พระราเมศวร (พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)

พระราเมศวร (อังกฤษ: Ramesuan,พม่า: ဗြရာမသွန်; ? – สวรรคต พฤศจิกายน พ.ศ. 2107) เป็นเจ้าชายแห่ง สยาม และผู้บัญชาการทหารระหว่าง สมัยอยุธยา ใน คริสต์ศตวรรษที่ 16 พระองค์เป็นโอรสของ พระเฑียรราชา (ต่อมาคือ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) และ พระสุริโยทัย พระองค์เป็นสมาชิกของ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระองค์เป็นพระราชบุตรองค์ใหญ่ในบรรดา 5 พระองค์ พระอนุชาของพระองค์ พระมหินทร์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระมหินทราธิราช) และพระขนิษฐา 3 พระองค์ พระสวัสดิราช (ต่อมาคือ พระวิสุทธิกษัตรีย์ ซึ่งอภิเษกกับ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช) พระบรมดิลก และ พระเทพกษัตรีย์ หลังจาก สงครามช้างเผือก พระองค์และพระบิดาของพระองค์คือ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ถูกส่งไปยัง หงสาวดี หรือ พะโค ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2107 ต่อมาพระองค์กลายเป็นผู้บัญชาการของ กองทัพอาณาจักรพม่า และสวรรคตในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2107 เนื่องจากประชวรระหว่างการศึกกับ ล้านนา (แต่ในพงศาวดารบางฉบับบอกว่าพระราเมศวรสวรรคตระหว่างเดินทางไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีหลังเสร็จสงครามช้างเผือก)

พระราเมศวร
พระมหาอุปราชแห่งกรุงศรีอยุธยา
สวรรคตพฤศจิกายน พ.ศ. 2107
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระบิดาสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พระมารดาพระสุริโยทัย

สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ แก้

ในปี พ.ศ. 2091 พระเฑียรราชาพระบิดาของพระองค์ขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กษัตริย์แห่งอยุธยา พระองค์กลายเป็นรัชทายาทและ พระมหาอุปราช แห่งสยาม ระหว่าง สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ กับ ราชวงศ์ตองอู พระราเมศวรพร้อมกับ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชบิดา พระสุริโยทัย พระราชมารดา พระมหินทร์ พระอนุชา และ พระบรมดิลก พระขนิษฐา ประทับช้างทรงออกจากกำแพงพระนครไปเผชิญหน้ากองทัพพม่าที่นำโดย พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ แห่ง หงสาวดี ในการรบ ในการต่อสู้กับ ตะโดธรรมราชาที่ 1 อุปราชแห่งเมือง แปร พระสุริโยทัยและพระบรมดิลกสิ้นพระชนม์ทั้ง 2 พระองค์ ในพระราชพงศาวดารของไทยระบุว่า พระราเมศวร เสด็จกลับพระนครพร้อมกับพระศพของพระราชมารดา หลังจากล้มเหลวในการล้อม กรุงศรีอยุธยา พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และกองทัพของพระองค์ตัดสินใจถอยกลับไปทางเหนือใกล้ อำเภอแม่สอด[1]: 18–20 

พระราเมศวรและ สมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้รับพระบัญชาให้ไล่ตามกองทัพที่ล่าถอย และสังหารทหารพม่าไปจำนวนมาก ไม่นานฝ่ายพม่าก็ตัดสินใจยืนหยัดและซุ่มโจมตีกองทัพสยามใกล้ ๆ กำแพงเพชร โดยแบ่งกำลังอยู่สองฟากของถนนและตีกระหนาบกองทัพของพระราเมศวร ผลที่ตามมา พระราเมศวรและพระมหาธรรมราชาถูกจับโดยกองทัพพม่า สิ่งนี้กระตุ้นให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเจรจาสันติภาพกับพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ส่งผลให้ต้องสูญเสียช้างเผือก 2 ช้างและพักรบ พระราเมศวรและพระมหาธรรมราชาได้รับการปล่อยตัวและอนุญาตให้พม่าล่าถอยได้โดยไม่ถูกไล่ติดตาม หลังสงครามพระราเมศวรเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายที่สนับสนุนการรื้อกำแพงเมืองของ สุพรรณบุรี ลพบุรี และ นครนายก สิ่งนี้ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการรุกรานของพม่าในอนาคตด้วยฐานที่มั่นที่แข็งแกร่ง[1]: 20–26 

สงครามช้างเผือก แก้

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิหลังจากสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ได้เสด็จออกคล้องช้างป่าครั้งใหญ่ซึ่งนำไปสู่การค้นพบ ช้างเผือก เจ็ดช้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งศักดิ์ศรีและเกียรติยศ การค้นพบของพวกเขาได้รับการเฉลิมฉลอง อันเป็นเครื่องหมายแห่งความชอบธรรมและอำนาจของกษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนอง (ซึ่งสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ในปี พ.ศ. 2094) ที่ได้ยินข่าวนี้ตัดสินพระทัยใช้ช้างเป็นข้ออ้างในการรุกราน โดยขอช้างเผือกของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิสองช้าง ฝ่ายสนับสนุนสงครามที่นำโดยพระราเมศวรได้กราบทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิมิให้ทำตามคำขอและเผชิญหน้ากับการรุกราน[1]: 27–31 

ตามคำกราบทูลของพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้ปฏิเสธและไม่นานพระเจ้าบุเรงนองก็รุกรานสยาม เมือง สวรรคโลก สุโขทัย และ พิชัย ก็เสียแก่พม่า หลังจากเฝ้ารออยู่หลายเดือนเมืองพิษณุโลกก็ยอมแพ้ต่อกองทัพพม่า พระเทวัน (น้องเขย) ของพระราเมศวร พระมหาธรรมราชา ได้ตัดสินพระทัยสาบานพระองค์ว่าจะจงรักภักดีต่อพระเจ้าบุเรงนอง[1]: 33–37 

กรุงศรีอยุธยาสามารถต้านทานการล้อมโดยกองทัพพม่าได้เป็นเวลาหลายเดือน อย่างไรก็ตามด้วยความช่วยเหลือของทหารรับจ้างชาวโปรตุเกส พระเจ้าบุเรงนองสามารถถล่มเมืองได้อย่างต่อเนื่องด้วยปืนใหญ่และกระสุนเพลิง ชาวกรุงกลัวเสียงดังและเหน็ดเหนื่อยจากสงคราม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิตัดสินพระทัยยอมแพ้ต่อพม่า ถึงเวลานี้ พระราเมศวรและฝ่ายสนับสนุนสงครามสูญเสียความน่าเชื่อถือทั้งหมดภายในราชสำนัก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิไม่มีทางเลือกอื่น[1]: 34, 37–39 

ดังนั้นสยามกลายเป็นเมืองขึ้นของพม่าเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2107 กับการยอมแพ้ครั้งนี้ พระเจ้าบุเรงนองก็สามารถที่จะสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สิ้นพระชนม์ แก้

เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสันติภาพ พระราเมศวรและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและประชาชนหลายพันคนถูกพาตัวไปยัง หงสาวดี ในพม่าเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ปี พ.ศ. 2107 ถึงที่นั่นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2107[2] พระชายาของพระองค์และพระญาติตามเสด็จมาที่นี่ด้วย ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2107 พระราเมศวรที่พระพลานามัยไม่สู้ดีถึงกระนั้นก็ยอมเดินทัพไป ล้านนา พร้อมด้วยกองทัพหลักของพม่าเพื่อปราบกบฏของ พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ พระราเมศวรประชวรสวรรคตระหว่างทางไปล้านนาในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2107[3][note 1]

พงศาวลี แก้

ดูเพิ่ม แก้

บันทึก แก้

  1. He died sometime between 23 October 1564 (start of campaign) and 25 November 1564 (Mekuti's surrender) per (Maha Yazawin Vol. 2 2006: 278).

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Rajanubhab, D., 2001, Our Wars With the Burmese, Bangkok: White Lotus Co. Ltd., ISBN 9747534584
  2. Maha Yazawin Vol. 2 2006: 275
  3. Maha Yazawin Vol. 2 2006: 303