พรุน เป็นสายพันธุ์หนึ่งในพืช ตระกูลพลัม ส่วนใหญ่สายพันธุ์ Prunus domestica หรือพลัมยุโรป ซึ่งซื้อขายทั้งผลสดหรือทำเป็นผลไม้แห้ง พรุนแห้งมักถูกเรียกว่า พลัมแห้ง โดยทั่วไปแล้ว พรุนสดจะเป็นพันธุ์ที่เม็ดล่อน (ดึงแกนเม็ดออกได้ง่าย) ในขณะที่พลัมที่ปลูกเพื่อบริโภคผลสด จะยังมีเม็ดอยู่ (แกนเม็ดเอาออกได้ยากกว่า)

พรุนสด (Prunus domestica)
พรุนแปรรูป

การผลิต แก้

พลัมมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ ปลูกเพื่อทำผลไม้อบแห้ง สายพันธุ์หลักๆ ที่ปลูกในสหรัฐอเมริกาคือสายพันธุ์ พรุนฝรั่งเศสที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์แล้ว ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ ที่ปลูกกันเช่น Sutter, Tulare Giant, Moyer, Imperial, Italian, และพันธุ์ Greengage. สายพันธุ์พรุนฝรั่งเศสจะเป็นพันธุ์ที่ออกจำหน่ายเร็วกว่าและผลยังเล็กกว่าพลัมพันธุ์อื่นด้วย

การตราชื่อสินค้า แก้

เนื่องจากพรุนที่ได้รับความนิยมที่รับประทานกัน(ในสหรัฐอเมริกา) รับประทานเพื่อแก้อาการท้องผูก และจึงถูกนำไปเป็นมุขตลก ปัจจุบันผู้ผลิตพรุนแห้งจึงไม่ระบุคำว่า "พรุน" บนฉลากบรรจุ แต่จะใช้คำว่า "พลัมแห้ง" แทน[1]

การใช้ประโยชน์ แก้

Plums, dried (prunes), uncooked
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน1,006 กิโลจูล (240 กิโลแคลอรี)
63.88 g
น้ำตาล38.13 g
ใยอาหาร7.1 g
0.38 g
2.18 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(5%)
39 μg
(4%)
394 μg
148 μg
ไทอามีน (บี1)
(4%)
0.051 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(16%)
0.186 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(13%)
1.882 มก.
(8%)
0.422 มก.
วิตามินบี6
(16%)
0.205 มก.
โฟเลต (บี9)
(1%)
4 μg
คลอรีน
(2%)
10.1 มก.
วิตามินซี
(1%)
0.6 มก.
วิตามินอี
(3%)
0.43 มก.
วิตามินเค
(57%)
59.5 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(4%)
43 มก.
เหล็ก
(7%)
0.93 มก.
แมกนีเซียม
(12%)
41 มก.
แมงกานีส
(14%)
0.299 มก.
ฟอสฟอรัส
(10%)
69 มก.
โพแทสเซียม
(16%)
732 มก.
โซเดียม
(0%)
2 มก.
สังกะสี
(5%)
0.44 มก.
องค์ประกอบอื่น
Fluoride4 µg

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

พรุนมักจะถูกนำไปทำอาหารทั้งของหวานและอาหารเรียกน้ำย่อย ขนมหวานเช่น สตลูพรุน ผลไม้เชื่อม พรุนยังเป็นส่วนผสมของ อาหารท้องถิ่นของแอฟริกันเหนือ พรุนที่มีชื่อเสียงอย่างมากเป็น พรุนที่มาจากแหล่ง Agen (pruneaux d'Agen) ซึ่งอยู่ในประเทศฝรั่งเศส อาหารชื่อTzimmes ก็มักจะใช้พรุนเป็นส่วนประกอบ Tzimmes เป็นอาหารยิวท้องถิ่นซึ่งมีส่วนประกอบคือแครรอทหั่นเต๋าหรือหั่นสไลด์ ซุปนอร์ดิก คิเซล์ที่ทำจากพรุนก็มักจะกินกับ พุดดิ้งข้าว ในมื้อเย็นวันคริสต์มาส ซึ่งเป็นประเพณีของชาวนอร์เวย์ที่จะรับประทานขนมหวานซุปผลไม้ และพรุนยังเป็นส่วนผสมในอาหารช่วงเทศกาลต่างๆอีกด้วย เช่นเมนูอาหารยัดไส้ เค้ก และเอาไปทำเป็นพลัมคลุกน้ำตาล พรุนที่ใส่ในขนมอบได้รับความนิยมเป็นที่แรกๆในนิวยอร์กและบางส่วนของชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ไอศกรีมรสพรุนเป็นที่นิยมอย่างมากในสาธารณรัฐโดมินิดัน พรุนยังนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ อีกด้วย ใน Cotswolds (พื้นที่บริเวณฝั่งตะวันตกตอนใต้ของประเทศอังกฤษ) ลูกพรุนถูกใช้เป็นหัวเชื่อในการหมักเครื่องดื่มไซเดอร์ที่ชื่อ jerkum เนื่องจากพรุนมีน้ำตาลสูง ดังนั้นพรุนจึงสามารถนำมาหมักเป็นไซเดอร์และเบียร์ได้

ผลต่อสุขภาพ แก้

ประโยชน์ แก้

พรุนและน้ำพรุนมีฤทธิ์เป็น ยาระบายอ่อนๆ ซึ่งมีสารประกอบฟีนอล (ประกอบด้วย กรด neochlorogenic acids และ chlorogenic acids) และสาร sorbitol.[2] พรุนยังมีกากใยอาหาร (ประมาณ 7%หรือ 0.07 g ต่อพรุน 1 กรัม) พรุนและน้ำพรุน จึงเป็นยาสามัญพื้นบ้านที่ใช้ในการรักษาอาการท้องผูก บทวิจารณ์บางบทยังไม่สามารถหาหลักฐานที่น่าเชื่อถือ(จากสถาบัน EFSA)ในการนำมายืนยันหรือปฏิเสธประสิทธิภาพของพรุนในการรักษา[3] แต่ถึงอย่างไรพรุนก็มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง[4]

ข้อด้อย แก้

ในพรุนแห้งพบว่ามีสารทางเคมีชื่อ acrylamide ที่รู้จักกันว่ามีพิษต่อระบบประสาทและเป็นสารก่อมะเร็ง [5] สาร Acrylamide ซึ่งไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เกิดจากกระบวนการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนมากกว่า 100°C ถึงแม้ว่าการอบแห้งของลูกพรุนด้วยการอบโดยเครื่องจักรโดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้ใช้ความร้อนสูงขนาดนั้น แต่ก็มีรายงานการพบว่ามีการก่อตัวของสารAcrylamide ในผลลูกพรุนแห้งเช่นเดียวกับลูกแพร์แห้ง

แม้ว่าสาร acrylamide จะรู้กันว่าเป็นพิษต่อระบบประสาท และระบบเจริญพันธุ์ แต่จากรายงานการประชุมในเดือน มิถุนายน 2014 ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก ได้สรุปบริมาณที่เฝ้าระวังในการบริโภคซึ่งจะก่อให้เกิดโรคทางเส้นประสาทไว้ที่ (0.5 มิลิกรัม/ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน) มากกว่า 500 เท่าของค่าเฉลี่ยในการบริโภค และต้องรับสาร acrylamide (1 μg/น้ำหนักตัว 1กิโลกรัม/วัน) หรือมากกว่า 2,000 เท่าในค่าเฉลี่ยในการรับประทานจึงจะส่งผลต่อระบบเจริญพันธุ์[6] จากรายงานดังกล่าว จึงสรุปได้ว่าการบริโภคสารacrylamide จากอาหารอยู่ในระดับที่ปลอดภัยจากการเกิดโรคทางเส้นประสาท แต่อาจเพิ่มความเสี่ยงเรื่องการเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ เช่นเดียวกับการเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง[6]

ดูเพิ่ม แก้

References แก้

  1. Janick, Jules and Robert E. Paull (2008). The encyclopedia of fruit & nuts. CABI. ISBN 0-85199-638-8. p. 696.
  2. Stacewicz-Sapuntzakis, M; Bowen, PE; Hussain, EA; Damayanti-Wood, BI; Farnsworth, NR (2001). "Chemical composition and potential health effects of prunes: a functional food?". Critical reviews in food science and nutrition. 41 (4): 251–86. doi:10.1080/20014091091814. PMID 11401245.
  3. Scientific Opinion on the substantiation of health claims related to dried plums of ‘prune’ cultivars (Prunus domestica L.) and maintenance of normal bowel function (ID 1164) pursuant to Article 13(1) of Regulation (EC) No 1924/2006, EFSA Journal 2010; 8(2):1486 [14 pp.]. doi:10.2903/j.efsa.2010.1486
  4. "USDA Database for the Oxygen Radical Absorbance Capacity (ORAC) of Selected Foods, Release 2" (PDF). United States Department of Agriculture. พฤษภาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2013.
  5. Acrylamide in dried Fruits ETH Life (Swiss Federal Institute of Technology Zurich)
  6. 6.0 6.1 FAO/WHO Consultation on the Health Implications of Acrylamide in Food; Geneva, 25–27 June 2002, Summary Report. (PDF) . Retrieved on 2012-06-11.

External links แก้