พันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์

พันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ (หรือ มหาสัมพันธมิตร) เป็นพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยรัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเซีย ซึ่งก่อตั้งและลงนามโดยชาติทั้งสามในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1815 ตามพระบรมราชโองการของซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ไม่นานหลังจากการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา ซึ่งจัดขึ้นหลังความพ่ายแพ้ของนโปเลียน[1] แม้พันธมิตรดังกล่าวจะแสดงออกว่าก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมคริสเตียน ความกรุณาและสันติภาพ ในชีวิตการเมืองของยุโรป แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เคลเมนส์ เวนเซล ฟอน เมทแทร์นิช จัดการให้พันธมิตรดังกล่าวเป็นปราการป้องกันการปฏิวัติ พระมหากษัตริย์ของทั้งสามประเทศใช้พันธมิตรดังกล่าวร่วมมือกันป้องกันอิทธิพลปฏิวัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการปฏิวัติฝรั่งเศส มิให้เข้าสู่ประเทศเหล่านี้ พันธมิตรดังกล่าวยังมีแนวคิดต่อต้านประชาธิปไตย การปฏิวัติและฆราวาสนิยม พันธมิตรดังกล่าวมักเกี่ยวข้องกับพันธไมตรีจตุรภาคีและพันธไมตรีเบญจภาคี ซึ่งรวมสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส (ตั้งแต่ ค.ศ. 1818) โดยมีจุดประสงค์ในการที่จะสนับสนุนการจัดการสันติภาพยุโรปซึ่งได้มีข้อสรุปที่การประชุมใหญ่เวียนนา พันธมิตรดังกล่าวตามประเพณีแล้วสิ้นสุดลงเมื่อจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1825

ประเทศผู้ก่อตั้งพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ ใช้พรมแดนยุโรป ค.ศ. 1840

อ้างอิง แก้