พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี

พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (อังกฤษ: Dialectical behavior therapy ตัวย่อ DBT) เป็นจิตบำบัดที่ออกแบบเพื่อช่วยให้เปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ เช่น การทำร้ายตัวเอง การคิดถึงการฆ่าตัวตาย และการติดสารเสพติด[1] วิธีนี้ช่วยให้ควบคุมอารมณ์และความคิดของตนได้มากขึ้นโดยเรียนรู้เกี่ยวกับชนวนที่จุดปฏิกิริยา และช่วยประเมินว่า จะใช้ทักษะเช่นไรในการรับมือกับลำดับเหตุการณ์ ความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ DBT สมมุติว่าทุกคนพยายามทำดีที่สุด แต่ว่าไม่ขาดทักษะก็ได้การเสริมแรง (reinforcement) ไม่ทางลบก็ทางบวก ที่รบกวนการดำเนินชีวิตที่ดี

DBT เป็นรูปแบบดัดแปลงของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ที่นักจิตวิทยา ศ.ดร.มาชา ไลน์แฮน ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันได้พัฒนาขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970[2] เพื่อรักษาความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) และความคิดฆ่าตัวตายเรื้อรัง แม้ว่าผลงานวิจัยที่แสดงประสิทธิผลในการรักษาโรคอื่น ๆ จะจำกัดมาก แต่ DBT ปัจจุบันใช้รักษาโรคจิตต่าง ๆ รวมทั้งการบาดเจ็บที่กะโหลกศีรษะ (TBI) ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder) และความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder)[3][4] มีผลงานวิจัยเล็กน้อยที่แสดงว่า DBT อาจมีผลต่อคนไข้ที่มีอาการและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับความผิดปกติทางอารมณ์เป็นสเปกตรัม (spectrum mood disorders) รวมทั้งการทำร้ายตัวเอง[5] ส่วนงานศึกษาปี 2551 แสดงว่ามีประสิทธิผลต่อเหยื่อทารุณกรรมทางเพศ (sexual abuse)[6] และงานปี 2542 พบผลต่อการติดสารเสพติด[7]

DBT รวมเทคนิคของ CBT ในการควบคุมอารมณ์และการตรวจสอบความจริง บวกกับการอดทนต่อความทุกข์ การยอมรับ การสำนึกรู้อย่างมีสติ โดยสืบมาจากการเจริญสติในพุทธศาสนา DBT เป็นการบำบัดแรกที่มีหลักฐานการทดลองที่แสดงว่ามีผลในการบำบัด BPD[8][9] การทดลองทางคลินิกแบบสุ่มแรกของ DBT พบผลคือ ทีท่าจะฆ่าตัวตาย (suicidal gesture) การเข้าโรงพยาบาลเหตุจิตเวช และการเลิกการรักษาเอง (drop-out) ในอัตราที่ลดลง[4] งานวิเคราะห์อภิมานงานหนึ่งพบว่า DBT มีผลปานกลาง (moderate) ในคนไข้ BPD[10]

ภาพรวม แก้

ผู้พัฒนา DBT ดร. ไลน์แฮนได้สังเกตเห็นความหมดไฟของนักบำบัด หลังจากช่วยคนไข้ที่ไม่ต้องการรักษาผู้ไม่ให้ความร่วมมือแม้ในโปรแกรมการรักษาที่มีผล ความเข้าใจหลักแรกของเธอก็คือ คนไข้ที่คิดฆ่าตัวตายอย่างเรื้อรังที่เธอศึกษาโตขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ทำให้รู้สึกว่าตนมีค่า และดังนั้น จำต้องได้ความเมตตาและการยอมรับแบบไม่มีเงื่อนไขบ้าง เพื่อจะมีความสัมพันธ์กับผู้บำบัดเพื่อรักษาให้สำเร็จผล[a] ความเข้าใจอย่างที่สองก็คือ การต้องได้รับความร่วมมืออย่างแข็งขันจากคนไข้ ผู้ที่ต้องยอมรับได้ว่า ตนมีปัญหาทางอารมณ์ที่แย่มาก

DBT พยายามจัดให้คนไข้มองผู้บำบัดว่าเป็นมิตรแทนที่จะเป็นศัตรูในการบำบัดปัญหาทางใจ เพราะฉะนั้น ผู้บำบัดจึงพยายามยอมรับและให้ความสำคัญต่อความรู้สึกคนไข้ โดยยังต้องให้ข้อมูลได้ว่า ความรู้สึกหรือพฤติกรรมเช่นไรเป็นการปรับตัวผิด (maladaptive) และแสดงทางเลือกที่ดีกว่า[4]

