พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช

พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช [1] เป็นพิพิธภัณฑ์การแพทย์ในกรุงเทพ พิพิธภัณฑ์นี้เปิดให้ประชาชนบุคคลทั่วไปเข้าชมได้ ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญแก่นักศึกษาและผู้ที่มีความสนใจทางการแพทย์[2] ประกอบไปด้วยพิพิธภัณฑ์การแพทย์ขนาดเล็กเจ็ดแห่ง คือ:[3][4]

พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส แก้

พิพิธภัณฑ์แห่งแรกในศิริราช ก่อตั้งโดย แอลเลอร์ เอลลิส นักพยาธิวิทยาชาวอเมริกันและเป็นพยาธิแพทย์คนแรกของไทย ที่ริเริ่มการเก็บรวบรวมอวัยวะผู้ป่วยที่ผ่านการตรวจพิสูจน์โรคแล้วไว้สำหรับสอนในวิชาพยาธิวิทยา[5][4][6] พิพิธภัณฑ์นี้จัดแสดงตัวอย่างอวัยวะและโรคที่คร่าชีวิตคนเป็นอันดับต้น ๆ ในประเทศ เช่น ตัวอย่างความผิดปกติแต่กำเนิด โรคหัวใจ โรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ[6]

พิพิธภัณฑ์กายวิภาค-คองดอน แก้

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งโดย เอ็ดการ์ เดวิดสัน คองดอน โดยมีการจัดแสดงอวัยวะมากกว่า 2,000 ชิ้นเพื่อใช้ในการเรียนรู้วิชากายวิภาคศาสตร์ ลักษณะการจัดแสดงแบ่งเป็น 2 ห้อง[7][8]

  • ห้องแรก แสดงกายวิภาคทั่วไป เช่น อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ อย่าง หู ตา จมูก ลิ้น การจัดแสดงระบบประสาท ระบบไหลเวียน การจัดแสดงการเจริญเติบโตตามอายุ ตั้งแต่เอ็มบริโอขนาดเล็ก ทารกในครรภ์ตามอายุครรภ์ต่าง ๆ จนถึงระยะคลอด การจัดแสดงอวัยวะตามระบบต่าง ๆ อาทิระบบสืบพันธุ์ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ การจัดแสดงร่างกายมนุษย์ตัดตามขวางตามแนวต่าง ๆ[7][8]
  • ห้องที่สอง แสดงเฉพาะกระดูกและข้อต่อทุกชิ้นของร่างกาย รวมทั้งกะโหลกซึ่งแยกเป็นชิ้น ๆ แสดงส่วนประกอบของกระดูก การแสดงข้อต่อแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงโครงกระดูกของบุคคลสำคัญในวงการแพทย์[7][8]

ภายในพิพิธภัณฑ์นี้มีสิ่งจัดแสดงที่สำคัญคือ เส้นประสาททั้งร่างกาย หลอดเลือดแดงทั้งร่างกาย กล้ามเนื้อและหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นผลงานที่หาดูได้ยาก[7][8]

พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร แก้

ใน พ.ศ. 2503 สุด แสงวิเชียร แพทย์และนักกายวิภาคศาสตร์ชาวไทย ได้เข้ารวมการขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่ ตำบลจรเข้เผือก จังหวัดกาญจนบุรี แหล่งโบราณคดีนี้เป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของไทย จากการขุดค้นทำให้ได้ศึกษาเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผาที่ฝังรวมกับโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ จากนั้นจึงรวบรวมหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านั้นมาจัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์ และเปิดเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2515[4][9]

ภายในตัวพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงเรื่องราวและหลักฐานจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เช่นกะโหลกศีรษะของโฮโมอิเร็กตัส เรียกว่า "มนุษย์ลำปาง" ซึ่งอยู่ในยุคเดียวกับมนุษย์ปักกิ่ง หรือเมื่อประมาณ 1,000,000 ถึง 400,000 ปีก่อน[10] นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา ลูกปักและอุปกรณ์ตกแต่งจาก ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และ ยุคหินใหม่[9][11][12]

พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา แก้

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งโดย วิจิตร ไชยพร ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงตัวอย่างของพยาธิที่นำออกมาจากร่างกายของผู้ป่วย การจัดแสดงจะแสดงลักษณะตัวอย่างพร้อมอธิบายวงจรชีวิตและที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ พยาธิที่นำมาจัดแสดงมีขนาดตั้งแต่ตัวที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จนถึงตัวที่ยาวเป็นเมตร นอกจากพยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน และโปรโตซัวทางการแพทย์แล้ว พิพิธภัณฑ์นี้ยังมีการจัดแสดงตัวอย่างแมลงนำโรคและสัตว์มีพิษ พร้อมกับวิธีการป้องกันด้วย[4][13][14]

พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์สงกรานต์ นิยมเสน แก้

 
มัมมี่ของ ซีอุย (ปัจจุบันได้นำออกไปแล้ว)

นิติเวชศาสตร์เป็นการนำวิชาแพทย์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อหาสาเหตุการตายผิดธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์นี้จัดแสดง กะโหลกศีรษะมนุษย์ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ได้มาจากเหยื่อที่ถูกฆาตกรรม นอกจากชิ้นส่วนมนุษย์แล้วยังมีวัตถุพยานที่จากคดีด้วย ชิ้นส่วนเหล่านี้มาจากการรวบรวมของสงกรานต์ นิยมเสนในสมัยที่เขาทำงานอยู่

ภายในพิพิธภัณฑ์นี้มีการจัดแสดงศพของซีอุย ฆาตกรต่อเนื่องที่เป็นที่เป็นที่รู้จักมากในประวัติศาสตร์ไทย ซีอุยเป็นชาวจีนที่เกิดใน พ.ศ. 2470 ที่ตำบลฮุนไหล จังหวัดซัวเถา ประเทศจีน ซีอุยถูกระบุว่าใช้ แซ่อึ้ง[15][16] ซีอุยเข้ามาในประเทศไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเข้ามาทำงานเป็นคนสวนในเนินพระ จังหวัดระยอง

ซีอุยถูกตราหน้าว่าเป็นมนุษย์กินคนหลังถูกตั้งข้อหาว่าทำการฆาตกรรมเด็ก 7 คดี[17] ซีอุยถูกจับกุมที่จังหวัดระยองใน พ.ศ. 2501 หลังกำลังพยายามเผาทำลายเหยื่อรายสุดท้าย และออกมายอมรับว่าได้ฆ่าเหยื่อรายสุดท้ายจริง[18][19]

การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นกินเวลา 9 วัน ก็พิพากษาประหารชีวิต แต่ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตเพราะจำเลยยอมรับสารภาพ แต่ตำรวจอุทธรณ์เพราะเห็นว่ามีหลักฐานเพียงพอ[20] เขาจึงถูกศาลอุทธรณ์ตัดสินประหารชีวิตเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2501[17] และมีการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2502 และหลังจากถูกประหารชีวิต โรงพยาบาลศิริราชได้ขอศพเพื่อไปใช้ในศึกษากายวิภาค[3] จากนั้นจึงถูกนำไปจัดแสดงพร้อมติดป้ายอธิบายว่า ซีอุย แซ่อึ้ง (มนุษย์กินคน)[21][22]

ผู้ใหญ่มักจะนำชื่อซีอุยมาขู่ให้เด็ก ๆ กลัว ซึ่งมักจะมีประโยคขู่เด็กที่ว่า "ระวังซีอุยจะมากินตับ"[23] หลังมีกับการเรียกร้องของชาวอำเภอทับสะแก[24] ประกอบกับแคมเปญรณรงค์ให้มีการนำร่างซีอุยออกจากพิพิธภัณฑ์ศิริราชบนเว็บไซต์ Change.org ช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562[17] ทำให้ทางโรงพยาบาลได้นำศพออกจากพิพิธภัณฑ์ตามคำเรียกร้องหลังจัดแสดงมานานกว่า 60 ปี[17] ชาวอำเภอทับสะแกยื่นหนังสือร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าพวกเขาต้องการฝังศพให้ซีอุยอย่างเหมาะสม[25] ครอบครัวของซีอุยไม่มีการเสนอตัวเพื่อนำศพไปดำเนินพิธีการทางศาสนา ทำให้กรมราชทัณฑ์จะเป็นธุระนำร่างซีอุยจากพิพิธภัณฑ์ไปทำการฌาปนกิจที่วัดบางแพรกใต้ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563[25][26]

อ้างอิง แก้

  1. "สุดระทึก!!! เจอ "ซีอุย" คนกินตับ ตัวจริง ของจริง". ผู้จัดการออนไลน์. May 29, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-18. สืบค้นเมื่อ July 10, 2016.
  2. Limited, Bangkok Post Public Company. "Grisly guidance". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2020-11-16.
  3. 3.0 3.1 Chaiyong, Suwitcha (17 June 2019). "Grisly guidance". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช. (2 มิถุนายน 2563)". museumthailand. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564. {{cite news}}: |first= ไม่มี |last= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. https://theculturetrip.com/asia/thailand/articles/everything-you-need-to-know-about-the-death-museum/
  6. 6.0 6.1 พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยา..ศึกษาจากรุ่นสู่รุ่น สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 ตะลึง!! คนเป็นขโมยคนตาย ที่ "พพ.กายวิภาค ศิริราช". (2555)"หนุ่มลูกทุ่ง". MGR Online. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน (2556) เก็บถาวร 2019-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"ทีมงานทรูปลูกปัญญา". trueplookpanya. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564
  9. 9.0 9.1 "พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร. (2 กุมภาพันธ์2562)". มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564. {{cite news}}: |first= ไม่มี |last= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. PCL, Post Publishing. "Early Man Of Our Land". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.
  11. PCL, Post Publishing. "Early Man Of Our Land". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.
  12. "พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร. (27 กรกฎาคม 2561)". museumthailand. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564. {{cite news}}: |first= ไม่มี |last= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  13. พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564.
  14. "พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา. (1 สิงหาคม 2560)". museumthailand. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2564. {{cite news}}: |first= ไม่มี |last= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  15. somsaktam, Author (2018-03-13). "แซ่ของคนจีน". มรดกวัฒนธรรมจีน Chinese cultural heritage (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-05-23. {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  16. "โรงเรียนภาษาและภูมิปัญญาตะวันออก OKLS : เรียนภาษาจีน เรียนภาษาญี่ปุ่น เรียนรู้ภาษาตะวันออก เรียนรู้ภาษาโลก - หลักในการเดาแซ่". www.okls.net. สืบค้นเมื่อ 2019-05-23.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 "ซีอุย : ความพยายามทวงคืนศักดิ์ศรีผู้ถูกศาลตัดสินและสังคมตราหน้าเป็น "มนุษย์กินคน"". บีบีซี ไทย. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564. {{cite news}}: |first= ไม่มี |last= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  18. RND (27 May 2019). "Mörder im Glaskasten: Thailand streitet über Leichnam im Museum". Hannoversche Allgemeine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-05. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
  19. ย้อนชีวิต "ซีอุย" ถูกรังแก กินตับเพื่อน เจอรุมสกรัม ฆาตกรรมโหด ฉบับตำนานไทย
  20. HE ATE CHILDREN: THE SERIAL KILLER WHO STILL TERRORIZES THAILAND TODAY
  21. "Hospital removes 'cannibal' sign from Si Quey corpse display". The Nation. 31 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-08. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
  22. Dillon, Conor (7 March 2012). "Dead Baby Watching at Bangkok's Medical Museum". Vice. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
  23. ปิดตำนาน “ซีอุย” “60 ปี” คดีกินตับเด็กสืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564
  24. RND (27 May 2019). "Mörder im Glaskasten: Thailand streitet über Leichnam im Museum". Hannoversche Allgemeine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-05. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
  25. 25.0 25.1 Limited, Bangkok Post Public Company. "Serial killer Si Quey to be cremated, 6 decades after execution". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2020-12-05.
  26. "ชาวทับสะแกเตรียมร่วมงานเผา'ซีอุย' ไว้อาลัยครั้งสุดท้าย". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564. {{cite news}}: |first= ไม่มี |last= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°45′29″N 100°29′09″E / 13.757925°N 100.485849°E / 13.757925; 100.485849