พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์

พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ (ชื่อเล่น: บี; เกิดวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511) เป็นนักการเมืองชาวไทย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในคณะรัฐมนตรีที่ 2 ของนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 กระทั่งพ้นจากตำแหน่ง[2][3][4] ภายหลังจากศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ว่าพุทธิพงษ์มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาในช่วงที่ร่วมกลุ่มกับ กปปส. จัดการประท้วงที่นำไปสู่รัฐประหาร พ.ศ. 2557[5][6][7]

พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 24​ กุมภาพันธ์​ พ.ศ.​ 2564
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
ถัดไปชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม พ.ศ. 2561[1] – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าพลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด
ถัดไปนฤมล ภิญโญสินวัฒน์
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายการเมือง
ดำรงตำแหน่ง
11 กันยายน พ.ศ. 2561 – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 (55 ปี)
รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐ
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2544 - 2561)
พลังประชารัฐ (2561 - 2565)
ภูมิใจไทย (2566 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสนุสบา (วานิชอังกูร) ปุณณกันต์
ชื่อเล่นบี

ประวัติ แก้

พุทธิพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 ที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐ[8] มีชื่อเล่นว่า บี เป็นบุตรคนโตของ ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.เหลือพร และนางดาริกา ปุณณกันต์ เป็นพี่ชายของดนุพร ปุณณกันต์ โฆษกพรรคเพื่อไทย

ทั้งยังเป็นหลานของพลเอก พงษ์ ปุณณกันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และกระทรวงอุตสาหกรรม

การศึกษา แก้

พุทธิพงษ์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต สหรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2535 จบปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBA) จาก European University, Montreux สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2539 และกลับมาทำงานโดยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ บริษัท ราชธานี กรุ๊ป และรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการลงทุน (BOI) สำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนเข้าสู่วงการเมือง ปัจจุบันกำลังศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๖๔ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย

การเมือง แก้

ชื่อ "พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์" เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการเป็นสามีของ นุสบา วานิชอังกูร ดารานักแสดงสาวชื่อดัง โดยถูกเรียกติดปากว่า "พี่บี" ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน ชื่อ "ปุณณ" และ "กันต์" ตามลำดับ

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 นายพุทธิพงษ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ พื้นที่เขต 4 กรุงเทพมหานคร ซึ่งก็คือ เขตราชเทวี (เฉพาะแขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท) เขตพญาไท โดยแข่งขันกับ กรรณิกา ธรรมเกษร อดีตพิธีกรโทรทัศน์ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย ผลการนับคะแนนกรรณิกาเป็นฝ่ายชนะได้รับการเลือกตั้ง และได้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ทว่า หลังจากสภาฯ ชุดดังกล่าวทำงานไปได้เกือบ 1 ปี คณะกรรมการการเลือกตั้งตัดสินใจให้ใบเหลือง กรรณิกา และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งครั้งนี้ ชัยชนะก็เป็นของพุทธิพงษ์แทน

ในระหว่างที่ อภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยแรก (พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2551) พุทธิพงษ์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง โฆษกกรุงเทพมหานคร นับเป็นบุคคลแรกที่รับตำแหน่งนี้ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดูแลงานด้านการศึกษาและพัฒนาสังคม กีฬา การท่องเที่ยว และด้านการพานิชย์ของกรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2553 พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม และรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ควบคู่กับการดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งรองโฆษกฯ ในเวลาต่อมา[9]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 (เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง (เฉพาะแขวงวังทองหลางและแขวงพลับพลา))

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้เข้าร่วมงานในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยเข้ารับตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) และในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 พุทธิพงษ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งข้าราชการการเมือง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐ[10] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[11]

ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ตำแหน่งทางการเมือง แก้

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 แก้

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายพุทธิพงษ์เป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค และเข้าเป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส. ร่วมกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่นๆ ที่เป็นคนหนุ่มวัยใกล้เคียงกัน คือ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ, ชุมพล จุลใส และสกลธี ภัททิยกุล [12] [13]