ดร. ไลน์แฮนและนักจิตวิทยาท่านอื่น ๆ รวมการให้ความร่วมมือจากคนไข้กับหลักของวิธีการบำบัดแบบยอมรับแล้วเปลี่ยน (Acceptance and commitment therapy) โดยวิภาษวิธี (ซึ่ง บทตั้ง + บทแย้ง → บทสังเคราะห์ [thesis + antithesis → synthesis]) และสร้างทักษะต่าง ๆ เพื่อควบคุมอารมณ์ของตนด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามหลักจิตวิทยาชาวตะวันตก รวมทั้งการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และ assertiveness training (การฝึกยืนหยัดที่จุดยืนของตน) และหลักเจริญกรรมฐานของชาวตะวันออก เช่น การเจริญสติของศาสนาพุทธ สิ่งที่เธอเพิ่มให้กับสาขาก็คือการเปลี่ยนความสัมพันธ์แบบเผชิญหน้ากันของผู้บำบัด-คนไข้ โดยให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ฉันมิตรที่ตั้งอยู่ในฐานของหลักความรักความเมตตาประกอบกับความเข้มงวด (tough love) DBT ทุกแบบประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ

  • การรักษาส่วนบุคคล - ผู้บำบัดและคนไข้จะสนทนากันเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นในอาทิตย์ที่ผ่านมา (ที่บันทึกลงในบัตรประจำวัน) โดยกล่าวไปตามลำดับความสำคัญในการบำบัด พฤติกรรมทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่อันตรายต่อชีวิต สำคัญสูงสุด อย่างที่สองก็คือพฤติกรรมที่แม้ไม่มีผลลบโดยตรงต่อตนเองหรือผู้อื่น แต่ขัดขวางกระบวนการรักษา ซึ่งเรียกว่าพฤติกรรมรบกวนการรักษา (Therapy interfering behavior) อย่างที่สามก็คือปัญหาคุณภาพชีวิต โดยทำการเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตทั่วไป ในระหว่างการรักษาส่วนบุคคล ผู้บำบัดและคนไข้จะทำการเพื่อเพิ่มการใช้ทักษะ บ่อยครั้ง จะสนทนาเรื่องทักษะและอุปสรรคในการใช้ทักษะเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • การรักษาเป็นกลุ่ม - กลุ่มปกติจะพบกันครั้งหนึ่งต่ออาทิตย์เป็นเวลา 2-2 1/2 ชม. แล้วเรียนรู้การใช้ทักษะโดยเฉพาะต่าง ๆ ที่แบ่งออกเป็น 4 หน่วย คือ (1) สติ (2) ความสัมพันธ์กับผู้อื่น (3) การควบคุมอารมณ์ และ (4) การอดทนต่อความทุกข์
  • กลุ่มผู้บำบัด - รวมผู้บำบัดทุกคนที่ให้ DBT ผู้ประชุมกันทุกอาทิตย์เพื่อให้ความสนับสนุนการบำบัด
  • การฝึกสอนทางโทรศัพท์ - ออกแบบเพื่อช่วยให้คนไข้ใช้ทักษะในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะคุยสั้น ๆ และจำกัดในเรื่องทักษะ

ไม่มีองค์ประกอบใดที่ใช้ต่างหาก เพราะว่าทุกองค์ประกอบสำคัญในการควบคุมไม่ให้แรงกระตุ้นในการฆ่าตัวตายหรือปัญหาทางอารมณ์ต่าง ๆ ขัดขวางวิถีการดำเนินของกลุ่ม ในช่วงที่การรักษาโดยกลุ่มสอนทักษะต่าง ๆ ที่เฉพาะต่อ DBT และช่วยฝึกหัดควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมในสถานการณ์ทางสังคม

หน่วย 4 หน่วย แก้

สติ แก้

สติเป็นแนวคิดหลักอย่างหนึ่งของ DBT ซึ่งมองว่าเป็นฐานของทักษะอื่น ๆ ที่สอนใน DBT เพราะช่วยบุคคลให้ยอมรับและอดทนต่ออารมณ์แรงที่อาจรู้สึกเมื่อมีการขัดนิสัย/ขัดใจหรืออยู่ในเหตุการณ์ที่ทำให้อารมณ์เสีย แนวคิดเกี่ยวกับสติและการฝึกสติได้มาจากการปฏิบัติในพุทธศาสนา แม้ว่าที่ใช้ใน DBT จะไม่รวมแนวคิดทางอภิปรัชญา สำหรับ DBT สติเป็นสมรรถภาพในการให้ความใส่ใจ โดยไม่ตัดสินดีชั่ว ต่อขณะปัจจุบัน เป็นเรื่องใช้ชีวิตในปัจจุบัน โดยประสบกับสัมผัสความรู้สึกและอารมณ์ของตนเองเต็ม ๆ แต่พร้อมกับความเข้าใจ

ทักษะ "อะไรเป็นอะไร" แก้

สังเกต
ใช้ในการสังเกตภายในภายนอกของตนอย่างไม่ตัดสินดีชั่ว ช่วยให้เข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในสถานการณ์หนึ่ง ๆ
DBT แนะนำการฝึกจิตให้เหมือนกระทะเทฟลอน (teflon mind) คือสามารถให้อารมณ์ความรู้สึกและประสบการณ์ผ่านไปโดยไม่ติดใจ[11]
อธิบาย
ใช้อธิบายต่อคนอื่นว่าได้สังเกตเห็นอะไร โดยกล่าวอย่างไม่ตัดสินดีชั่ว
มีส่วนร่วม
ใช้เพื่อที่จะให้มีสมาธิ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ตนกำลังทำ

ทักษะ "ทำอย่างไร" แก้

อย่างไม่ตัดสินดีชั่ว
เป็นการอธิบายความจริง โดยไม่คิดถึงว่าอะไร ดี ชั่ว ยุติธรรม ไม่ยุติธรรม ซึ่งเป็นการตัดสินและไม่ใช่เป็นการกล่าวถึงความจริง การไม่ตัดสินดีชั่วช่วยให้สื่อประเด็นต่อคนอื่นอย่างมีประสิทธิผล โดยไม่เพิ่มการตัดสินที่คนอื่นอาจไม่เห็นด้วย
อย่างมีสมาธิ
ใช้ให้มีสมาธิในสิ่ง ๆ เดียว ช่วยรักษาใจไว้ไม่ให้กลายเป็น "ใจเจ้าอารมณ์" โดยไม่มีเป้า
อย่างมีประสิทธิผล
นี่ก็คือการทำอะไรก็ได้ที่ให้ผล เป็นทักษะแบบกว้าง ๆ ที่สามารถใช้ได้กับทักษะอย่างอื่น ๆ เพื่อช่วยให้สำเร็จในการใช้ทักษะนั้น ๆ[12]

การอดทนต่อความทุกข์ แก้

วิธีการบำบัดสุขภาพจิตหลายวิธีในปัจจุบันมุ่งเปลี่ยนเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ก่อความทุกข์ เช่นความตายของคนรัก การเสียงาน ความเจ็บป่วยหนัก การก่อการร้าย และเหตุการณ์สะเทือนใจอื่น ๆ[13] โดยไม่สนใจเรื่องการยอมรับ การหาความหมาย หรือการอดทนต่อความทุกข์ DBT เน้นการเรียนรู้อดทนต่อความทุกข์อย่างชาญฉลาด

ทักษะการอดทนต่อความทุกข์เป็นพัฒนาการตามธรรมชาติจากการฝึกสติ เป็นความสามารถในการยอมรับ โดยวิธีที่ไม่ประเมินหรือตัดสินทั้งตัวเองทั้งสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากไม่ตัดสิน จึงไม่ได้เห็นชอบหรือยอมแพ้ เป้าหมายก็คือเพื่อที่จะสามารถเข้าใจสถานการณ์ที่ไม่ดีและผลของมัน แทนที่จะถูกครอบงำรุมเร้า หรือต้องซ่อนตัวจากมัน ซึ่งช่วยให้บุคคลตัดสินใจได้ดีว่าจะทำอะไรหรือไม่ แล้วจะทำอย่างไร แทนที่จะตกอยู่ในปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรง สิ้นหวัง และบ่อยครั้งเป็นภัย ที่เป็นส่วนของ BPD[12]

ใส่ใจเรื่องอื่นตามแนว ACCEPTS แก้

เป็นทักษะที่หันไปสนใจอย่างอื่นชั่วคราวจากอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ดี
  • Activities (กิจกรรม) - ทำกิจกรรมดี ๆ ที่ชอบ
  • Contribute (ช่วยส่งเสริม) - ช่วยคนอื่นหรือชุมชนของตน
  • Comparisons (เปรียบเทียบ) - เทียบตัวเองกับคนที่โชคดีน้อยกว่าหรือกับตนเองในสภาพที่แย่กว่า
  • Emotions (อารมณ์อื่น) - ก่อความรู้สึกอย่างอื่นให้ตัวเองโดยใช้อารมณ์ขัน หรือก่อความสุขด้วยกิจกรรมที่ชอบ
  • Push away (ดันออก) - เก็บสถานการณ์นี้ไว้ก่อนสักพักหนึ่ง คิดถึงเรื่องอย่างอื่นก่อนชั่วคราว
  • Thoughts (คิดถึงอย่างอื่น) - บังคับตัวเองให้คิดถึงอย่างอื่น
  • Sensations (รู้สึกอย่างอื่น) - ทำอะไรที่ให้สัมผัสความรู้สึกที่มีกำลังอื่น ๆ เช่น อาบน้ำเย็น ๆ หรือทานขนมที่เผ็ด ๆ[12]

ปลอบตัวเอง แก้

เป็นทักษะที่ประพฤติต่อตัวเองอย่างปลอบใจ อย่างรักษาใจ อย่างมีเมตตา และอย่างนุ่มนวล คือทำอะไรที่ทำให้รู้สึกสบายใจ โดยใช้ในขณะที่ทุกข์หรือวุ่นวายใจ[12] นักเล่นอเมริกันฟุตบอลชื่อดังคนหนึ่ง (Brandon Marshall) ที่ได้วินิจฉัยว่าเป็น BPD ในปี 2554 เป็นแฟนของ DBT โดยอ้างกิจกรรมเช่น การสวดมนต์และการฟังดนตรีแจ๊สว่ามีส่วนช่วยในการรักษาเขา

ปรับปรุงขณะปัจจุบันด้วย IMPROVE แก้

เป็นทักษะที่ใช้ในขณะที่ทุกข์เพื่อให้ผ่อนคลาย
  • Imagery (จินตนาการ) - ให้จินตนาการถึงสถานการณ์ที่สบาย ๆ ว่าทุกอย่างกำลังเป็นไปด้วยดี หรือถึงสิ่งอื่น ๆ ที่ชอบ
  • Meaning (หาความหมาย) - หาเป้าหมายหรือความหมายในสิ่งที่กำลังรู้สึกอยู่
  • Prayer (สวดมนต์) - สวดถึงสิ่งที่บูชา หรือถ้าไม่เชื่อในศาสนา ให้ท่องมนต์อะไรส่วนตัว
  • Relaxation (ผ่อนคลาย) - ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หายใจลึก ๆ ทำให้ตนรู้สึกสบาย
  • One thing in the moment (อย่างเดียวในขณะนี้) - เพ่งความใส่ใจทั้งหมดในสิ่งที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ รักษาตนอยู่ในปัจจุบัน
  • Vacation (พักร้อนย่อย ๆ) - พักร้อนจากสิ่งที่ทำอยู่เป็นระยะสั้น ๆ
  • Encouragement (ให้กำลังใจ) - บอกตนว่าสามารถผ่านและรับมือเหตุการณ์นี้ได้ และมันจะช่วยให้เข้มแข็งและลดความอ่อนแอ[12]

ข้อดีและข้อเสีย แก้

คิดถึงข้อดีข้อเสียในการไม่อดทนต่อความทุกข์[12]

ยอมรับแต่โดยดี แก้

อย่าไปสู้ความจริง ยอมรับสถานการณ์ตามที่เป็น[12]

เปลี่ยนใจ แก้

เปลี่ยนใจไปเป็นแบบยอมรับ ใช้กับการยอมรับแต่โดยดี[12]

เต็มใจหรือดื้อ แก้

เต็มใจและเปิดใจทำสิ่งที่มีประสิทธิผล ปล่อยความดื้อดึงที่ขัดขวางการยอมรับสิ่งที่ควรยอมรับ โดยให้มองที่เป้าหมายของตน[12]

การควบคุมอารมณ์ แก้

บุคคลที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (BPD) หรือคนที่คิดฆ่าตัวตายบ่อยครั้งเป็นคนมีอารมณ์รุนแรงและเปลี่ยนง่าย โดยเป็นความโกรธ ความผิดหวังรุนแรง ความซึมเศร้า หรือความวิตกกังวล ซึ่งแสดงว่าคนไข้อาจได้ประโยชน์ในการเรียนรู้ควบคุมอารมณ์ตนเอง ทักษะควบคุมอารมณ์ที่สอนโดย DBT รวมทั้ง[14][15]

  • กำหนดและให้ชื่ออารมณ์ความรู้สึก
  • กำหนดอุปสรรคที่จะเปลี่ยนอารมณ์
  • ลดความอ่อนแอต่อ "ใจเจ้าอารมณ์"
  • เพิ่มอารมณ์เชิงบวก
  • รักษาสติใส่ใจที่อารมณ์ปัจจุบัน
  • ทำสิ่งตรงกันข้าม
  • ใช้เทคนิคอดทนต่อความทุกข์[12]

กำหนดอารมณ์ แก้

ทักษะนี้ใช้เพื่อเข้าใจว่าตนกำลังมีอารมณ์ความรู้สึกอะไรอยู่
  1. เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์
  2. การตีความเหตุการณ์
  3. ความรู้สึกทางกาย
  4. อากัปกิริยาทางกายที่แสดงความ
  5. ความรู้สึกว่าอยากจะทำอะไร
  6. สิ่งที่ทำ
  7. กำหนดว่าเป็นอารมณ์อะไร อาศัยรายการก่อน ๆ[12]

รักษาสุขภาพด้วย PLEASE แก้

ทักษะนี้เพื่อแก้นิสัยไม่ดีทางสุขภาพที่ทำให้อ่อนแอต่อการมีใจเจ้าอารมณ์ เป็นทักษะที่ช่วยให้มีสุขภาพทางกายดี ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสมีสุขภาพจิตดีมากขึ้น
  • PhysicaL illness (รักษาความป่วยทางกาย) ถ้าป่วยหรือบาดเจ็บ ให้รักษาให้ถูกต้อง
  • Eating (ทานอาหารให้สมดุล) ให้ทานอาหารที่ถูกสุขภาพ และทานแต่พอประมาณ
  • Avoid mood-altering drugs (เลี่ยงยาที่เปลี่ยนอารมณ์) อย่าทานยาที่หมอไม่ได้สั่งหรือยาที่ผิดกฎหมาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายอย่างยิ่ง และทำให้อารมณ์ไม่แน่นอน
  • Sleep (นอนให้พอดี) อย่านอนน้อยหรือมากเกินไป แนะนำให้นอน 8 ชม. ต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ปกติ
  • Exercise (ออกกำลังกาย) ให้ออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกดีต่อรูปร่างของตน และช่วยปล่อยสารเอ็นดอร์ฟินในร่างกาย ทำให้รู้สึกสุข[12]

ฝึกความชำนาญ แก้

พยายามทำสิ่งเหล่านี้อย่างละวันเพื่อช่วยสร้างความสามารถและเพิ่มการควบคุม[12]

การกระทำตรงกันข้าม แก้

ทักษะนี้ใช้เมื่อมีอารมณ์ที่ไม่สมเหตุผล ที่ไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญหน้า โดยทำสิ่งตรงกันข้ามกับความรู้สึกในขณะนี้ เป็นเครื่องมือช่วยออกจากอารมณ์ที่ไม่ต้องการหรือไม่สมเหตุผลโดยแทนที่ด้วยอารมณ์ตรงกันข้าม[12]

การแก้ปัญหา แก้

ทักษะนี้ใช้แก้ปัญหาเมื่ออารมณ์ที่เกิดสมเหตุผล โดยใช้กับเทคนิคและทักษะอื่น ๆ[12]

ปล่อยความทุกข์ไป แก้

สังเกตและรู้สึกถึงอารมณ์ ยอมรับมัน แล้วปล่อยไป[12]

ประสิทธิภาพทางสังคม แก้

รูปแบบการตอบสนองต่อบุคคลอื่น ๆ เป็นทักษะที่สอนใน DBT เหมือนกับในวิชาแก้ปัญหาเรื่องการยืนหยัดในจุดยืนของตน (assertiveness) และปัญหาในระหว่างบุคคล ซึ่งรวมกลยุทธ์การขอ/ถามถึงสิ่งที่ตนต้องการ การปฏิเสธ และการรับมือกับความขัดแย้งกับคนอื่น

บุคคลที่เป็นโรค BPD บ่อยครั้งมีทักษะทางสังคมที่ดีโดยทั่วไป แต่มีปัญหาในการประยุกต์ใช้ทักษะเหล่านั้นในสถานการณ์โดยเฉพาะ ๆ คือ บุคคลนั้นอาจจะสามารถบอกลำดับพฤติกรรมที่ได้ผลดีเมื่อเป็นปัญหาของบุคคลอื่น แต่กลับไม่สามารถคิดถึงหรือทำตามลำดับพฤติกรรมที่ว่า เมื่อเป็นเรื่องของตนเอง

