พระเจ้ามโหตรประเทศ

พระเจ้ามโหตรประเทศ (ไทยถิ่นเหนือ: ) (พระนามเดิม เจ้ามหาวงส์) เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ทรงครองราชย์ในระหว่างปี พ.ศ. 2390 ถึงปี พ.ศ. 2397[2] และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเป็น "พระเจ้าประเทศราช" องค์ที่ 4 (16 พฤษภาคม พ.ศ. 2397 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระเจ้ามโหตรประเทศ
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
ครองราชย์พระยาเชียงใหม่
พ.ศ. 2389 - 2396[1]
พระเจ้าเชียงใหม่
พ.ศ. 2396 - 2397[1]
รัชสมัย8 ปี
ก่อนหน้าพระยาพุทธวงศ์
ถัดไปพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
อุปราชพระยาอุปราชพิมพิสาร
พระยาอุปราชหน่อคำ
พระยาอุปราชนครเชียงใหม่
ดำรงพระยศพ.ศ. 2369 - 2389
ก่อนหน้าพระยาพุทธวงศ์
ถัดไปพระยาอุปราชพิมพิสาร
เจ้าหลวงพระยาพุทธวงศ์
พิราลัย14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397
ราชเทวีแม่เจ้าสุวรรณคำแผ่น
พระนามเต็ม
พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดี นพิสีมหานคราธิฐาน ภูบาลบพิตร สถิตในอุตมชิยางคราชวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่
พระบุตร19 องค์
ราชสกุลณ เชียงใหม่
ราชวงศ์ทิพย์จักร
พระบิดาพระยาธรรมลังกา
พระมารดาแม่เจ้าจันฟอง

พระประวัติ แก้

เจ้าหลวงเชียงใหม่แห่ง
ราชวงศ์ทิพย์จักร
 พระเจ้ากาวิละ
 พระยาธรรมลังกา
 พระยาคำฟั่น
 พระยาพุทธวงศ์
 พระเจ้ามโหตรประเทศ
 พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์
 พระเจ้าอินทวิชยานนท์
 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
 เจ้าแก้วนวรัฐ

พระเจ้ามโหตรประเทศมีพระนามเดิมว่า เจ้ามหาวงส์[3] หรือเจ้าขนานมหาวงส์[4] เป็นราชโอรสในพระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2

ปี พ.ศ. 2369 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระยาอุปราชพุทธวงศ์เป็นพระยาเชียงใหม่ และตั้งเจ้าขนานมหาวงส์เป็นพระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่แทน[5] หลังจากพระยาเชียงใหม่พุทธวงศ์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2389 พระยาอุปราชมหาวงศ์และเจ้าพิมพิสารแห่งนครเชียงใหม่ได้นำช้างพลายสีประหลาดลงไปถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาอุปราชมหาวงศ์เป็นพระยาเชียงใหม่ และแต่งตั้งเจ้าพิมพิสารเป็นพระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่[6][7]

ในปีพ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พระยาสีหราชฤทธิไกรเชิญพระสุพรรณบัฏกับเครื่องสูงมาพระราชทานถวายพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์และโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดี นพิสีมหานคราธิฐาน ภูบาลบพิตร สถิตในอุตมชิยางคราชวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่[8][9] ในขณะนั้นยังประชวรอยู่ ครั้นได้เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ได้ 5 เดือน 28 วัน[8] ถึงวันเดือนยี่เหนือ แรม 9 ค่ำ ปีจุลศักราช 1216 (ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397) พระโรคกำเริบมากขึ้น พระเจ้ามโหตรประเทศฯ จึงได้สละราชสมบัติ

พระราชตระกูล แก้

เจ้าพี่น้อง แก้

พระเจ้ามโหตรประเทศ มีเจ้าพี่น้องรวม 16 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

  • พระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 5
  • พระยารัตนอาณาเขต (น้อยคำแสน ณ เชียงใหม่) เจ้าเมืองเชียงราย
  • พระยาาอุปราชน้อยหน่อคำ ณ เชียงใหม่ พระยาอุปราชนครเชียงใหม่- เจ้าปู่ในเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) ซึ่งเจ้าไชยสงครามฯ เป็นเจ้าปู่ในเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ , อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นเจ้าตาทวดของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร, อดีตนายกรัฐมนตรี
  • เจ้าน้อยพรหมา ณ เชียงใหม่
  • เจ้าหนานอินตา ณ เชียงใหม่
  • เจ้าสุธรรมมา ณ เชียงใหม่
  • เจ้าปทุมมา ณ เชียงใหม่
  • เจ้าคำทิพย์ ณ เชียงใหม่ - ชายา "เจ้าน้อยจักรคำ ณ เชียงใหม่" ราชโอรสใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3"
  • เจ้าบัวคำ ณ เชียงใหม่
  • เจ้าองค์ทิพย์ ณ เชียงใหม่
  • เจ้ากาบแก้ว ณ เชียงใหม่
  • เจ้าบุญปั๋น ณ เชียงใหม่
  • เจ้าเกี๋ยงคำ (ณ เชียงใหม่) ตุงคนาคร - ชายา "เจ้าราชภาติกวงษ์ น้อยดวงทิพย์ ตุงคนาคร, เจ้าราชภาติกวงษ์นครลำพูน" เจ้านายราชวงศ์มังราย จากเมืองเชียงตุง ซึ่งอพยพเข้ามาอยู่นครเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2348 ได้รับพระราชทานนามสกุลจาก ร.6
  • เจ้าจันทร์เป็ง ณ เชียงใหม่
  • แม่เจ้าแก้วยวงคำ, เทวีใน เจ้าหลวง หนานสุยะ, พระยารัตนอาณาเขต เจ้าเมืองเชียงราย

พระโอรส-ธิดา แก้

พระเจ้ามโหตรประเทศ อภิเษกสมรสกับเจ้าพิมพา อยู่ในราชตระกูลเจ้าเจ็ดตน มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

ฐานันดรศักดิ์ แก้

  • ประสูติ - พ.ศ. 2347เจ้ามหาวงศ์
  • พ.ศ. 2369 - 2389 พระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2389 - 2396 พระยาเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2396 - 2397 พระเจ้าเชียงใหม่

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, หน้า 16
  2. รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  3. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 160
  4. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 149
  5. พงศาวดารโยนก, หน้า 450
  6. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 15
  7. พงศาวดารโยนก, หน้า 455
  8. 8.0 8.1 พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 17
  9. ปราณี ศิริธร. เพชรล้านนา (เชียงใหม่: สุริวงศ์สตอลล์, 2509), 1: หน้า 175-186
บรรณานุกรม
  • ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2538. 320 หน้า. ISBN 974-8150-62-3
  • ประชากิจกรจักร, พระยาพงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557. 496 หน้า. ISBN 978-616-7146-62-1
  • มหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ), พระยา. พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2505. 35 หน้า. [พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระพิจิตรโอสถ (รอด สุตันตานนท์)]
  • วรชาติ มีชูบท. เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2556. 428 หน้า. ISBN 978-616-220-054-0
  • อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด เค วัยอาจ (ปริวรรต). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : ตรัสวิน, 2543. 220 หน้า. ISBN 9747047683


ก่อนหน้า พระเจ้ามโหตรประเทศ ถัดไป
พระยาพุทธวงศ์   เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
(พ.ศ. 2389 — 2397)
  พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์