พระเจ้าอัลฟอนโซมหาราช

อัลฟอนโซที่ 3 หรือ อัลฟอนโซมหาราช (สเปน: Alfonso El Magno) เสด็จพระราชสมภพ ค.ศ. 838 เสด็จสวรรคต ค.ศ. 910 ที่ซาโมรา ราชอาณาจักรเลออน ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอัสตูเรียสตั้งแต่ปี ค.ศ. 866 ถึง ค.ศ. 910 ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าออร์ดอนโญที่ 1

พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3
จุลจิตรกรรม (ค.ศ. 1118) จากหอสมุดของอาสนวิหารโอบิเอโด แสดงภาพพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 ขนาบข้างโดยพระราชินี ฆีเมนา (ซ้าย) และบิชอปโกเมโลที่ 2 (ขวา)
กษัตริย์แห่งอัสตูเรียส
ครองราชย์ค.ศ. 866–910
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าออร์ดอญโญที่ 1 แห่งอัสตูเรียส
รัชกาลถัดไปพระเจ้าฟรูเอลาที่ 2 แห่งเลออน (อัสตูเรียส)
พระเจ้าการ์เซียที่ 1 แห่งเลออน (เลออน)
พระเจ้าออร์ดอญโญที่ 2 แห่งเลออน (กาลิเซีย)
ประสูติค.ศ. 848
สิ้นพระชนม์20 ธันวาคม ค.ศ. 910
ฝังพระศพอาสนวิหารซานซัลบาดอร์ เมืองโอบิเอโด
พระมเหสีฆีเมนาแห่งปัมโปลนา
พระบุตรพระเจ้าฟรูเอลาที่ 2 แห่งเลออน
พระเจ้าการ์เซียที่ 1 แห่งเลออน
พระเจ้าออร์ดอญโญที่ 2 แห่งเลออน
ราชวงศ์อัสตู-เลโอเนซา
พระบิดาพระเจ้าออร์ดอญโญที่ 1 แห่งอัสตูเรียส
พระมารดานุญญา
ลายพระอภิไธย

เมื่อชนะในการต่อสู้แย่งชิงสิทธิ์ในการสืบทอดบัลลังก์ พระองค์ย้ายเมืองหลวงจากเดิมที่เคยอยู่ที่โอบิเอโดมาอยู่ที่นครเลออนของชาวโรมันที่บูรณะใหม่ พระองค์สามารถยึดครองโปร์ตู (โอพอร์โต) ได้ในปี ค.ศ. 868 และทำให้ราชอาณาจักรกัสตียาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแถวๆ บูร์โกส ทรงผูกสัมพันธไมตรีกับชาวบาสก์ และกำลังฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ของชาววิซิกอธขึ้นมาในตอนที่กำลังสร้างโบสถ์ของนักบุญเจมส์ที่ซานเตียโกเดกอมโปสเตลา ศาสนสถานของราชอาณาจักรคริสเตียน การขยายอาณาเขตของพระเจ้าอัลฟอนโซอาจเกิดขึ้นในช่วงที่รัฐเอมีร์กอร์โดบาของชาวมุสลิมกำลังสั่นสะเทือน การครองความเป็นใหญ่ของชาวอาหรับได้ถูกท้าทายโดยผู้คัดค้านชาวเบอร์เบอร์ ช่วงที่กอร์โดบาตกอยู่ในอันตราย ความเกรียงไกรของพระเจ้าอัลฟอนโซก็เริ่มปราฏกตัวขึ้นมา ในปลายรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 สามารถยึดครองกูอิงบรา, ซาโมรา และบูร์โกส พระองค์ถูกปลดลงจากบัลลังก์โดยพระโอรสในปี ค.ศ. 910 และสิ้นพระชนม์ระหว่างถูกขับไล่ออกจากประเทศ พระองค์อาจเป็นคนเขียนหรือเป็นคนสั่งให้เขียน พงศาวดารของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 แหล่งข้อมูลสำคัญของประวัติศาสตร์สเปนยุคแรกๆ

ประวัติ แก้

รัชสมัยของพระเจ้าอัลฟอนโซโดดเด่นในด้านความสำเร็จในการสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับราชอาณาจักรในช่วงที่เจ้าชายอุมัยยะฮ์แห่งกอร์โดบากำลังอ่อนแอ พระองค์ต่อสู้และได้รับชัยชนะมากมายหลายครั้งเหลือชาวมุสลิมของอัลอันดะลุส[1]

ช่วงปีแรกของการครองราชย์ พระองค์ต้องขับเคี่ยวกับผู้แย่งชิงบัลลังก์ คือ เคานต์ฟรูเอลาแห่งกาลิเซีย ทรงถูกบีบให้หนีไปกัสตียา แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือนฟรูเอลาถูกลอบสังหาร พระเจ้าอัลฟอนโซจึงกลับมาโอบิเอโดอีกครั้ง

ทรงปราบกบฏชาวบาสก์ในปี ค.ศ. 867 ต่อมาก็กบฏชาวกาลิเซีย ทรงพิชิตโอพอร์โตกับกูอิงบราในปี ค.ศ. 868 และ 878 ตามลำดับ ราวปี ค.ศ. 869 พระองค์สานสัมพันธไมตรีกับราชอาณาจักรปัมโปลนาและกระชับสายสัมพันธ์ด้วยการแต่งงานกับฆีเมนา ที่เข้าใจกันว่าเป็นพระธิดาของพระเจ้าการ์เซีย อีนญีเกส หรือไม่ก็อาจเป็นสมาชิกของราชวงศ์ฆีเมเนสแต่เป็นไปได้น้อย และยังทรงแต่งพระขนิษฐา เลโอเดกุนเดีย กับเจ้าชายแห่งปัมโปลนา

พระองค์มีคำสั่งให้เขียนพงศาวดารสามฉบับที่แสดงให้เห็นว่าราชอาณาจักรอัสตูเรียสเป็นรัฐที่สืบทอดมาจากอดีตราชอาณาจักรวิซิกอธ พระองค์ยังเป็นผู้อุปถัมภ์งานศิลปะเช่นเดียวกับพระอัยกา ทรงสร้างโบสถ์ซันโตอาดริอาโนเดตูญโญน

พระโอรสของพระเจ้าอัลฟอนโซ ได้แก่ การ์เซีย, ออร์ดอญโญ, กอนซาโล, ฟรูเอลา และรามีโร ได้สบคบคิดกันต่อต้านกระองค์ โดยมีพระสสุระของการ์เซียเป็นผู้ยุยง พระเจ้าอัลฟอนโซจับการ์เซียจำคุกแต่เหล่าพระโอรสของพระองค์สามารถถอดพระองค์ออกจากตำแหน่งได้ ทรงหนีไปบูร์โกส แต่ก็กลับมาโน้มน้าวการ์เซียให้ไปสู้รบกับชาวมัวร์ร่วมกับพระองค์ ในปี ค.ศ. 910 พระเจ้าอัลฟอนโซสิ้นพระชนม์ในซาโมราด้วยสาเหตุทางธรรมชาติ ทรงครองราชย์เป็นเวลา 44 ปี หลังการสิ้นพระชนม์ราชอาณาจักรของพระองค์ถูกแบ่งออก การ์เซีย พระโอรสคนโตกลายเป็นกษัตริย์แห่งเลออน ออร์ดอญโญ พระโอรสคนที่สองขึ้นครองราชย์ในกาลิเซีย ขณะที่ฟรูเอลาได้รับอัสตูเรียสที่มีโอบิเอโดเป็นเมืองหลวง ดินแดนทั้งหมดกลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้งหลังพระเจ้าการ์เซียสิ้นพระชนม์โดยไร้ซึ่งพระโอรสธิดา เลออนจึงตกเป็นของพระเจ้าออร์ดอญโญ เมื่อพระเจ้าออร์ดอญโญสิ้นพระชนม์ ดินแดนทั้งหมดกลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้การปกครองของพระเจ้าฟรูเอลา ทว่าการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าฟรูเอลาในปีต่อมาได้เริ่มต้นการต่อสู้ห่ำหั่นกันเองอันนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพในการสืบทอดบัลลังก์ที่ดำเนินอยู่เป็นเวลาหนึ่งปี

อ้างอิง แก้

  1. Chisholm, Hugh, ed. (1911). "Alphonso s.v. Alphonso III.". Encyclopædia Britannica. 1 (11th ed.). Cambridge University Press. p. 734.