หน่วยประสิทธิผลระหว่างบุคคลนี้มุ่งสถานการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง (เช่น ขอให้คนอื่นทำอะไรบางอย่าง) หรือต้องการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงที่คนอื่นต้องการ (เช่น การปฏิเสธ) ทักษะที่สอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะถึงเป้าหมายให้มากที่สุด โดยในขณะเดียวกัน ไม่ทำลายความสัมพันธ์กับหรือความภูมิใจของคนอื่น

ขอ/ถามด้วย DEARMAN แก้

นี่เป็นตัวย่อที่ใช้เพื่อได้สิ่งที่ต้องการเมื่อขอ/ถามคนอื่น
  • Describe (อธิบาย) อธิบายสถานการณ์ของตน
  • Express (บอกความรู้สึก) แสดงว่าทำไมนี่จึงเป็นปัญหาและตัวเองรู้สึกอย่างไร
  • Assert (ยืนยัน) ยืนยันโดยขอ/ถามสิ่งที่ต้องการอย่างชัดเจน
  • Reinforce (เสริม) เสริมจุดยืนของตนโดยแสดงผลที่ดีถ้าได้สิ่งที่ต้องการ
  • Mindful (มีสติ) มีสติในสถานการณ์และให้ตั้งสมาธิจดจ่อในสิ่งที่ต้องการโดยอย่าสนใจเรื่องกวนสมาธิอื่น ๆ
  • Appear (ดูมั่นใจ) ให้ดูมั่นใจแม้ว่าจะไม่รู้สึกมั่นใจ
  • Negotiate (ต่อรอง) ต่อรองกับคนที่ลังเลเพื่อให้ถึงจุดประนีประนอมที่ดีในทางที่ต้องการ

ให้ด้วย GIVE แก้

ทักษะนี้ช่วยรักษาความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะกับคนร่วมงาน ครอบครัว คู่รัก เป็นต้น ใช้ในการสนทนา
  • Gentle (นิ่มนวล) ใช้ภาษาที่สมควร ไม่ประทุษร้ายทางกายทางวาจา ไม่ดูถูก ไม่พูดประชดนอกจากมั่นใจว่าบุคคลนั้นไม่เป็นไร พูดอย่างสุภาพและไม่ตัดสินดีชั่ว
  • Interested (สนใจ) เมื่อคนที่พูดด้วยกำลังกล่าว ให้แสดงความสนใจต่อสิ่งที่เขาพูด ให้มองตา ถามคำถาม เป็นต้น อย่าใช้มือถือในขณะที่กำลังคุยกับคนอื่น
  • Validate (ให้ความเห็นใจ) แสดงว่าตนเข้าใจสถานการณ์ของคนอื่นและเห็นใจ ซึ่งสามารถแสดงทางกายวาจา เช่นทางสีหน้า
  • Easy Manner (สบาย ๆ) ให้ใจเย็นทำตัวสบาย ๆ ระหว่างคุยกัน ใช้มุกตลก ยิ้ม

รักษาความนับถือ/ความภูมิใจในตนเองด้วย FAST แก้

เป็นทักษะที่ช่วยรักษาความนับถือ/ความภูมิใจในตนเอง ใช้กับทักษะระหว่างบุคคลอื่น ๆ
  • Fair (ยุติธรรม) ยุติธรรมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
  • Apologies (ขอโทษแต่น้อย) อย่าขอโทษเกินกว่าครั้งหนึ่งสำหรับสิ่งที่ตนทำแล้วไม่ได้ผลดี อย่าขอโทษสำหรับสิ่งที่ทำแล้วได้ผลดี
  • Stick to Your Values (รักษาค่านิยมของตน) ตั้งอยู่ในจุดยืนที่ตนเชื่อ อย่างให้บุคคลอื่นโน้มน้าวให้ทำสิ่งตรงข้ามกับค่านิยมของตน
  • Truthful (ซื่อสัตย์) อย่าโกหก ซึ่งจะกองใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และอย่าทำความสัมพันธ์กับคนอื่นหรือความภูมิใจในตนเองให้เสียหาย[12]

บทความนี้ไม่ได้รวมหน่วย "แก้ปัญหา" ซึ่งมีจุดหมายให้ฝึกเป็นผู้บำบัดตนเอง

อุปกรณ์ แก้

บัตรประจำวัน แก้

มีบัตรที่ออกแบบเป็นพิเศษเพื่อบันทึกพฤติกรรมรบกวนการรักษา (Therapy interfering behavior) ที่ขัดขวางความก้าวหน้าของคนไข้ ซึ่งสามารถเขียนทุกวัน หรือ 2-3 ครั้งต่อวัน หรือครั้งหนึ่งต่ออาทิตย์

