พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร (27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552) เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ประสูติ27 มิถุนายน พ.ศ. 2464
สิ้นพระชนม์5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (88 ปี)
พระราชทานเพลิง7 กันยายน พ.ศ. 2553
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
สวามีหม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย
พระบุตรหม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย
หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์
ราชสกุลฉัตรชัย (โดยประสูติ)
วุฒิชัย (โดยเสกสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
พระมารดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ แก้

พระประวัติช่วงต้น แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร มีพระนามลำลองว่า พระองค์หญิงตุ๊[1] เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิตนฤมล ประสูติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินี 3 พระองค์ ได้แก่

มีพระภคินีและพระอนุชาต่างมารดาอีก 8 องค์ คือ ท่านผู้หญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี, หม่อมเจ้ากาญจนฉัตร สุขสวัสดิ์, หม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล, หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย, ท่านหญิงเฟื่องฉัตร ดิศกุล, ท่านหญิงหิรัญฉัตร เอ็ดเวิร์ดส, หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย และหม่อมเจ้าพิบูลฉัตร ฉัตรชัย

เสกสมรส แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตรเสกสมรสกับ นาวาโท หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร กับหม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ วุฒิชัย) มีพระโอรสธิดาสองคน ได้แก่

  • หม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย สมรสกับเอมอร วุฒิชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุษบงก์) มีบุตรธิดาสองคน ได้แก่
    • หม่อมหลวงอภิชิต วุฒิชัย
    • หม่อมหลวงอาทิตรา วุฒิชัย
  • หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ สมรสกับหม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ มีธิดาสองคน ได้แก่
    • หม่อมหลวงศศิภา สวัสดิวัตน์
    • หม่อมหลวงจันทราภา สวัสดิวัตน์

สิ้นพระชนม์ แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร เสด็จเข้ารักษาพระอาการประชวรที่โรงพยาบาลพระรามเก้า ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ก่อนสิ้นพระชนม์ด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสพระโลหิตขั้นรุนแรงและพระวักกะ(ไต)วายเฉียบพลัน เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 5 ธันวาคม ปีเดียวกัน สิริพระชันษา 88 ปี[2] นับเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ที่ดำรงพระชนม์ชีพอยู่เป็นพระองค์สุดท้าย

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร​ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช​ บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า​ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปสรงพระศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศราชวงศ์ ทรงรับพระศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม 7 คืน

โดยวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ (ภายหลังคือท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี) เสด็จไปทรงสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในวันต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จไปทรงสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

และวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จไปทรงบำเพ็ญพระกุศล ประทานในการออกพระเมรุพระศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า​ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในการพระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส การนี้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โดยเสด็จด้วย

การทรงงาน แก้

  • พ.ศ. 2490 - 2491 ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนมาแตร์เดอี
  • พ.ศ. 2496 - 2500 ผู้ตรวจพิสูจน์อักษร หนังสือพิมพ์แสตนดาร์ด
  • พ.ศ. 2501 – 2502 โฆษกแผนกภาษาไทย สถานีวิทยุ บีบีซี กรุงลอนดอน (ครั้งที่ 1)
  • พ.ศ. 2503 – 2504 เจ้าหน้าที่อ่านข่าวภาษาอังกฤษ ของกรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2504 - 2510 โฆษกแผนกภาษาไทย สถานีวิทยุ บีบีซี กรุงลอนดอน (ครั้งที่ 2)
  • พ.ศ. 2511 - 2512 สำนักงานแถลงข่าวอังกฤษ สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย
  • พ.ศ. 2513 – 2525 รองกงสุลแผนกวีซ่า สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย
  • พ.ศ. 2526 - 2527 อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2528 - 2530 อาจารย์สอนพิเศษภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนที่เตรียมศึกษาต่อต่างประเทศ

พระกรณียกิจ แก้

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร เป็นองค์ประธานขององค์การ และกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิต่าง ๆ ซึ่งล้วนดำเนินงานเพื่อประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม อันเป็นการพัฒนาสังคมดังนี้

  1. องค์ประธานมูลนิธิสวนหลวง ร.9 ในพระบรมราชูปถัมภ์
  2. องค์ประธานกรรมการอำนวยการมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
  3. องค์นายกมูลนิธิช่วยนักเรียนขาดแคลน ในพระบรมราชินูปถัมภ์
  4. องค์ประธานกรรมการจัดทุน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
  5. องค์ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
  6. องค์ประธานกิตติมศักดิ์มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา
  7. องค์ประธานที่ปรึกษามูลนิธิศูนย์กลางประสานงานพัฒนาชนบท
  8. องค์ประธานมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80
  9. องค์ประธานที่ปรึกษามูลนิธิเพชรภาษา
  10. อดีตองค์ประธานซีไรท์อวอร์ด
  11. องค์อุปถัมภ์ชมรมหัวใจไร้สาร และ ปปส.

พระเกียรติยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

พระอิสริยยศ แก้

  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร (27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระเกียรติคุณที่ได้รับ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระผู้ทรงเป็น "เพชรรัตน" แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
  2. สิ้น'เจ้าวิมลฉัตร'พระอาการไตวาย
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2539" (PDF). 113 (22 ข). 4 ธันวาคม 2539: 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2556. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2535" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (154ง ฉบับพิเศษ): 16. 4 ธันวาคม 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2530" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (86 ง ฉบับพิเศษ): 5. 5 พฤษภาคม 2530. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-15. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2552. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 58 (ตอน 0 ง): หน้า 1956. 23 มิถุนายน พ.ศ. 2484. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 (เดวิด ร็อกกี้เฟลเดอร์, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร, ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธาดา ชาคร)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (1 ข): 31. 12 มกราคม 2539. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2552. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)