พระสมันตภัทรโพธิสัตว์

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ (สันสกฤต: समन्तभद्र, Samantabhadra; ทิเบต: ཀུན་ཏུ་བཟང་པོ།, Kun-tu bzang-po; มองโกเลีย: Qamugha Sain, จีน: 普賢菩薩, Pŭxián púsà; ญี่ปุ่น: ふげん, Fugen; เวียดนาม: Phổ Hiền Bồ Tát) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของพระองค์ท่านแปลว่า ดี รุ่งเรือง หรือเป็นมงคล ท่านมักปรากฏในพุทธมณฑลในฐานะตัวแทนของพระไวโรจนพุทธะ จึงเป็นตัวแทนของความกรุณาและสมาธิที่ดิ่งลึก ในมหาไวโรจะสูตรมีพระหฤทัยธารณีประจำพระองค์ โอม สะมายะ สัต ตวัม[1]

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์
สันสกฤตसमन्तभद्र (สมนฺตภทฺร)
จีน普賢菩薩 (Pǔxián Púsà)
ญี่ปุ่น普賢菩薩 (ฟุเง็นโบะซัตสึ)
เกาหลี보현보살 (โบฮย็อนโบซัล)
มองโกเลียГүндэсамбуу, Самандaбадраа, Хамгаар Сайн
ทิเบตཀུན་ཏུ་བཟང་པོ། Kun-tu bzang-po
เวียดนามPhổ Hiền Bồ Tát
ข้อมูล
นับถือในมหายาน, วัชรยาน
พระลักษณะการทำความดี
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

รูปลักษณ์ แก้

ในงานทางพุทธศิลป์ ท่านมักจะปรากฏตัวคู่กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ในญี่ปุ่น ท่านนั่งบนช้างสวมเครื่องทรงแบบเจ้าชาย มือซ้ายถือจินดามณี มือขวาอยู่ในท่าคิด ในทิเบต ภาพวาดของท่านมีกายเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือสีเหลือง นั่งขัดสมาธิเพชร มือประสานกันบนตัก ถ้าอยู่ในท่ายืน มือขวาถือดอกบัวทั้งก้านพร้อมจินดามณี มือซ้ายถือวัชระ ในจีน ท่านมีชื่อจีนว่า โผวเฮี้ยง เป็นรูปชายหนุ่มแต่งกายอย่างชาวจีนโบราณ นั่งบนช้างเผือก สำหรับในประเทศไทยมีการสร้างรูปพระสมันตภัทรมหาโพธิสัตว์ วัสดุทองเหลือง ความสูงกว่า 6 เมตร ถือเป็นองค์แรกและองค์ใหญ่ที่สุดในไทย จำลองแบบจากอารามว่านเหนียน(萬年寺)ซึ่งถือมีเอกลักษณ์เฉพาะประทับบนช้างเผือก 6 งา บนยอดเขาเอ๋อเหม่ยซาน โพธิสถานแห่งพระสมันตภัทร มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน ประดิษฐานอยู่ที่ อารามจีนปากช่องเขาใหญ่ เป่าซานซื่อ มูลนิธิพุทธจักษุวิชชาลัย ต.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

ปณิธานของพระสมันตภัทร แก้

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ได้ตั้งปณิธานไว้ 10 ประการ ปรากฏอยู่ในคัณฑวยูหสูตร ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านได้รับการยกย่องในฐานะพระโพธิสัตว์ที่มีจริยาวัตรงดงามปณิธาน 10 ประการ ได้แก่

  1. เคารพพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
  2. ยกย่องพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
  3. สักการบูชาพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
  4. สารภาพความผิดที่ทำมาในอดีตทั้งหมด
  5. ตั้งมุทิตาจิต อนุโมทนาในความดีและความเจริญของผู้อื่น
  6. วิงวอนให้พระพุทธเจ้าสั่งสอนธรรม
  7. วิงวอนให้พระพุทธเจ้าสถิตอยู่ในโลก
  8. ปฏิบัติตามหลักธรรมสม่ำเสมอ
  9. ช่วยเหลือสรรพสัตว์เป็นนิจ
  10. อุทิศความดีที่ตนทำไว้เพื่อความรู้แจ้งและเพื่อบุคคลอื่น

โดยพระปรัชญามหาเถระ ตรีปิฎกธราจารย์ชาวเมืองกปิศา อินเดียเหนือ ได้แปล 大方廣佛華嚴經普賢行願品 สมันตภัทรจริยาปณิธานวรรค จากสันสกฤตพากย์สู่จีนพากย์ ในวันที่ 5 เดือน 6 (ตามจันทรคติ) เมื่อรัชสมัย貞元 ปีที่ 12 (พ.ศ.1339) ถึงวันที่ 24 เดือน 2 ปีที่ 14 ของรัชสมัยเดียวกัน ที่วัดฉ่งฝู (崇福寺) นครฉางอาน และพระวิศวภัทร (釋廣度) แปลจากจีนพากย์สู่ไทยพากย์ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 ภายในพระสูตรนี้ระบุถึงปณิธาน 10 ของพระสมันตภัทร

อ้างอิง แก้

  • สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะห้าพระองค์. กทม.ศูนย์ไทยทิเบต.2547
  1. 《大毘盧遮那成佛神變加持經》CBETA 電子版No. 848 入真言門 ...buddhism.lib.ntu.edu.tw › sutra › chi_pdf › sutra10