การวิเคราะห์ลูกโซ่ แก้

การวิเคราะห์ลูกโซ่ (Chain analysis) เป็นรูปแบบการวิเคราะห์พฤติกรรมแบบ functional analysis (การประยุกต์ใช้กฎของเงื่อนไขจากตัวดำเนินการ [Operant conditioning] เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและปฏิกิริยา) แต่สนใจเพิ่มในลำดับเหตุการณ์ที่นำไปสู่ลูกโซ่พฤติกรรม เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานในจิตวิทยาพฤติกรรม โดยเฉพาะคือแนวคิดเกี่ยวกับลูกโซ่ใน applied behavior analysis[16] และมีหลักฐานที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สนับสนุนการวิเคราะห์พฤติกรรมแบบลูกโซ่ในกลุ่มประชากรหลายกลุ่ม

สังคม แก้

สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือวัฒนธรรมของกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นกุญแจสำคัญของประสิทธิผลที่ได้จาก DBT

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. Described by Thich Nhat Hanh in his second moral precept of Zen Buddhism as loving kindness.

อ้างอิง แก้

  1. "An Overview of Dialectical Behavior Therapy". Psych Central. สืบค้นเมื่อ 2015-01-19.
  2. "What is DBT?". The Linehan Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-07. สืบค้นเมื่อ 2015-08-29.
  3. Janowsky, David S. (1999). Psychotherapy indications and outcomes. Washington, DC: American Psychiatric Press. p. 100. ISBN 0-88048-761-5.
  4. 4.0 4.1 4.2 Linehan, MM; Dimeff, L (2001). "Dialectical Behavior Therapy in a nutshell" (PDF). pp. 10–13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-13. สืบค้นเมื่อ 2016-08-16.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) (The California Psychologist, 34)
  5. Brody, JE (2008-05-06). "The growing wave of teenage self-harm". New York Times.{{cite news}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Decker, S.E.; Naugle, A.E. (2008). "DBT for Sexual Abuse Survivors: Current Status and Future Directions" (PDF). Journal of behavior Analysis of Offender and Victim: Treatment and Prevention. 1 (4): 52–69.
  7. Linehan, Marsha M.; Schmidt, Henry III; Dimeff, Linda A.; Craft, J. Christopher; Kanter, Jonathan; Comtois, Katherine A. (1999). "Dialectical Behavior Therapy for Patients with Borderline Personality Disorder and Drug-Dependence" (PDF). The American Journal on Addictions. pp. 279–292. สืบค้นเมื่อ 2014-03-31.
  8. Linehan, M. M.; Armstrong, H. E.; Suarez, A.; Allmon, D.; Heard, H. L. (1991). "Cognitive-behavioral treatment of chronically parasuicidal borderline patients". Archives of General Psychiatry. 48: 1060–64. doi:10.1001/archpsyc.1991.01810360024003.
  9. Linehan, M. M.; Heard, H. L.; Armstrong, H. E. (1993). "Naturalistic follow-up of a behavioural treatment of chronically parasuicidal borderline patients". Archives of General Psychiatry. 50 (12): 971–974. doi:10.1001/archpsyc.1993.01820240055007. PMID 8250683.
  10. Kliem, S; Kröger, C; Kossfelder, J (2010). "Dialectical behavior therapy for borderline personality disorder: A meta-analysis using mixed-effects modeling". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 78 (6): 936–951. doi:10.1037/a0021015. PMID 21114345.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Young, Kathleen (2010-03-11), "Mindfulness and DBT: "What skills"", Dr. Kathleen Young: Treating Trauma in Tucson
  12. 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 12.10 12.11 12.12 12.13 12.14 12.15 12.16 Dietz, Lisa (2003). "DBT Skills List". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-14. สืบค้นเมื่อ 2010-04-26.
  13. ""Road To Resiliance" Article: What is resilience?". American Psychological Association.
  14. Stone, MH (1987). American Psychiatric Press review of psychiatry. Vol. 8. Washington DC: American Psychiatric Press. pp. 103–122. {{cite book}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  15. Holmes, P; Georgescu, S; Liles, W (2005). "Further delineating the applicability of acceptance and change to private responses: The example of dialectical behavior therapy" (PDF). The Behavior Analyst Today. 7 (3): 301–311.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Sampl, S; Wakai, S; Trestman, R; Keeney, EM (2008). "Functional Analysis of Behavior in Corrections: Empowering Inmates in Skills Training Groups" (PDF). Journal of Behavior Analysis of Offender and Victim: Treatment and Prevention. 1 (4): 42–51.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ แก้

  • Linehan,M.M., Comtois K.A., Murray A.M., Brown M.Z., Gallop R.J., Heard H.L., Korslund K.E., Tutek D.A., Reynolds S.K., Lindenboim N. (2006). Two-year randomized controlled trial and follow-up of dialectical behavior therapy vs therapy by experts for suicidal behaviors and borderline personality disorder. Arch Gen Psychiatry, 63(7), 757-66.
  • Linehan,M.M., Heard,H.L. (1993) "Impact of treatment accessibility on clinical course of parasuicidal patients": Reply. Archives of General-Psychiatry, 50(2) : 157-158.
  • Linehan,M.M., Tutek,D.A., Heard,H.L., Armstrong,H.E. (1994). Interpersonal outcome of cognitive behavioral treatment for chronically suicidal borderline patients. American Journal of Psychiatry, 151, 1771-1776.
  • Linehan,M.M., Schmidt,H., Dimeff,L.A., Craft,J.C., Kanter,J., Comtois,K.A. (1999). Dialectical behavior therapy for patients with borderline personality disorder and drug-dependence. American Journal on Addiction, 8(4), 279-292.
  • Linehan, M.M., Dimeff, L.A., Reynolds, S.K., Comtois, K.A., Welch, S.S., Heagerty, P., Kivlahan, D.R. (2002). Dialectical behavior therapy versus comprehensive validation plus 12-step for the treatment of opioid dependent women meeting criteria for borderline personality disorder. Drug and Alcohol Dependence, 67(1), 13-26.
  • Koons, C.R., Robins, C.J., Tweed, J.L., Lynch, T.R., Gonzalez, A.M., Morse, J.Q., Bishop, G.K., Butterfield, M.I., Bastian, L.A. (2001). Efficacy of dialectical behavior therapy in women veterans with borderline personality disorder. Behavior Therapy, 32(2), 371-390.
  • van den Bosch, L.M.C., Verheul, R., Schippers, G.M., van den Brink, W. (2002). Dialectical Behavior Therapy of borderline patients with and without substance use problems: Implementation and long-term effects. Addictive Behaviors, 27(6), 911-923.
  • Verheul, R., van den Bosch, L.M.C., Koeter, M.W.J., de Ridder, M.A.J., Stijnen, T., van den Brink, W. (2003). Dialectical behaviour therapy for women with borderline personality disorder: 12-month, randomised clinical trial in the Netherlands. British Journal of Psychiatry, 182, 135-140.
  • Linehan et al. (2006) NIMH 3 Two-Year Randomized Control Trial and Follow up of DBT
  • The Miracle of Mindfulness by Thich Nhat Hanh. ISBN 0-8070-1239-4.
  • Skills Training Manual for Treating Borderline Personality Disorder by Marsha M. Linehan. 1993. ISBN 0-89862-034-1.
  • Cognitive Behavioral Treatment of Borderline Personality Disorder by Marsha M. Linehan. 1993. ISBN 0-89862-183-6.
  • Fatal Flaws: Navigating Destructive Relationships with People with Disorders of Personality and Character by Stuart C. Yudovsky. ISBN 1-58562-214-1.
  • The High Conflict Couple: A Dialectical Behavior Therapy Guide to Finding Peace, Intimacy, & Validation by Alan E. Fruzzetti. ISBN 1-57224-450-X.
  • Dialectical Behavior Therapy with Suicidal Adolescents by Alec L. Miller, Jill H. Rathus, and Marsha M. Linehan. Foreword by Charles R. Swenson. ISBN 978-1-59385-383-9.
  • Dialectical Behavior Therapy Workbook: Practical DBT Exercises for Learning Mindfulness, Interpersonal Effectiveness, Emotion Regulation, & Distress Tolerance (New Harbinger Self-Help Workbook) by Matthew McKay, Jeffrey C. Wood, and Jeffrey Brantley. ISBN 978-1-57224-513-6.
  • Don't Let Your Emotions Run Your Life: How Dialectical Behavior Therapy Can Put You in Control (New Harbinger Self-Help Workbook) by Scott E. Spradlin. ISBN 978-1-57224-309-5.
  • Depressed and Anxious: The Dialectical Behavior Therapy Workbook for Overcoming Depression & Anxiety by Thomas Marra. ISBN 978-1-57224-363-7.
  • Priory's An Overview of Dialectical Behaviour Therapy
  • Overview of Borderline Personality Disorder and DBT treatment
  • Marsha Linehan's description of DBT เก็บถาวร 2017-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • DBT and Relationships