พิพัฒน์ รัชกิจประการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

พิพัฒน์ รัชกิจประการ (เกิด 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน และรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[1] ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

พิพัฒน์ รัชกิจประการ
พิพัฒน์ ใน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 237 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าสุชาติ ชมกลิ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(4 ปี 53 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าวีระศักดิ์ โควสุรัตน์
ถัดไปสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
พรรคการเมืองมหาชน
ภูมิใจไทย (ปัจจุบัน)
คู่สมรสนาที รัชกิจประการ
ลายมือชื่อ

ประวัติ แก้

พิพัฒน์ รัชกิจประการ เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2498 ที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาเป็นบุตรของนายสุทัศน์ และนางกุยเฮียง รัชกิจประการ และเป็นพี่ชายของนายพิบูลย์ รัชกิจประการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล สังกัดพรรคภูมิใจไทย และพี่ชายของนายพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)

จบการศึกษาจากโรงเรียนแสงทองวิทยา จังหวัดสงขลา ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[2] สมรสกับนางนาที รัชกิจประการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย

การทำงาน แก้

พิพัฒน์ สืบทอดธุรกิจกลุ่มเรือประมงในเขตน่านน้ำอันดามันของครอบครัว ต่อมาได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในชื่อ พีทีจี เอ็นเนอยี[2]

พิพัฒน์ เริ่มต้นงานการเมืองโดยการชักชวนของ วัฒนา อัศวเหม เมื่อครั้งก่อตั้งพรรคมหาชน เมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อสร้างฐานการเมืองในพื้นที่ภาคใต้[3] และเป็นกรรมการบริหารพรรค[4]

ในปี พ.ศ. 2562 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคภูมิใจไทยได้เข้าร่วมรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพรรคพลังประชารัฐ โดยเขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยนายพิพัฒน์ ได้รับโควตาพรรคภูมิใจไทย เช่นเดียวกับ มนัญญา ไทยเศรษฐ์[5][6][7] หลังภริยา นาที รัชกิจประการ[8] ถูกตัดสิทธิ์กรณีแจ้งบัญชีเท็จในปี พ.ศ. 2562[9] [10]นอกจากนี้เขายังเป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ในปี พ.ศ. 2564 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[11] และเป็นคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค[12] ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี พ.ศ. 2566[13]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ไอเดีย “พิพัฒน์ รัชกิจประการ” จากเจ้าพ่อธุรกิจฝั่งอันดามัน สู่แม่ทัพใหม่ “กีฬา-ท่องเที่ยว”
  2. 2.0 2.1 ประวัติรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
  3. ตัวจริง รัฐมนตรี "โกเกี๊ยะ" เริ่มต้นที่ "อัศวเหม"
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๑ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๒) และคณะกรรมการบริหารพรรคราษฎร, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๐๕, ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๒
  5. "ใครเป็นใครในรัฐมนตรีโควต้าพรรคร่วมรัฐบาล". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-08-08.
  6. https://www.facebook.com/SpringNewsonline (2019-06-14). "ภูมิใจไทยเคาะรายชื่อโควตา รมต. พรรค ส่ง "บิ๊กตู่" แล้ว "เสี่ยหนู" ขอนั่งควบรองนายกฯ - รมว.สธ". springnews. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  7. https://www.pptvhd36.com (2020-08-06). "เปิดโควตา 5 พรรค นั่งรัฐมนตรี ครม.ประยุทธ์ 2/2". pptvhd36.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |last= (help)
  8. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งรัฐมนตรี". ราชกิจจานุเบกษา. 10 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. isranews (2020-03-20). "เผยโฉมสัญญา'พิพัฒน์ รัชกิจประการ' โอนหุ้น 11 บ.ให้ บลจ.ภัทรฯจัดการ-ขอรับ ปย.เกิน 5%". สำนักข่าวอิศรา.
  10. "ดูรายชื่อรัฐมนตรี "คนนอก" 16 คน ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง". ilaw.ot.th - ดูรายชื่อรัฐมนตรี "คนนอก" 16 คน ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง.[ลิงก์เสีย]
  11. มติ ภท.แต่งตั้ง “พิพัฒน์”นั่งรองหัวหน้าพรรค
  12. “พิพัฒน์” ผงาดนั่งรองหัวหน้า ภท.หลังที่ประชุมเคาะ พร้อมเลือก 11 คกก.สรรหาผู้สมัครเลือกตั้ง
  13. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
ก่อนหน้า พิพัฒน์ รัชกิจประการ ถัดไป
สุชาติ ชมกลิ่น    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
(ครม.63)

(1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
  ยังอยู่ในตำแหน่ง
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
(ครม.62)

(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566)
  สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล