พระเจ้าธรรมเจดีย์

พระเจ้าธรรมเจดีย์ (พม่า: ဓမ္မစေတီ, ออกเสียง: [dəma̰zèdì]; c. 1409–1492) กษัตริย์องค์ที่ 16 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ครองสิริราชสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 1471 ถึง 1492 เป็นหนึ่งในผู้ปกครองที่มีความรู้ความสามารถมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของพม่าและมอญ โดยกล่าวกันว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดากษัตริย์หงสาวดีทั้งหมด[2] เดิมพระองค์เป็นพระภิกษุมีสมณศักดิ์ว่า พระมหาปิฎกธร และเป็นผู้ต้านทานอำนาจของอาณาจักรอังวะ ในวัยเยาว์พระองค์เป็นที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้และเป็นพระโอรสบุญธรรมของพระนางเชงสอบู เมื่อพระชนมายุได้ 48 พรรษา พระองค์พร้อมลูกศิษย์ได้แอบไปช่วยพระนางเชงสอบูจากกรุงอังวะกลับมายัง กรุงหงสาวดี แต่เพราะความละอายในการกระทำดังกล่าวซึ่งอาจเข้าข่ายล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยลาสิกขา พระนางเชงสอบูจึงยกพระธิดาพระองค์หนึ่งให้อภิเษกสมรสพร้อมกับตั้งให้พระองค์เป็นรัชทายาท เนื่องจากราชวงศ์ในขณะนั้นไร้เชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้ชาย เมื่อพระนางเชงสอบูสละราชบัลลังก์ องค์รัชทายาทได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น พระเจ้าธรรมเจดีย์

พระเจ้าธรรมเจดีย์
Dhammazedi
ဓမ္မစေတီ
กษัตริย์ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี
ครองราชย์1471–1492
ก่อนหน้าพระนางเชงสอบู
ถัดไปพญารามที่ 2
ประสูติพฤศจิกายน/ธันวาคม 1409[1]
สวรรคต1492
พะโค
คู่อภิเษกมิปาคาธอ
พระราชบุตรพญารามที่ 2
ศาสนาพุทธศานานิกายเถรวาท

โดยในช่วงรัชสมัยของพระองค์นับได้ว่าราชอาณาจักรหงสาวดีเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน ถือเป็นยุคทองของอาณาจักรมอญ ภายใต้การปกครองที่ชาญฉลาดของพระองค์ ราชอาณาจักรของพระองค์เงียบสงบและได้รับประโยชน์อย่างมากจากการค้าขายกับต่างชาติ ซึ่งแตกต่างจากอาณาจักรคู่ขัดแย้งอย่างอาณาจักรอังวะ รัชสมัยของพระองค์ถือเป็นช่วงเวลาแห่งสันติสุข ทรงเป็นผู้ปกครองที่อ่อนโยนและมีชื่อเสียงในด้านภูมิปัญญาของพระองค์[2] ตามพงศาวดารเมื่อครั้งพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่[3] อาณาจักรของพระองค์กลายเป็นศูนย์กลางที่มีชื่อเสียงของพุทธศานานิกายเถรวาทและมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศรีลังกา พระองค์ได้ส่งสมณทูตไปยังพุทธคยา พร้อมกับปฏิรูปศาสนาครั้งใหญ่ภายหลังแพร่กระจายไปทั่วประเทศ[4] พระองค์ยังรักษาความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับยูนนาน

นักประวัติศาสตร์ ดี.จี.อี. ฮอลล์ กล่าวไว้ว่า "พระองค์เป็นผู้ปกครองชาวพุทธที่ยอดเยี่ยม มีการชำระและปฏิรูปศาสนา ภายใต้การปกครองของพระองค์อาณาจักรมอญมีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองและโดดเด่น แตกต่างอย่างมากกับความวุ่นวายและความป่าเถื่อนของอาณาจักรอังวะ"[2]

พระเจ้าธรรมเจดีย์เสด็จสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1492 ขณะพระชนมายุถึง 83 พรรษา พระองค์ได้รับการยกย่องเป็นนักบุญและมีการสร้างพระเจดีย์ขึ้นเหนือพระบรมอัฐิของพระองค์ พระโอรสองค์โตของพระองค์สืบสิริราชสมบัติต่อเป็น พญารามที่ 2

สรุป แก้

พงศาวดารฉบับต่างๆที่บันทึกเหตุการณ์ในช่วงชีวิตของพระองค์

พงศาวดาร พระราชสมภพ–สวรรคต พรรษา รัชกาล ระยะเวลารัชกาล
Slapat Rajawan (พงศาวดารมอญ)[note 1] ประมาณ พฤศจิกายน 1409[note 2] 81 1470–1491[5] 21[note 3]
มหาราชวงศ์ และ มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว (พงศาวดารพม่า) ไม่ได้บันทึก ไม่ได้บันทึก 1471–1492[6][7] 21

หมายเหตุ แก้

  1. Slapat provides wildly divergent and inconsistent dates for the early Hanthawaddy history, including the reign of this king. The birth-death and regnal dates use the regnal years given in the Slapat chronicle with 888 ME (1526/27), the death year of King Binnya Ran II, which is in agreement with standard Burmese chronicles, as the anchor reference point.
  2. (Slapat 1922: 96): He was born in 771 ME in the season of Byeissa (ဗြိစ္ဆာ), which corresponds to Scorpio. It means he was probably born around November/December of 1409.
  3. The reign period calculated from the reign start date of Binnya Ran II (1491) and the reign end date of Shin Sawbu (1470) as given in (Slapat 1922: 69 and 104) respectively. (Slapat 1922: 96) says he reigned for 27 years, and died at age 74 (75th year) in 1483/84, which contradicts its own reporting elsewhere.

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. Slapat 1922: 96
  2. 2.0 2.1 2.2 Hall 1960: 36–37
  3. Harvey 1925: 117–120
  4. Myint-U 2006: 64–65
  5. Slapat 1922: 69, 104
  6. Maha Vol. 2 2006: 140
  7. Hmannan Vol. 2 2003: 185
บรรณานุกรม
  • Athwa, Sayadaw (1785). Mon Yazawin (Slapat Rajawan) (ภาษาพม่า) (1922 ed.). Yangon: Burma Publishing Workers Association Press.
  • Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Kala, U (1724). Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.