พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม

มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม (พระนามเดิม หม่อมเจ้าเณร; 29 สิงหาคม พ.ศ. 2419 — 6 มกราคม พ.ศ. 2476) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ประสูติแต่หม่อมเพิ่ม เกษมศรี ณ อยุธยา

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นตรี
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ดำรงตำแหน่ง17 มกราคม พ.ศ. 2465 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2472
ดำรงตำแหน่ง9 เมษายน พ.ศ. 2475 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ประสูติ29 สิงหาคม พ.ศ. 2419
สิ้นพระชนม์6 มกราคม พ.ศ. 2476 (56 ปี)
หม่อม
  • หม่อมขาว เกษมศรี ณ อยุธยา
  • หม่อมนวม เกษมศรี ณ อยุธยา
  • หม่อมพิง เกษมศรี ณ อยุธยา
บุตร
  • หม่อมราชวงศ์ประพฤทธิ์ เกษมศรี
  • หม่อมราชวงศ์ประภาศิริ เกษมศรี
  • หม่อมเกษมศุภวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ขจิต เกษมศรี)
  • หม่อมราชวงศ์ศศิโฉม เกษมศรี
  • หม่อมราชวงศ์จิตติน เกษมศรี
  • หม่อมราชวงศ์แสงโสม เกษมศรี
ราชสกุลเกษมศรี
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ
พระมารดาหม่อมเพิ่ม เกษมศรี ณ อยุธยา

พระประวัติ แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าเณร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ประสูติแต่หม่อมเพิ่ม เกษมศรี ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2419 ทรงศึกษาในพระตำหนักสวนกุหลาบ กระทั่งพระชันษาได้ 17 ปี ทรงเข้ารับราชการในกรมบัญชาการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงทำหน้าที่ตั้งแต่เสมียนจนได้ดำรงตำแหน่งอธิบดี เมื่อปี พ.ศ 2464 ได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม

พระประวัติรับราชการ แก้

ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งปลัดทูลฉลอง และรองเสนาบดีของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ โดยทรงดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีเป็นสมัยแรกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2465 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2472 และสมัยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2475 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากนี้ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการสภาป้องกันราชอาณาจักร สภาการคลัง สภาเผยแพร่พาณิชย์ สภากรรมการรักษาระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

เมื่อทรงออกจากราชการ ได้ประมาณ 6 - 7 เดือน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม ประชวรพระโรคปับผาสะ และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2475 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2476)[1] ที่วังถนนบริพัตร สิริพระชันษา 57 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงพระศพ และพระราชทานพระโกศไม้สิบสองทรงพระศพ

พระโอรส-ธิดา แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม เสกสมรสกับหม่อมขาว (สกุลเดิม สุวนันท์) ต่อมาได้เสกสมรสกับหม่อมนวม (สกุลเดิม เสขรฤทธิ์) และหม่อมพิง (สกุลเดิม สุรนันท์) มีพระโอรส-ธิดารวม 6 คน ดังนี้

  1. หม่อมราชวงศ์ประพฤทธิ์ เกษมศรี
  2. หม่อมราชวงศ์ประภาศิริ เกษมศรี
  3. หม่อมเกษมศรีศุภวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ขจิต เกษมศรี; 30 มีนาคม พ.ศ. 2446 — 25 กันยายน พ.ศ. 2513)
  4. หม่อมราชวงศ์ศศิโฉม เกษมศรี
  5. หม่อมราชวงศ์จิตติน เกษมศรี (1 มีนาคม พ.ศ. 2452 — 2 กันยายน พ.ศ. 2511)
  6. ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์แสงโสม เกษมศรี (21 มกราคม พ.ศ. 2454 — 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545)

พระยศ แก้

พระยศพลเรือน แก้

  • มหาอำมาตย์ตรี
  • 4 มีนาคม พ.ศ. 2458 มหาอำมาตย์โท[2]
  • มหาอำมาตย์เอก[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

  •   อิตาลี :
    • พ.ศ. 2458 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 1[9]

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 49, ตอน 0 ง, 15 มกราคม พ.ศ. 2475, หน้า 3501
  2. พระราชทานยศและเลื่อนยศ
  3. พระราชทานยศ
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๗๒, ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๑๑, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๓๘, ๑๘ มกราคม ๒๔๕๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๗๙, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๖, ๕ มีนาคม ๒๔๕๘
  • Jeffary Finestone. สมุดพระรูปพระราชโอรส พระราชธิดาและพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพ : บริษัทกู๊ดวิว เพรส จำกัด, พ.ศ. 2543. 394 หน้า. หน้า หน้าที่28.