โดยในระยะแรกของการชุมนุม ซึ่งสถานที่ชุมนุมยังเป็นที่บริเวณสถานีรถไฟสามเสน นายพุทธิพงษ์เป็นผู้สำรวจสถานที่และตัดสินใจเอาสถานที่นี้เป็นที่ชุมนุมร่วมกับนณัฏฐพล[14]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนั้น ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดย พุทธิพงษ์เป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 4[15] [16]

หลังเหตุการณ์นี้ พุทธิพงษ์ก็ได้เข้าอุปสมบทที่วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก และย้ายไปจำวัดที่วัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เช่นเดียวกับแกนนำคนอื่น ๆ [17]

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกพุทธิพงษ์ เป็นเวลา 7 ปี ส่งผลให้นายพุทธิพงษ์พ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทันที[18]

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. นายพุทธิพงษ์ ผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564[19]

งานบันเทิง แก้

พุทธิพงษ์เคยเป็นพิธีกรร่วมกับอรทัย ฐานะจาโร ในรายการ "พลังจิตที่ 5" ทางช่อง 5 อยู่ช่วงหนึ่ง สมัยที่เป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 275/2561 เรื่อง มอบหมายใก้ปฏิบัติหน้าที่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-21. สืบค้นเมื่อ 2018-10-31.
  2. "Profiles of Members of Prayut II Cabinet: on Education and social affairs portfolios". The Nation. 17 July 2019. สืบค้นเมื่อ 6 February 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "La Thaïlande a un nouveau gouvernement". Thailande-fr (ภาษาฝรั่งเศส). 10 July 2019. สืบค้นเมื่อ 6 February 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "New cabinet ministers appointed". Bangkok Post. 10 July 2019. สืบค้นเมื่อ 6 February 2019.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Thai ministers jailed as court finds 26 guilty of insurrection". WION. 24 February 2021. สืบค้นเมื่อ 24 February 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Former leaders of the People's Democratic Reform Committee leave Bangkok Remand Prison about noon on Friday. From left, in the front row are Nataphol Teepsuwan, Thaworn Senneam, Issara Somchai, Suthep Thaugsuban and Buddhipongse Punnakanta
  7. "Jailed ministers for instant chop". Bangkok Post. 25 February 2021. สืบค้นเมื่อ 25 February 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ชีวประวัติ นายพุทธิพงษ์
  9. ""พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์" ลาออกจากรองโฆษกรัฐบาล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-07.
  10. ‘พุทธิพงษ์’ แถลงลาออก รองเลขานายกฯ-โฆษกรบ.แล้ว เตรียมลุยงานการเมือง
  11. 11.0 11.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๒ ก หน้า ๑๐, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  12. ""4 คุณหนู" ฮาร์ดคอร์ สุดยอดคอนเนกชัน-ใครอย่าแตะ!". ผู้จัดการออนไลน์. 6 กุมภาพันธ์ 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-03. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "4 เสือ กปปส. เวทีสวนลุมพินี 27 04 57". ยูทิวบ์. 27 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. หน้า 059-061, ทวนเส้นทาง'มวลมหาประชาชน' . นิตยสาร ฅ คน Magazine ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (97): มกราคม 2557
  15. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "มองผ่านเลนส์คม:'พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์'ลาบวช". คมชัดลึก. 23 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "บี-ตั้น-ถาวร" เจอโทษ พ้นรัฐมนตรี 8 กปปส.นอนคุก พร้อมพวกลุงกำนัน
  19. ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ "5 แกนนำ กปปส." พ้นสภาพความเป็นส.ส.
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอน ๓๕ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๘, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
ก่อนหน้า พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ถัดไป
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)
  อิทธิพล คุณปลื้ม
พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด    
ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(26 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)
  นฤมล ภิญโญสินวัฒน์