาโกเน