พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร

ศาสตราจารย์พิเศษ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ราชบัณฑิต (12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ประสูติ12 สิงหาคม พ.ศ. 2458
สิ้นพระชนม์24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 (65 ปี)
พระราชทานเพลิง8 สิงหาคม พ.ศ. 2524
พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส
หม่อมหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา
ราชสกุลฉัตรชัย (โดยประสูติ)
บุรฉัตร (โดยพระราชทาน)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
พระมารดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล
ศาสนาพุทธ
พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล

พระประวัติ แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร มีพระนามลำลองว่า พระองค์ชายเปรม[1] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล ประสูติเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 มีพระโสทรภคินี 3 พระองค์ ได้แก่

มีพระอนุชาและพระขนิษฐาต่างมารดาอีก 8 องค์ คือ ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี, หม่อมเจ้ากาญจนฉัตร ศุขสวัสดิ์, หม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล, หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย, ท่านหญิงเฟื่องฉัตร ดิศกุล, ท่านหญิงหิรัญฉัตร เอ็ดเวิร์ดส, หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย และหม่อมเจ้าพิบูลฉัตร ฉัตรชัย[2]

พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2464 เลขประจำพระองค์ 1824 หลังจากนั้นได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษเมื่อพระชันษาได้ 8 ปี โดยเริ่มศึกษาในโรงเรียนที่เมืองอีสบอร์น (Eastbourne) ก่อน แล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนแฮร์โรว์จนจบชั้นมัธยมศึกษา จากนั้นทรงเข้าศึกษาที่นิวคอลเลจ (New College) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ทรงสนพระทัยในวิชาวรรณคดีและโบราณคดีอย่างมาก โปรดการอ่านและการประพันธ์เป็นชีวิตจิตใจ ขณะที่ทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษและมีพระชนมายุเพียง 19 ปี ทรงแปลวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ และทรงพระนิพนธ์เป็นบทละครใช้ชื่อเรื่องว่า The Magic Lotus และจัดการแสดงโดยชาวอังกฤษที่ฮัดเดอร์สฟีลด์ (Huddersfield) เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาแล้วได้เสด็จกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497[3] และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์พิเศษ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2498[4]

หลังจากนั้นทรงไปรับราชการในตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย (พ.ศ. 2510-2515) ประจำกรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา (พ.ศ. 2510-2515) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ประจำราชสำนักเนปาล (พ.ศ. 2511-2512) ราชสำนักอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2512-2515) ราชสำนักเดนมาร์ก ณ กรุงโคเปนเฮเกน (พ.ศ. 2515-2518)

 
พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตรและหม่อมงามจิตต์

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร มีความสามารถในด้านอักษรศาสตร์ เป็นกวีและนักแปล ใช้นามปากกา "เปรมไชยา" ทรงรับราชการในตำแหน่งกรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ผู้อำนวยการแผนกภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายกสมาคมฝรั่งเศส กรรมการแห่งคณะกรรมการว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ตามลำดับ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 สิริพระชันษา 66 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศกุดั่นน้อยทรงพระศพ ประดิษฐาน ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[5] และในวันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการเก็บพระอัฐิ เลี้ยงพระสามหาบ และทรงทอดผ้าไตร

ชีวิตส่วนพระองค์ แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร เสกสมรสกับหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม สารสาส)[6] บุตรีพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2482 มีพระโอรสบุญธรรม 1 คน คือ หม่อมหลวงธีรฉัตร บุรฉัตร ซึ่งเป็นบุตรของท่านหญิงเฟื่องฉัตร ดิศกุล (พระขนิษฐาต่างมารดาของพระองค์)

  • หม่อมหลวงธีรฉัตร บุรฉัตร สมรสกับยุวดี บุรฉัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม โกมารกุล ณ นคร) และปราณี บุรฉัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม จันทร์เวียง) มีบุตรธิดา 4 คน ได้แก่
    • ชนิกานดา โกมารกุล ณ นคร (ใช้นามสกุลมารดา)
    • ยุพาพิน บุรฉัตร ณ อยุธยา (เปลี่ยนนามสกุล จาก โกมารกุล ณ นคร)
    • ธานิฉัตร บุรฉัตร ณ อยุธยา
    • วรฉัตร บุรฉัตร ณ อยุธยา

ตำแหน่งทางวิชาการ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ไทย แก้

ต่างประเทศ แก้

ราชตระกูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ณ เมรุวัดธาตุทอง วันพุธ ที่ 23 มิถุนายน 2519. [ม.ป.ท.]: มงคลการพิมพ์; 2519.
  2. เนื่องในวโรกาสพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2553. [ม.ป.ท.]: ม.ป.พ.; 2553.
  3. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ราชกิจจานุเบกษา 30 พฤศจิกายน 2497http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/079/2664.PDF เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ราชกิจจานุเบกษา 15 กุมภาพันธ์ 2498 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2498/D/014/327.PDF เก็บถาวร 2018-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๑๐/๒๕๒๔ บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุและพระราชทานเพลิงศพพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ป.จ. ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๕๒๔, เล่ม 98, ตอน 127ง, 6 สิงหาคม พ.ศ. 2524, หน้า 4
  6. หม่อมงามจิตต์ เมื่อสมรสใช้นามสกุล ฉัตรไชย ณ อยุธยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรเกล้าฯ พระราชทานนาม ราชสกุล บุรฉัตร สำหรับหม่อมในพระองค์ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-07. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.
  9. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๕๕๙๗, ๔ ธันวาคม ๒๔๙๔
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
  • พีระเดช อนุพงษ์ จักรพันธุ์, ม.ร.ว.. ๑๕๐ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์. กรุงเทพฯ : กระทรวงการคลัง, 2548. 278 หน้า.